สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

วิธีการรับมือกับความกังวล ก่อน ฟังผลตรวจมะเร็ง

การเป็นมะเร็ง อาจจะเป็นฝันร้ายของใครหลาย ๆ คน ยิ่งในช่วงเวลาแห่งความกังวล ที่จะต้องรอฟังผลตรวจจากคุณหมอว่าเราเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น อาจจะทำให้หลายคนวิตกกังวล จิตตก กินไม่ได้นอนไม่หลับ จนทำให้สุขภาพย่ำแย่ลงไปมากกว่าเดิม วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำวิธีการรับมือกับความกังวล ก่อนการ ฟังผลตรวจมะเร็ง เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับความรู้สึกของตัวเองได้ดียิ่งขึ้นกันค่ะ ผลของความกังวล ก่อน ฟังผลตรวจมะเร็ง ความรู้สึกเป็นกังวลก่อนการฟังผลตรวจโรคนั้นเป็นเรื่องปกติ ยิ่งโดยเฉพาะหากโรคที่ว่านั้นหมายถึงโรคมะเร็ง ไม่ว่าใครก็คงจะต้องรู้สึกกลัวไม่ต่างกัน เพราะเราต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า โรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งนั้น อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต ทั้งต่อสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางการเงินกันเลยทีเดียว ความรู้สึกกังวลก่อนการฟังผลตรวจมะเร็งเหล่านี้ บางครั้งอาจจะเรียกว่า Scanxiety (Scan + Anxiety) คำนี้มักจะใช้เพื่ออธิบายถึงอาการความวิตกจริตที่เกิดขึ้นขณะกำลังรอฟังผลตรวจชิ้นเนื้อว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ซึ่งอาการของความวิตกจริตนี้อาจจะแสดงออกมาให้เห็นได้ทั้งทางจิตใจและทางร่างกาย อาการทางจิตใจ อาการทางจิตใจที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ที่ต้องรอฟังผลมะเร็ง มีดังต่อไปนี้ วิตกกังวล เครียด โศกเศร้า โกรธ หวาดกลัว ตื่นตระหนก รู้สึกเหนื่อยล้า หมดอาลัยตายอยาก อาการทางร่างกาย ในบางครั้ง ผลจากความวิตกกังวลเมื่อรอฟังผลตรวจมะเร็ง อาจแสดงออกมาในรูปแบบของอาการทางกาย เช่น นอนไม่หลับ เนื่องจากร่างกายอาจจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ออกมามากเพราะความรู้สึกเครียด ทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ เหงื่อออกมาก รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากความเครียดสูง อาการเหล่านี้ หากไม่มีการรับมือที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้ร่างกายทรุดโทรม และอ่อนแอลงมากขึ้น และยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการป่วยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย แนวทางในการรับมือกับความกังวล ยอมรับว่าตัวเองกลัว บ่อยครั้งที่คนเราอาจจะไม่ทันสังเกตว่าตัวเองกำลังรู้สึกหวาดกลัว หรือกำลังโศกเศร้า จุดเริ่มต้นที่ดีที่จะหาทางรับมือกับความรู้สึกกังวลเมื่อรอฟังผลตรวจมะเร็งนั้น คือการตระหนักรู้และยอมรับว่าตัวเองกำลังกลัว และเมื่อเรารับรู้ได้ว่าเรากลัวแล้ว เราก็จะสามารถหาหนทางในการจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ไม่จมอยู่กับความกลัว อย่าปล่อยให้ความรู้สึกกังวลครอบงำเรา จนทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือทำให้ร่างกายของเรามีอาการทรุดโทรมลงไปได้ การกังวลต่ออนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นนั้นไม่มีประโยชน์อะไร […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

ขันทิเบต (Tibetan Singing Bowl) คลื่นเสียงบำบัด เพื่อการผ่อนคลายจิตใจ

การใช้คลื่นเสียงบำบัด เป็นศาสตร์การแพทย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมกันมาอย่างยาวนาน เพื่อเชื่อกันว่าคลื่นเสียงเหล่านี้จะสามารถช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายและสงบได้มากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ เลยนำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ขันทิเบต หนึ่งในอุปกรณ์สำหรับการทำคลื่นเสียงบำบัด มาฝากทุกคนกันค่ะ ขันทิเบต คืออะไร ขันทิเบต (Tibetan Singing Bowls) หมายถึงขันที่ทำขึ้นจากเหล็กผสมทองเหลือง มีเสียงก้องกังวาล เมื่อใช้ไม้ถูวนรอบ ๆ เป็นขันที่พระสงฆ์ในทิเบตใช้เพื่อทำสมาธิประกอบพิธีการสวดมนต์ เพราะเชื่อว่าคลื่นเสียงของขันทิเบตนี้จะช่วยทำให้ผู้ฟังรู้สึกสงบใจได้เร็วขึ้น ในปัจจุบันขันทิเบตได้ถูกนำมาใช้ในแพทย์ทางเลือก อย่าง คลื่นเสียงบำบัดจากขันทิเบต (Singing Bowl Therapy) เพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยในการนอนหลับ ช่วยบรรเทาความรู้สึกโศกเศร้า ช่วยปรับอารมณ์ ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยปรับจังหวะการหายใจ ช่วยทำให้รู้สึกดีขึ้น การใช้เสียงบำบัดนั้นเป็นการแพทย์ทางเลือกที่มีมาตั้งแต่โบราณ และใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในพิธีกรรมทางศาสนา หรืองานประเพณีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอาจนำมาใช้ร่วมกับการออกกำลังกายบางชนิด เช่น การใช้ขันทิเบตเพื่อช่วยกำหนดลมหายใจในระหว่างการเล่นโยคะ เป็นต้น งานวิจัยพบอะไรเกี่ยวกับการใช้ขันทิเบต แม้ว่าจะมีการใช้ขันทิเบตกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ แต่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลทางวิทยาศาสตร์ของการใช้ขันทิเบตนั้นยังคงมีค่อนข้างน้อย มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสาร Research in Complementary Medicine จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดเรื้อรังเนื่องจากกระดูกสันหลังกว่า 54 ราย โดยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่าง ให้กลุ่มหนึ่งเข้ารับการทำคลื่นบำบัดโดยใช้ขันทิเบต กลุ่มหนึ่งทำการรักษาด้วยยาหลอก และอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับการรักษาใด ๆ เลย งานวิจัยนั้นพบว่า กลุ่มที่เข้ารับการรักษาด้วยการใช้ขันทิเบตนั้น รู้สึกว่าอาการปวดของตัวเองลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาใด […]


สุขภาพจิต

ขย้อนอาหาร หลังกลืน เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ขย้อนอาหาร เป็นอาการที่มักสำรอกอาหารที่กลืนเข้าไปแล้ว โดยอาจเกิดจากโรคเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนอาหารออกมา อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มไวกว่าปกติ และน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ หากไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะทุพพลภาพ หรือขาดสารอาหารตามมาได้ ขย้อนอาหาร คืออะไร โรคเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนอาหารออก (Rumination Syndrome) หรือ โรคขย้อนอาหาร กลุ่มอาการสำรอก กลุ่มอาการเคี้ยวเอื้อง เป็นโรคที่มักจะสำรอกหรือ ขย้อนอาหาร ที่ยังไม่ย่อย หรืออาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนออกมาเคี้ยวซ้ำ จากนั้นจึงกลืนอาหารเข้าไปอีกรอบ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจเคี้ยวอาหารที่ขย้อนออกมาซ้ำ แล้วคายทิ้งโดยไม่พบความผิดปกติของทางเดินอาหาร และมีอาการนี้เป็นระยะเวลานานเกิน 1 เดือน สาเหตุของโรคเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนอาหารออก ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนอาหารออก แต่สันนิษฐานว่า ภาวะนี้เป็นผลมาจากอาหารที่กินเข้าไปทำให้กระเพาะอาหารขยายตัว ทำให้มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น และกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างคลายตัว อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนขึ้นมา หรือทำให้ผู้ป่วยสำรอกหรือขย้อนอาหาร ในผู้ป่วยบางราย อาการของโรคมักเริ่มมาจากปัจจัยกระตุ้น เช่น การติดเชื้อไวรัส โรคระบบทางเดินอาหาร ความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิต และโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็ก ที่บกพร่องทางสติปัญญา และความเครียดสะสม หรือความวิตกกังวลเป็นประจำ อาการของโรคเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนอาหารออก อาการของโรคเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนอาหารออก มีดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน ขย้อนอาหาร หรือสำรอก อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย และอาจมีอาการขย้อนอาหาร ปวดท้องเมื่อรับประทานอาหาร รู้สึกอิ่มไวกว่าปกติ มีกลิ่นปาก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยโรคเคี้ยวกลืนแล้วขย้อนอาหารออกมักจะมีอาการเหล่านี้เป็นประจำหลังรับประทานอาหาร บางรายอาจมีอาการทันทีหลังรับประทานอาหารคำแรก ในขณะที่บางรายอาจมีอาการหลังรับประทานอาหาร และอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ว่าเป็นอาการของโรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ (Bulimia) โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux […]


โรควิตกกังวล

วิตกกังวลง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ หากไม่อยากให้อาการแย่กว่าเดิม

ความวิตกกังวลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม และด้านความรักความสัมพันธ์ ยิ่งหากใครเป็นคน วิตกกังวลง่าย ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตเพราะอาการนี้มากขึ้นไปอีก และไม่ใช่แค่นั้น เพราะหากคุณวิตกกังวลบ่อย ยังส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณได้ด้วย แต่เราก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการนี้เองได้ เพียงแค่หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการวิตกกังวลเหล่านี้ ร่วมกับการดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การรักษาด้วยยา การทำจิตบำบัด วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หากคุณเป็นบุคคลที่วิตกกังวลได้ง่าย อาหารที่คน วิตกกังวลง่าย ควรเลี่ยง กาแฟ และเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีคาเฟอีน หลายคนชอบดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีคาเฟอีน (Caffeine) เช่น ชา น้ำอัดลม เพื่อเพิ่มพลังงาน กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว และกระปรี้กระเปร่า แต่คุณรู้ไหมว่า คาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านี้ อาจทำให้คุณรู้สึกเครียด หรือวิตกกังวลได้ด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ คาเฟอีนมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึก ในขณะที่น้ำตาลในเครื่องดื่มเหล่านี้กลับเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินมากขึ้นชั่วขณะ เมื่อคาเฟอีนและน้ำตาลทำให้ระดับเซโรโทนินในร่างกายขึ้น ๆ ลง ๆ จึงส่งผลให้คุณรู้สึกซึมเศร้า […]


การจัดการความเครียด

เทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย จุดแล้วส่งผลดีหรือร้ายต่อสุขภาพกันแน่

หลายคนชอบจุด เทียนหอมเพื่อผ่อนคลาย เนื่องจากมีกลิ่นหอม ช่วยทำให้จิตใจของคุณสงบ และรู้สึกผ่อนคลาย แต่บางคนอาจสงสัยว่า การดมควันของเทียนหอม อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หรือไม่ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเทียนนั้นล้วนมีสารเคมีผสมอยู่ แต่ความจริงแล้วเป็นอย่างไร ติดตามกันได้ในบทความของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] การจุดเทียนเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ มีบทความมากมายบนอินเทอร์เน็ตที่อธิบายถึงอันตรายของการสูดดมควันเทียนหอม แต่บทความส่วนใหญ่ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถสรุปได้ว่า ความจริงแล้วการจุดเทียนหอมเพื่อผ่อนคลายนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ในปี ค.ศ. 2003 คณะกรรมาธิการความปลอดภัยสินค้าอุปโภคบริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Consumer Product Safety Commission; CPSC) ได้ลงมติห้ามขายและผลิตเทียนที่มีไส้ตะกั่ว พวกเขายังห้ามนำเข้าเทียนที่มีส่วนผสมของตะกั่วจากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้น ผู้ผลิตเทียนส่วนใหญ่เลิกใช้ตะกั่วในการผลิตเทียนตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1970 เนื่องจากมีความกังวลว่า ควันที่เกิดจากการจุดเทียน อาจทำให้เกิดพิษจากสารตะกั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก เทียนในยุคปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะทำจากขี้ผึ้งพาราฟิน หรือพาราฟิน แว็กซ์ (Paraffin wax) โดยขี้ผึ้งประเภทนี้ผลิตจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำน้ำมันเบนซิน การศึกษาในปี ค.ศ. 2009 พบว่า ขี้ผึ้งพาราฟินที่ถูกเผาไหม้จะปล่อยสารเคมีที่อาจเป็นอันตราย เช่น โทลูอีน (Toluene) ออกมา อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่เคยถูกตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการตรวจสอบโดย The National […]


สุขภาพจิต

ปรากฏการณ์ Halo Effect หลุมลวงจากภาพลักษณ์ภายนอก

ปรากฏการณ์ เฮโลเอฟเฟกต์ (Halo Effect) ถือเป็น อคติทางความคิด (Cognitvie Bias) ประเภทหนึ่ง ซึ่งคนเราจะมีความคิดว่าบุคคลที่มีบุคลิกเช่นนี้จะต้องมีนิสัยใจคอแบบนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่มีบุคลิก ลักษณะเช่นนี้ จะเป็นเหมือนเช่นที่เราคิดเสียหมด หากคนเราถูกปรากฏการณ์ Halo Effect เข้าครอบงำแล้วก็ อาจจะทำให้เรานั้นเกิดการตัดสินใจที่ผิด ๆ จนทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปล้วงลึก หาคำตอบกันว่าปรากฏการณ์ Halo Effect นั้นส่งผลกระทบได้ในด้านใดบ้าง ปรากฏการณ์ Halo Effect คืออะไร เฮโลเอฟเฟกต์ (Halo Effect) จัดเป็นอคติทางความคิดรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเชื่อมโยงกับรูปลักษณะภายนอก ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง หน้าตา การแต่งตัว การวางตัว หรือแม้กระทั่งน้ำเสียง สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อความคิดและความรู้สึกของเรา โดยเรามักจะประเมินนิสัย ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความอารมณ์ขัน หรือลักษณะนิสัยอื่น ๆ ผ่านทางรูปลักษณ์ภายนอก ที่เรานั้นสามารถสังเกตเห็นและรับรู้ได้ ตัวอย่างของ เฮโลเอฟเฟกต์ ที่เห็นได้ชัดเจนอาจสามารถเปรียบได้กับ ความประทับใจของเราที่มีต่อดาราหรือคนมีชื่อเสียง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมีความคิดที่ว่า […]


สุขภาพจิต

จะเครียดจะฟิน ก็ช้อปปิ้งกระจาย หรือเพราะคุณเป็น โรคเสพติดการช้อปปิ้ง

หากจะพูดว่า การช้อปปิ้งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมโปรดของคนทุกเพศทุกวัยก็คงไม่ผิดนัก ยิ่งเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก แค่เราเข้าโลกออนไลน์ก็สามารถเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้วคลิก คนเราจะช้อปปิ้งบ้างก็ไม่แปลกอะไร โดยเฉพาะเวลาเครียด ๆ บางคนก็อยากคลายเครียดด้วยการช้อปปิ้ง แต่หากใครที่ชอบช้อปปิ้งมาก จะเครียดหรือจะแฮปปี้ก็ต้องช้อปปิ้ง เรียกว่า ชีวิตติดช้อปสุด ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังเป็น โรคเสพติดการช้อปปิ้ง ก็เป็นได้ แต่..จะมีสัญญาณและอาการของโรคดังกล่าวอย่างไรอีกบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการ เสพติดการช้อปปิ้ง มาฝากกันแล้ว โรคเสพติดการช้อปปิ้ง คืออะไร โรคเสพติดการช้อปปิ้ง (Shopping Addiction หรือ Oniomania หรือ Compulsive Buying Disorder) บางครั้งเรียกว่า “โรคช้อปอะโฮลิก” (Shopaholic) เป็นความผิดปกติทางพฤติกรรมชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะคือ ผู้ป่วยจะหมกหมุ่นกับการใช้จ่าย หรืออยากช้อปปิ้งตลอดเวลา โดยที่พวกเขาไม่สามารถหักห้ามใจ หรือหยุดการกระทำของตัวเองได้ จนก่อให้เกิดผลเสียในที่สุด อาการของโรคเสพติดการช้อปปิ้ง หลายคนอาจสับสนว่าตัวเอง หรือคนรอบข้างแค่ชอบช้อปปิ้ง หรือเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้งกันแน่ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากคุณมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ 4 ข้อขึ้นไป นั่นแปลว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคเสพติดการช้อปปิ้ง ใช้จ่ายเกินตัว ซื้อของเกินความจำเป็น ไม่บอกให้ครอบครัว หรือคนใกล้ชิดรู้ว่าตัวเองช้อปปิ้งเยอะเกินไป ชอบเอาของที่ซื้อมาไปคืนเพราะรู้สึกผิด ช้อปปิ้งจนกระทบกับความรักหรือความสัมพันธ์ ชอบใช้บัตรเครดิตมากกว่าเงินสด ช้อปปิ้งเพื่อให้หายโมโห หายเศร้า หายเหงา หรือช้อปปิ้งเพื่อให้อารมณ์ดีขึ้น ทะเลาะกับคนอื่นเรื่องพฤติกรรมการช้อปปิ้งของคุณบ่อย […]


สุขภาพจิต

โรคหลอกตัวเอง

โรคหลอกตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพหรือทางพฤติกรรม ซึ่งเป็นพฤติกรรามที่อาจเกิดจากแรงกดดันทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกอึดอัด จนต้องมีพฤติกรรมโกหกจนเป็นนิสัย และหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาจเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวผู้ป่วยและคนรอบข้างได้ โรคหลอกตัวเองคืออะไร โรคหลอกตัวเอง (Pathological Liar หรือ Mythomania หรือ Pseudologia fantastica) จัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติทางบุคลิกภาพ หรือความผิดปกติทางพฤติกรรม โดยจะมีพฤติกรรมโกหกตามแรงกดดันจนกลายเป็นนิสัย เมื่อถูกบังคับหรือถูกกดดันให้พูดความจริง ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ จนกลายเป็นพฤติกรรมโกหกโดยอัตโนมัติ การโกหกของผู้ที่เป็นโรคหลอกตัวเอง ไม่ใช่การโกหกสีขาว หรือการโกหกเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นครั้งคราว แต่เป็นการโกหกแบบไม่มีเหตุผลแน่ชัด ทำให้ผู้รับฟังรู้สึกหงุดหงิดและไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไร สาเหตุของ โรคหลอกตัวเอง ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคหลอกตัวเองเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วยทางจิต เช่น โรคต่อต้านสังคม โรคหลงตัวเอง โรคย้ำคิดย้ำทำ หรืออาจเป็นผลมาจากระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ การบาดเจ็บที่ศีรษะ บาดแผลทางจิตใจตั้งแต่วัยเด็ก หรือระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ไม่สมดุล อาการของโรคหลอกตัวเอง อาการของโรคหลอกตัวเองตามหลักวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ โกหกแบบไม่มีจุดประสงค์ที่แน่ชัด เป็นการโกหกโดยสร้างเรื่องขึ้นมาแบบไม่มีจุดประสงค์ที่เจตนาแน่ชัดซึ่งเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้างไม่สามารถหาสาเหตุของการโกหกนั้นได้ เรื่องเล่าน้ำเน่า ซับซ้อน และมีรายละเอียดมาก ผู้ที่เป็นโรคหลอกตัวเองจะชอบแต่งเรื่อง ชอบเล่าเรื่อง โดยเรื่องที่เล่าส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก และน่าติดตาม ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เกินจริงและมีจุดประสงค์เพื่อโน้มน้าวใจอีกฝ่าย ชอบสวมบทบาท ผู้ป่วยมักจะสวมบทบาทเป็นฮีโร่หรือเหยื่อในเรื่องโกหกหรือเรื่องเล่า เพื่อเรียกร้องความสนใจ ความเห็นอกเห็นใจ ความชื่นชอบ และการยอมรับจากคนอื่น เชื่อว่าเรื่องที่โกหกเป็นเรื่องจริง ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอกตัวเองมักเชื่อว่าเรื่องเล่านั้นเป็นเรื่องจริง ทำให้การรับมือกับผู้ที่เป็นโรคหลอกตัวเองกลายเป็นเรื่องยาก เพราะผู้ป่วยอาจแยกไม่ออกว่าสิ่งไหนเรื่องจริง […]


สุขภาพจิต

หนทางไกลแค่ไหนไม่หวั่น ขอแค่ไม่ขึ้นเครื่อง เพราะฉันเป็น โรคกลัวเครื่องบิน

เมื่อต้องจำเป็นที่ต้องเดินทางไกล ก็คงจะเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้บริการ การเดินทางบนฟากฟ้าเพื่อให้ถึงจุดหมายโดยไวด้วยการขึ้นเครื่องบิน จนบางครั้งนั้นก็อาจทำให้คุณเกิดความกังวลขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญานเตือนแรกที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ โรคกลัวเครื่องบิน อยู่ก็เป็นได้ แต่จะมีวิธีการรักษาโรคนี้อย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้จาก Hello คุณหมอ กันได้เลยค่ะ โรคกลัวเครื่องบิน คืออะไร โรคกลัวเครื่องบิน หรือ โรคกลัวการเดินทางโดยเครื่องบิน (Aerophobia) คืออาการกลัวในกลุ่มโฟเบีย (Phobia) ซึ่งเป็นความกลัวที่มีความเกี่ยวข้องกับการเดินทางด้วยยานพาหนะบนอากาศ เช่น เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น โดยสาเหตุสำคัญที่อาจทำให้คุณมีความวิตกกังวล ความเครียด และตระหนักใจ ทุกครั้งที่จำเป็นต้องขึ้นเครื่องบินนั้น อาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นโรคกลัวความสูง กลัวการเข้าสังคม กลัวเชื้อโรค อยู่ทุนเดิม เคยมีประสบการณ์ หรือความทรงจำฝังใจเกี่ยวกับเครื่องบิน เช่น เคยประสบอุบัติเหตุ การสูญเสียคนรอบข้างจากเหตุการณ์เกี่ยวกับเครื่องบิน ถูกสภาพแวดล้อมรอบข้างจากบุคคลในครอบครัวปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก ภาวะทางสุขภาพบางประการที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางโดยเครื่องบิน เช่น โรคหัวใจ หูอื้อ จนทำให้รู้สึกทรมานกับอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิจัยชี้ให้เห็นอีกว่า สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้คุณเกิดอาการกลัวเครื่องบินนั้น อาจมาจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยขณะบิน ไม่ว่าจะเป็น ฝนตกหนัก ฟ้าร้อง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก็อาจสร้างความวิตกกังวลให้คุณ จนนำไปสู่ความ กลัวการเดินทางโดยเครื่องบิน และอยากจะหลีกเลี่ยงมากที่สุดหากเป็นไปได้ อาการโรคกลัวเครื่องบิน มีสัญญาณเตือนอย่างไร ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่มีอาการกลัวเครื่องบิน […]


สุขภาพจิต

วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า ด้วยแนวทางในก้าวข้ามพลังงานเชิงลบ

เมื่อเกิดภาวะซึมเศร้า หลายคนมักจะรู้สึกหดหู่ รวมถึงมีพลังงานเชิงลบเกิดขึ้น ดังนั้น หลายคนจึงพยายามหา วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า เพื่อทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากพลังงานเชิงลบ และทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น สำหรับวิธีการต่อสู่กับภาวะซึมเศร้าจะทำอย่างไรได้บ้าง บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า ด้วยแนวทางในการก้าวข้ามพลังงานเชิงลบ ภาวะซึมเศร้า (Depression) ไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกหมดพลังงาน แต่ยังทำให้คุณรู้สึกว่างเปล่าและเหนื่อยล้า และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถส่งผลให้การรวบรวมพลังกายและใจ หรือความรู้สึกตั้งมั่นว่าอยากจะเข้ารับการรักษานั้นเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม ก็ยังพอมี วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ช่วยให้คุณสามารถควบคุมความรู้สึกและปรับปรุงความเป็นอยู่โดยรวมของคุณให้ดีขึ้นได้ ซึ่ง วิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า สามารถทำได้ดังนี้ เปิดใจยอมรับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ อาการซึมเศร้าเป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้บ่อย ภาวะดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน รวมถึงบางคนในชีวิตคุณด้วย คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าพวกเขากำลังเผชิญกับความท้าทาย อารมณ์ และอุปสรรคที่คล้ายคลึงกันอยู่ สำหรับกุญแจสำคัญในการรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง คือ การเปิดใจยอมรับ รักตัวเอง และสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ ความผิดปกตินี้จะแตกต่างกันออกไปในทุก ๆ วัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของคุณอย่างจริงจัง จงหมกมุ่นอย่างสร้างสรรค์ การระงับความรู้สึกและอารมณ์ของคุณ อาจดูเหมือนเป็นวิธีเชิงกลยุทธ์ในการรับมือกับอาการทางลบของภาวะซึมเศร้า แต่ในที่สุดเทคนิคนี้ก็ไม่ได้ดีต่อสุขภาพเสมอไป หากคุณมีวันหยุด ลองปล่อยได้ตัวเองรู้สึกถึงอารมณ์ แต่อย่าจมอยู่อย่างนั้น ลองเขียนบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังประสบอยู่ จากนั้น เมื่อความรู้สึกเพิ่มขึ้นให้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย รู้ว่าวันนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงวันพรุ่งนี้ อารมณ์ ความรู้สึก หรือความคิด ไม่ได้ส่งผลต่อวันพรุ่งนี้ หากคุณไม่ประสบความสำเร็จในการลุกจากเตียง หรือทำเป้าหมายให้สำเร็จในวันนี้ อย่าลืมว่า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม