โภชนาการเพื่อสุขภาพ

"You are what you eat" อาหารที่คุณรับประทาน มีความสำคัญอย่างมาก ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ แต่น่าเสียดายที่ยังคงมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ โภชนาการเพื่อสุขภาพ อยู่มากมาย ดังนั้น การแยกแยะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

เหล้า มีทั้งประโยชน์และโทษ ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้พอดี

การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มมึนเมาอย่างแอลกอฮอล์ มีทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกาย หากดื่มมากเกินไป การดื่มเหล้าจะกลายเป็นอันตรายต้นเหตุของการเกิดโรคได้หลากหลายชนิด การดื่มแอลกอฮอล์จึงสามารถดื่มได้ หากดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป การดื่มเหล้าจึงมีข้อควรระวังที่ต้องพิจารณาให้ดี [embed-health-tool-heart-rate] ประโยชน์ของการดื่มเหล้า จากการศึกษา American College of Cardiology’s 70th Annual Scientific Session พบว่า การดื่มในปริมาณที่พอเหมาะอาจดีต่อหัวใจ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดระดับความเครียดลงได้ ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจลดลง โดยแนะนำปริมาณแอลกอฮอล์ต่อวัน ให้ผู้หญิงดื่ม 1 แก้ว ส่วนผู้ชายดื่ม 2 แก้ว ก็เพียงพอ และหากต้องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรเลือก ไวน์แดง มากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ ในไวน์แดงมีสารที่ชื่อว่า Resveratrol อาจช่วยลดไขมันในเลือดได้ โทษของแอลกอฮอล์ แม้ว่าการดื่มเหล้าจะมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่หากมีปริมาณแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เฉพาะในประเทศไทยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพลำดับที่ 1 เกี่ยวข้องกับโรคและการบาดเจ็บกว่า 60 ประเภท ดื่มเหล้าเป็นอันตรายต่อผู้อื่น การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้ขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ เกิดการทะเลาะวิวาทได้ง่าย อาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวได้เช่นกัน เพราะระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความคิดและการตัดสินใจผิดไปจากเดิม นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อระบบประสาท ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมาจึงควบคุมรถได้ยากเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ตนเองและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ ดื่มเหล้าเป็นอันตรายต่อตัวเอง […]

สำรวจ โภชนาการเพื่อสุขภาพ

โภชนาการเพื่อสุขภาพ

กินข้าววันละมื้อ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ และข้อควรระวังที่ควรรู้

กินข้าววันละมื้อ อาจเป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักได้ แต่อาจไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และยังเสี่ยงต่อเกิดภาวะทุพโภชนาการที่อาจกลายไปเป็นโรคขาดสารอาหารได้ [embed-health-tool-bmi] กินข้าววันละมื้อ ปลอดภัยหรือไม่ การกินข้าววันละมื้อเป็นวิธีการอดอาหารรูปแบบหนึ่งที่หลายคนมักใช้วิธีนี้เพื่อลดหรือควบคุมน้ำหนัก ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม เพราะอาจาทำให้ร่างกายได้รับโภชนาการที่ไม่ดีและอาจไม่ปลอดภัยต่ออสุขภาพในระยะยาว นอกจากนี้ ยังอาจทำให้น้ำหนักไม่ลดลง และอาจเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เช่น น้ำหนักลดลงมากอย่างรวดเร็ว และน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ มีนิสัยการกินอาหารที่ไม่ปกติ รู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้า และอ่อนแรงตลอดเวลา ผิวแห้ง ไม่ยืดหยุ่น ผมเปราะบางและหลุดร่วง ป่วยง่าย และใช้เวลานานในการพักฟื้น อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตต่ำ กินข้าววันละมื้อ ช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่ ตามกระบวนการของร่างกาย เมื่อกินคาร์โบไฮเดรตร่างกายจะย่อยแป้งให้กลายเป็นน้ำตาล จากนั้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะผลิตอินซูลินออกมามากขึ้นเพื่อนำน้ำตาลส่วนเกินไปยังเซลล์สำหรับใช้เป็นพลังงาน แต่การกินข้าวเพียงแค่มื้อเดียวต่อวัน จะทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินน้อยลง เพราะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลให้ร่างกายจำเป็นต้องดึงเอาไขมันส่วนเกินที่เก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ออกมาใช้เป็นพลังงาน จึงอาจช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจช่วยลดน้ำหนักได้แต่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว และยังอาจทำให้ล้มเลิกกลางคันเนื่องจากความหิวที่มากเกินไป จนอาจกลับมากินอาหารมากขึ้นและกลับมาอ้วนมากกว่าเดิม นอกจากนี้ บางคนที่กินข้าวมื้อเดียว แต่ใน 1 มื้อเต็มไปด้วยอาหารที่มีน้ำตาล ไขมันไม่ดี ไขมันทรานส์ โซเดียมสูง และกินในปริมาณมาก ก็สามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้น การลดและควบคุมน้ำหนักที่ยั่งยืนและดีต่อสุขภาพในระยะยาว อาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการอดอาหาร แต่หันมากินอาหารให้ครบ 3 มื้อ ที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ไขมันดี […]


โภชนาการเพื่อสุขภาพ

มื้อเย็นควรกินอะไร เพื่อสุขภาพที่ดีและไม่อ้วน

ผู้ที่ต้องการลดความอ้วนอาจกำลังเข้าใจผิดว่าการไม่กินมื้อเย็นสามารถช่วยให้ผอมได้ แต่ในความจริงแล้วอาหารเย็นเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเติมพลังงานและซ่อมแซมร่างกายในระหว่างนอนหลับ หลายคนอาจสงสัยว่า มื้อเย็นควรกินอะไร เพื่อช่วยให้สุขภาพดีและไม่อ้วน ซึ่งมื้อเย็นควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ แป้งไม่ขัดสี ไขมันดี ผักและผลไม้ รวมทั้งต้องกินในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย จึงจะช่วยให้สุขภาพดีและไม่อ้วน [embed-health-tool-bmr] มื้อเย็นควรกินอะไร มื้อเย็นเป็นอาหารมื้อสำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับเพื่อช่วยเติมพลังงาน ใช้ซ่อมแซมร่างกายในระหว่างนอนหลับ และอาจช่วยให้ไม่รู้สึกหิวตลอดทั้งคืนจนกว่าจะถึงมื้อเช้า เพราะหากร่างกายหิวมากจนเกินไป อาจทำให้กินมื้อเช้ามากเกินความจำเป็นได้ ซึ่งมื้อเย็นควรอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แป้งไม่ขัดสี ไขมันดี ผักและผลไม้ ส่วนประกอบของอาหารมื้อเย็นที่ควรกิน เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อปลา ข้าวไม่ขัดสี (เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่) ขนมปังโฮลเกรน ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช (เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วแดง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง) หรือผักที่มีแป้ง (เช่น มันฝรั่ง มันหวาน มันสำปะหลัง) ผักสดทุกชนิด และผักสลัดหลากสี ของหวานจากผลไม้สด ผลไม้แช่แข็งหรือผลไม้อบแห้ง นมหรือโยเกิร์ตไขมันต่ำ เคล็ดลับการกินมื้อเย็นไม่ให้อ้วนและสุขภาพดี การกินมื้อเย็นให้ไม่อ้วนและสุขภาพดีอาจทำได้ ดังนี้ วางแผนอาหารมื้อเย็น การวางแผนอาหารในแต่ละมื้ออาจเป็นวิธีที่จะช่วยควบคุมชนิดของอาหารและปริมาณโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและกินอาหารในปริมาณมากเกินไป กินมื้อเย็นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ในความเป็นจริงสามารถกินมื้อเย็นช่วงเวลาไหนก็ได้เมื่อรู้สึกหิว เพราะแต่ละคนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันจึงไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาของมื้อเย็นได้ แต่ทางที่ดีควรกินมื้อเย็นให้เสร็จก่อนเข้านอนประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารย่อยและป้องกันอาการกรดไหลย้อน ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับมื้อเย็น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ขนมกินแล้วไม่อ้วน เลือกอย่างไรเพื่อสุขภาพที่ดี

ปัจจุบันมี ขนมกินแล้วไม่อ้วน หลายรูปแบบที่ให้ทั้งความอร่อยและคลายหิว รวมถึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพและสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย ซึ่งควรเลือกขนมที่มีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นการกินขนมที่อร่อยและมีประโยชน์ยังช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีความสุขในระยะยาวอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ขนมกินแล้วไม่อ้วน เป็นอย่างไร ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรเป็นขนมที่อร่อย ช่วยคลายหิว และอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ เนื่องจากจุดประสงค์ในการกินขนมเป็นการกินระหว่างมื้ออาหารหลัก เพื่อไม่ให้ท้องว่างจนกินอาหารมื้อต่อไปมากเกินไปและอาจทำให้อ้วนได้ ตัวอย่างขนมกินแล้วไม่อ้วน ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรมีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมันและโซเดียมต่ำ ซึ่งขนมบางอย่างอาจทำได้เองที่บ้าน ดังนี้ ถั่วต้ม เช่น ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วแอลมอนด์ แมคคาเดเมียน นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เช่น นมวัว โยเกิร์ตไขมันต่ำ กรีกโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ผลไม้สด ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แช่แข็ง เช่น แอปเปิ้ล กล้วย […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารย่อยง่าย สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

อาหารย่อยง่าย เป็นอาหารเพื่อสุขภาพรูปแบบหนึ่งที่ผ่านการปรุงสุก กรดต่ำ ใยอาหารต่ำ เนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวและกลืนง่าย ซึ่งดีต่อระบบย่อยอาหาร ช่วยให้ทางเดินอาหารทำงานน้อยลง และลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม อาหารย่อยง่ายควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างครบถ้วน [embed-health-tool-bmr] อาหารย่อยง่าย มีประโยชน์อย่างไร อาหารย่อยง่ายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทางเดินอาหารและลำไส้ จึงอาจส่งผลดีต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหาร ดังนี้ หญิงตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อบำรุงร่างกายทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ การรับประทานอาหารย่อยง่ายจึงอาจช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารเพื่อส่งไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ผู้ที่มีอาการท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน ร่างกายอาจสูญเสียน้ำและสารอาหารในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารย่อยง่ายเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย ลำไส้และกระเพาะอาหารอักเสบ เช่น โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ อาการลำไส้แปรปรวน อาจทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้ลำไส้ย่อยและดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง ระบบทางเดินอาหารติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหาร จนขาดพลังงานและต้องการได้รับอาหารเพื่อฟื้นฟูร่างกายอย่างเร่งด่วน การผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือการผ่าตัดต่าง ๆ ในระหว่างการผ่าตัดร่างกายต้องสูญเสียเลือดและพลังงานในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารอย่างเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย กลุ่มอาการการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ (Malabsorption Syndromes) ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายเพื่อช่วยให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น อาหารย่อยง่าย ที่ดีต่อสุขภาพทางเดินอาหาร ควรเน้นรับประทานอาหารย่อยง่ายที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ โดยควรปรุงอาหารให้มีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เคี้ยวและกลืนง่าย รวมทั้งควรเลือกชนิดของอาหารที่ย่อยง่าย ดังนี้ โปรตีนไขมันต่ำ เลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีเส้นใยกล้ามเนื้อน้อย อ่อนนุ่ม ไขมันต่ำ ไม่ติดหนังและมัน […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหาร มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

การควบคุมอาหาร เป็นการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน โดยประโยชน์ของการควบคุมอาหารอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายในทุกส่วน รวมทั้งยังอาจช่วยป้องกันและควบคุมความรุนแรงของโรคบางชนิดได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] การควบคุมอาหาร มีประโยชน์อย่างไร สำหรับจุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหารอาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เช่น ส่งเสริมโภชนาการที่ดีในการช่วยบำรุงสุขภาพหรือการควบคุมโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลสูง ควบคุมและลดน้ำหนักให้เหมาะสม ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้เหมาะสม ซึ่งประโยชน์ของการควบคุมอาหารมักส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว ดังนี้ อาจส่งผลดีต่อสุขภาพลำไส้ ลำไส้ประกอบไปด้วยแบคทีเรียที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหารและเผาผลาญพลังงาน ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ อาจช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ทั้งยังเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์อีกด้วย ดังนั้น การควบคุมอาหารด้วยการเน้นรับประทานผักและผลไม้ รวมทั้งอาหารที่พรีไบโอติกส์ (Prebiotic) เช่น โยเกิร์ต กิมจิ กะหล่ำปลีดอง มิโซะ อาจช่วยปรับปรุงสุขภาพทางเดินอาหาร ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้น อาจส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ การควบคุมอาหารด้วยการเน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ธัญพืช ถั่ว เมล็ดพืช ผัก ผลไม้ นมไขมันต่ำ รวมทั้งการจำกัดอาหารที่มีน้ำตาลและโซเดียมสูง อาจช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและลดการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด อาจส่งผลดีต่อสุขภาพสมองและระบบประสาท การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อาจช่วยส่งเสริมสุขภาพสมองและระบบประสาท ทั้งในส่วนของความจำและความรู้ความเข้าใจ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neurology, Psychiatry and Brain Research เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของกิจกรรมทางกายและอาหารต่ออารมณ์ พฤติกรรม […]


ข้อมูลโภชนาการ

ไข่น้ำ ประโยชน์ ข้อควรระวังในการรับประทานและวิธีการทำ

ไข่น้ำ เป็นหนึ่งในเมนูอาหารประเภทต้ม ที่คล้ายกับแกงจืด และให้ประโยชน์มากมายเนื่องจากเมนูนี้ประกอบไปด้วยไข่และผักที่อุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น ที่ดีต่อสุขภาพและควบคุมการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้เป้นไปตามปกติ [embed-health-tool-bmi] ประโยชน์ของไข่น้ำ ไข่น้ำ มีส่วนประกอบจากไข่ไก่เป็นหลักและสามารถเพิ่มผักตามชอบร่วมด้วยได้ เช่น แครอท ขึ้นฉ่าย เห็ดหอม สาหร่าย ต้นหอม เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินดี วิตามินบี วิตามินอี แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ป้องกันร่างกายขาดสารอาหาร บำรุงสายตา ลดคอเลสเตอรอล ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมการทำงานของหัวใจและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยให้รับประทานได้อย่างคล่องคอเมื่อเจ็บป่วย  จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research and Practice เมื่อปี พ.ศ. 2561 ที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคไข่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ที่ลดลงในผู้ชายวัยกลางคนและวัยสูงอายุ โดยวิเคราะห์จากผู้ชายชาวเกาหลีทั้งหมด 7,002 คน ได้รับการประเมินแบบสอบถามความถี่การรับประทานอาหารและติดตามผลเป็นเวลา 14 […]


โรคอ้วน

หน้าอ้วน เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

หน้าอ้วน มีไขมันสะสมรอบกรอบหน้าหรือที่เรียกว่าเหนียง อาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย หรือพันธุกรรมของคนในครอบครัว ซึ่งอาจทำให้บางคนขาดความมั่นใจ เพื่อช่วยลดไขมันบนใบหน้าที่ทำให้ใบหน้ากระชับและวีเชฟขึ้น ควรศึกษาวิธีลดไขมันบนใบหน้าหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] หน้าอ้วน เกิดจากอะไร หน้าอ้วน เกิดจากการสะสมของไขมันทั่วใบหน้าหรืออาจส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น คาง แก้ม ที่ทำให้ใบหน้าดูกลม มีเหนียง โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ พันธุกรรมของครอบครัว หากคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญที่ส่งผลให้ใบหน้าอ้วน ก็อาจส่งผลให้บุตรหลานมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ด้วยเช่นกัน อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่และไขมันสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน อาหารแปรรูป น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ ก็อาจส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันได้ทั้งบริเวณใบหน้ารวมถึงลำตัว ที่เสี่ยงให้ใบหน้าอ้วนกลม มีเหนียง หรือเป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ทำให้ไขมันสะสมอยู่บนใบหน้าและร่างกายในร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพมาก การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติและกระตุ้นความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ซึ่งอาจทำให้รับประทานอาหารมากเกินไปนำไปสู่ไขมันสะสมบนใบหน้าทำให้หน้าอ้วน ความเครียด อาจกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ส่งผลให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารในปริมาณมากจนมีการสะสมของไขมันบนใบหน้าและทำให้หน้าอ้วน ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยารักษาเบาหวาน ยากล่อมประสาท ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) […]


ข้อมูลโภชนาการ

Marasmus (ภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่) อาการและการรักษา

Marasmus เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่มีความหมายว่า ภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ ส่วนใหญ่มักพบในเด็กหรือบุคคลในประเทศที่ขาดทรัพยากรทางอาหาร ซึ่งอาจสังเกตได้ด้วยตาเปล่าจากร่างกายซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น ซึ่งควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการแก้ไขหรือปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารใหม่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] Marasmus คืออะไร  Marasmus (มาราสมัส) คือ ภาวะทุพโภชนาการประเภทหนึ่งที่มีภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ในระดับรุนแรง รวมถึงสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ซึ่งแตกต่างกันจากโรคควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) หรือ โรคขาดสารอาหารชนิดโปรตีนเป็นหลัก เพราะสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยเพิ่มพลังงานให้ร่างกายทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย ส่วนใหญ่มักพบได้ในเด็ก แต่ก็อาจเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้เช่นเดียวกัน สาเหตุของ Marasmus สาเหตุของภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ อาจมีดังต่อไปนี้ คุณแม่ให้นมบุตรไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก เนื่องจากนมของคุณแม่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ จึงอาจส่งผลให้ทารกเสี่ยงเป็นภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่แต่เด็ก ผู้ป่วยติดเตียงหรือมีอาการเจ็บป่วยบ่อยครั้ง เพราะอาจส่งผลให้รู้สึกเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง เสี่ยงเป็นภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ ครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรด้านอาหารและเผชิญกับภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง อาการของภาวะMarasmus  อาการของภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ อาจสังเกตได้ดังนี้ ร่างกายสูญเสียไขมันทำให้ ผอมซูบที่อาจทำให้เห็นซี่โครงชัดเจน น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ศีรษะใหญ่กว่าลำตัว ผมร่วง ผิวหนังเหี่ยวย่น หย่อนคล้อยและแห้งกร้าน รู้สึกร่างกายขาดน้ำ กระหายน้ำมาก อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง พัฒนาการและเจริญเติบโตล่าช้า ควรเข้าพบคุณหมอทันทีหากมีอาการท้องเสีย อุณหภูมิร่างกายต่ำ น้ำหนักลดลงกะทันหันและต่ำกว่าเกณฑ์ ความดันโลหิตต่ำ วิงเวียนศีรษะและเป็นลมหมดสติบ่อยครั้ง เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเสี่ยงหัวใจวาย การติดเชื้อรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิต การรักษาภาวะMarasmus การรักษาภาวะร่างกายขาดโปรตีนและแคลอรี่ […]


โรคอ้วน

Visceral fat คืออะไร และควรป้องกันอย่างไร

Visceral fat  คือ ภาวะไขมันในช่องท้อง ที่เกิดจากไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องทำให้มีพุง รูปร่างเปลี่ยนไป มีรอบเอวและน้ำหนักเกินเกณฑ์ อาจส่งผลให้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคข้อเข่าเสื่อม ไขมันพอกตับ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างการเคลื่อนไหวลำบาก ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการลดไขมันรวมถึงการป้องกันภาวะไขมันในช่องท้อง หรือขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อรับแผนการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] Visceral fat คืออะไร Visceral fat คือ ศัพท์ที่ใช้เรียกบุคคลที่เป็นภาวะไขมันในช่องท้อง เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในช่องท้องชั้นลึกและล้อมรอบอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ลำไส้ กระเพาะอาหาร และอาจเกาะติดอยู่ตามผนังหน้าท้อง หรือหลอดเลือด ซึ่งอันตรายกว่าไขมันสะสมใต้ผิวหนัง โดยมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ไขมันมากเกินไป เช่น ของทอด อาหารแปรรูป ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ขนมปังขาว ข้าวขาว เนื้อสัตว์ติดมัน รวมถึงขาดการออกกำลังกาย ที่อาจสังเกตได้จากพุงยื่นคล้ายแอปเปิ้ลหรือลูกแพร์ รอบเอวเกิน น้ำหนักเพิ่มขึ้น Visceral fat ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร Visceral fat อาจส่งผลกระต่อสุขภาพ ดังนี้ ข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักที่มากเกินไปจากการสะสมของไขมันอาจทำให้ข้อต่อบริเวณเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัว ที่เพิ่มความเสี่ยงให้ข้อต่ออักเสบและข้อเข่าเสื่อม […]


โภชนาการพิเศษ

โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร และควรดูแลตนเองอย่างไร

หากเป็น โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร? ควรกินอาหารที่ช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เช่น อาหารรสเค็ม อาหารที่มีวิตามินบี 12 รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ทั้งนี้ โรคความดันต่ำเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความเครียด การใช้ยาบางชนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการเสียเลือดในปริมาณมาก [embed-health-tool-heart-rate] โรคความดันต่ำ คืออะไร โรคความดันต่ำ หมายถึง ภาวะสุขภาพของร่างกายที่มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น วิงเวียน สายตาพร่ามัว หมดแรง หัวใจเต้นแรง โดยปกติแล้ว โรคความดันต่ำนั้นพบได้จากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนี้ การตั้งครรภ์ ความเครียด การติดเชื้อในระดับรุนแรง การแพ้อย่างรุนแรง การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ การรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน การสูญเสียเลือดปริมาณมาก ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ ต่อมไทรอยด์ หรือการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด การเผชิญกับอุณหภูมิที่เย็นหรือร้อนมาก ภาวะขาดน้ำเนื่องจากการอาเจียน ท้องร่วง หรือเป็นไข้ การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกนั่งหรือลุกยืนเร็วเกินไป มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การออกกำลังกายหักโหม โรคความดันต่ำ ควรกินอะไร เพื่อช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้น […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม