สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

สำรวจ สุขภาพจิต

สุขภาพจิต

ยาที่ทำให้ซึมเศร้า 5 ชนิดเหล่านี้ คุณกำลังใช้อยู่รึเปล่า

ในปัจจุบันนี้ เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักกับ โรคซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ  ทั้งปัญหาทางสภาพจิตใจ และสภาพร่างกาย แต่คุณรู้หรือไม่คะว่า ยาบางชนิดที่เรากำลังใช้กันอยู่ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ยาที่ทำให้ซึมเศร้า เหล่านั้นมีอะไรกันบ้าง มาหาคำตอบพร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเลยค่ะ ทำไมยาบางชนิดจึงอาจทำให้ซึมเศร้า โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง จนส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นมักจะมีความคิดไปในแง่ลบ รู้สึกเบื่อหน่าย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง เหม่อลอย รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หรือแม้กระทั่งอยากที่จะทำร้ายตัวเอง ความผิดปกติของสารเคมีในสมองนั้นอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัญหาทางด้านพันธุกรรม ลักษณะนิสัย ความเครียด หรือแม้แต่กระทั่งความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย ที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนและสารเคมีอื่น ๆ  ภายในร่างกาย เมื่อเรารับประทานยาเข้าไป ยาเหล่านี้ก็จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในร่างกาย ซึ่งยาบางชนิดก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึก เช่น ทำให้รู้สึกเศร้า หมดหวัง ไม่อยากมีชีวิต หรือแม้กระทั่งอยากที่จะทำร้ายตัวเอง ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดจากยาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าด้วยกันทั้งสิ้น 5 ยาที่ทำให้ซึมเศร้า มีอะไรบ้าง ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) ยาในกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ เป็นยาที่แพทย์มักจะสั่งเพื่อใช้เป็นยาลดความดัน สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังอาจใช้เพื่อรักษาสภาวะที่เกี่ยวข้องกับหัวใจต่าง ๆ  เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ อาการปวดเค้นหัวใจ หัวใจล้มเหลว หรือแม้กระทั่งอาการปวดหัวไมเกรนต่าง ๆ […]


การจัดการความเครียด

ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ให้เปลี่ยนไปได้จริง หรือแค่คิดไปเอง

เมื่อเกิดความเครียดและความวิตกกังวล นอกจากจะสร้างความไม่สบายใจให้กับตัวเองแล้ว ปัญหาความเครียดและความวิตกกังวลเหล่านี้ ยังส่งผลต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจถี่ขึ้น ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละคน ที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ ความวิตกกังวลยังส่งผลต่อการรับรส อีกด้วย ซึ่งเป็นผลกระทบที่หลาย ๆ คนอาจไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปหาคำตอบว่า ความเครียด ความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร ความเครียดและความกังวลส่งผลต่อการรับรส ได้อย่างไร จากงานวิจัยพบว่า สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล การรับรสชาติบางรสชาติอาจจะรับรสได้น้อยลง จากการวิจัยในปี 2012 พบว่า ความเครียดมีส่วนทำให้การรับรสชาติเค็มและหวานลดลง ทำให้ในช่วงที่เกิดเครียด จะทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติเค็มขึ้นและหวานขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในปี ค.ศ. 2011 ที่ได้ทำการวิจัยผู้ที่ตกอยู่ในสถาการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น การที่ต้องพูดในที่สาธารณะ การแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์ที่ยาก จากการทดลองพบว่า เมื่อพวกเขาเกิดความวิตกกังวล การรับรสหวานลดลง และทำให้พวกเขารับประทานอาหารรสชาติหวานมากขึ้น นอกจากรสชาติหวานและเค็มแล้ว สำหรับบางคนเมื่อเกิดความเครียด อาจทำให้ปากได้รสชาติรสโลหะอีกด้วย ซึ่งแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า รสชาติโลหะที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ แต่แพทย์คาดว่าเมื่อเกิดความเครียดจนทำให้ปากแห้ง ทำให้น้ำลายในปากน้อยลง จนปากเกิดรสชาติขมและรสโลหะ วิธีแก้ปัญหาเมื่อ ความกังวลส่งผลต่อการรับรส […]


โรควิตกกังวล

ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

ความวิตกกังวลทำให้นอนไม่หลับ หรือการนอนไม่หลับทำให้เกิดความวิตกกังวล คำถามนี้อาจเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คนที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ หรือความจริงแล้ว ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ อาจจะมีความเชื่อมโยงต่อกัน ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ความวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ความวิตกกังวล คือ การตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อความเครียด โดยที่คุณจะมีความรู้สึกหวาดกลัว หรือกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป คุณอาจมีโรควิตกกังวล หากมีความรู้สึกดังต่อไปนี้ วิตกกังวลสุดขีด มีความรู้สึกวิตกกังวลเป็นเวลาประมาณ 6 เดือนหรือนานกว่านั้น ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกำลังรบกวนชีวิตประจำวัน หรือความสัมพันธ์ของคุณ ส่วน การนอนไม่หลับ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่เอาไว้ใช้สำหรับการนอนหลับยาก ซึ่งอาจรวมถึง นอนหลับยาก มีปัญหาในการนอนหลับ ตื่นเช้าเกินไป ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเหนื่อย จากข้อมูลของ Mental Health America ระบุเอาไว้ว่า ความเครียดทำให้คนอเมริกัน 2 ใน 3 เกิดอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ ยังสังเกตด้วยว่า นิสัยการนอนหลับที่ไม่ดีนั้นเชื่อมโยงกับปัญหาต่าง ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล ตามรายงานของ Harvard Health Publishing ปัญหาการนอนหลับส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า “ความวิตกกังวลทำให้นอนไม่กลับ หรือการนอนไม่หลับทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือไม่” โดยส่วนใหญ่แล้ว การอดนอนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรควิตกกังวล การนอนไม่หลับยังสามารถทำให้อาการของโรควิตกกังวลแย่ลงหรือป้องกันการฟื้นตัวจากโรควิตกกังวลได้ นอกจากนั้น ความวิตกกังวลยังสามารถส่งผลทำให้การนอนหลับหยุดชะงักได้บ่อยครั้งในรูปแบบของการนอนไม่หลับ หรือฝันร้าย ความจริงแล้ว […]


การจัดการความเครียด

วิธีรับมือเมื่อต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ทำยังไงไม่ให้เหงาจนกระทบสุขภาพ

ในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะเทศกาลที่มีวันหยุดยาวอย่างปีใหม่ หรือสงกรานต์ ถือเป็นโอกาสดีที่คนส่วนใหญ่จะได้หยุดงาน และได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว หรือคนรัก แต่ก็ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ไม่ได้ไปเฉลิมฉลองกับคนที่พวกเขารัก ยิ่งช่วงนี้ โรคโควิด-19 ระบาดรุนแรงขึ้น จนทำให้การเดินทาง และการพบปะ หรือใช้เวลาร่วมกับผู้อื่นกลายเป็นเรื่องยาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะต้องอยู่คนเดียว หรือรู้สึกเหงามากเป็นพิเศษ ว่าแต่เราจะรับมือกับความเหงาอย่างไรไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันเลย วิธีรับมือเมื่อต้อง อยู่คนเดียวช่วงเทศกาล ทำความเข้าใจว่าคุณไม่ได้ตัวคนเดียว การต้องอยู่คนเดียวในช่วงเทศกาลอาจทำให้คุณรู้สึกเหงาและว้าเหว่ ยิ่งคุณต้องการใช้เวลาร่วมกับครอบครัว เพื่อน หรือคนรักมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเหงามากขึ้นเท่านั้น แต่คุณควรจำไว้ว่า แม้คุณจะต้องอยู่ลำพัง ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณตัวคนเดียว หรือไม่มีใคร เพราะเดี๋ยวนี้ สัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตครอบคลุมแทบจะทุกพื้นที่ คุณจึงสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่คุณคิดถึงผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโซเชียล การวิดีโอคอล หรือการสนทนาแบบได้ยินแค่เสียงตามปกติ ทำให้ตัวเองรู้สึกดีและผ่อนคลาย การกำจัดความเหงาออกไปให้สิ้นซากอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณก็บรรเทาความเหงาและทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้ ด้วยกิจกรรมผ่อนคลายสุดโปรดของคุณ เช่น การแช่น้ำอุ่น การอ่านหนังสือ การดูหนัง การฟังเพลง การเล่นเกม การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ การใช้เวลาและมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมโปรด จะทำให้คุณลืมความเหงาไปได้ ทั้งยังช่วยให้คุณรับรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง หรือพึงพอในใจตัวเอง (Self-esteem) มากขึ้นด้วย ไม่หมกตัวอยู่แต่ในบ้าน แม้คุณจะไม่ได้ใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณต้องการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องอยู่คนเดียวตลอดช่วงเทศกาล […]


การจัดการความเครียด

สู้หรือหนี กลไกรับมือความเครียด ที่คุณควรรู้จักให้ดีขึ้น

เวลาต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ตึงเครียด เจอเหตุการณ์อันตราย หรือมีภัยคุกคาม ร่างกายของเราจะรับมือกับสภาวะเหล่านั้นด้วยการตอบสนองแบบ สู้หรือหนี เพื่อความอยู่รอด ว่าแต่การตอบสนองแบบสู้หรือหนีที่ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เราไปหาคำตอบจากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันเลย การตอบสนองโดยการ สู้หรือหนี คืออะไร การตอบสนองโดยการสู้หรือหนี (Fight-or-Flight Response) หรือที่เรียกว่า การตอบสนองต่อความเครียดแบบฉับพลัน (Acute Stress Response) เป็นปฏิกิริยาทางสีรระ หรือการตอบสนองทางร่างกาย (Physiological Response) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวทางกายหรือทางจิตใจ ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อสมองหลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและเตรียมพร้อมที่จะสู้ หรือหนีเอาตัวรอดจากสถานการณ์เหล่านั้น ตัวอย่างสถานการณ์ที่ร่างกายมักตอบสนองด้วยสภาวะสู้หรือหนี เช่น การเหยียบเบรก เพราะรถคันหน้าหยุดกะทันหัน ออกไปเดินเล่นแล้วเจอสุนัขขู่ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะ สู้หรือหนี เมื่อต้องเผชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นทันที (Acute Stress) สมองของเราจะหลั่งฮอร์โมนบางชนิดออกมากระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System; SNS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System; ANS) มีหน้าที่ตอบสนองหรือรับมือกับความเครียด หรือที่เรียกว่า ภาวะสู้หรือหนี นั่นเอง หลังจากระบบซิมพาเทติกทำงาน ต่อมหมวกไตจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนในกลุ่มแคททีโคลามีน (Catecholamines) อย่างนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และเอพิเนฟริน (Epinephrine) หรือที่เรียกว่าอะดรีนาลีน (Adrenaline) […]


การจัดการความเครียด

รู้หรือไม่? การ สวดมนต์ มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

การ สวดมนต์ ถือว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาหลักธรรมในรูปแบบของการสวดมนต์ นอกจากนี้เสียงที่เปล่งออกมาขณะนั่งสวดมนต์ยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย แต่จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ ค่ะ สวดมนต์ พุทธคุณบำบัดจิตใจ  การ สวดมนต์ ในทางศาสนพุทธ  หรือทางภาษาธรรมที่เรียกว่า พุทธวจนะ คือการสวดมนต์เพื่อถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเราสวดมนต์เป็นประจำทุกวันเช้า-เย็น ไม่เพียงแต่ส่งผลดีทางด้านสุขภาพจิตใจ แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายอีกด้วย  อย่างไรก็ตาม การสวดมนต์ของทุกศาสนา ถือได้ว่าเป็นการประกอบพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่ในสมัยบรรพบุรุษสืบเนื่องต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน  โดยอานิสงส์ของการสวดมนต์นั้นไม่ว่าจะในศาสนาไหนก็ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ เช่น ฝึกสมาธิ บำรุงสุขภาพหัวใจ ปรับสมดุลระบบการหายใจ  ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความเศร้า ช่วยส่งเสริมสภาพจิตใจ เป็นต้น  สวดมนต์บำบัดสุขภาพกาย-สุขภาพใจ ดร.นพ.ธวัชชัย อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การสวดมนต์นั้น ถือเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่จะบำบัดโรคได้  ซึ่งการสวดมนต์นั้นไม่ได้เพียงแต่จะช่วยบำบัดทางด้านสุขภาพใจแต่ยังบำบัดทางด้านสุขภาพกายได้เป็นอย่างดี   การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy เป็นการใช้คุณสมบัติของคลื่นเสียงบางคลื่นที่มีความสม่ำเสมอมาบำบัดความเจ็บป่วย หากสวดมนต์ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีคุณสมบัติ ช่วยควบคุมความหิว ควบคุมอารมณ์   อย่างไรก็ตาม ได้มีผลการศึกษา การวิจัยที่ระบุว่า หลักการของ Vibrational Therapy ในการสวดมนต์ สามารถช่วยบำบัดสุขภาพได้เป็นที่น่าพอใจ เช่น […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อยู่คนเดียว สร้างความสุขให้กับชีวิตได้อย่างไร

การอยู่คนเดียว มีข้อดีมากมายอาจส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต เนื่องจากอาจช่วยเพิ่มสมาธิ ทำให้จดจ่อกับสิ่งที่ทำมากขึ้น รวมถึงได้เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ อย่างอิสระ และอาจทำให้เห็นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ที่ควรรักษาไว้ การใช้ชีวิตคนเดียวบ้างจึงอาจช่วยเพิ่มความสุขให้กับชีวิตมากขึ้น อยู่คนเดียว คืออะไร การอยู่คนเดียว ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรู้สึกเหงาเสมอไป มีผลการศึกษาวิจัยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายที่ระบุว่า การใช้เวลาคุณภาพ (Quality Time) ตามลำพังในระยะเวลาที่เหมาะสม จัดเป็นการมีสุขภาวะที่ดีเช่นกัน ซึ่งคำว่า สุขภาวะ (Well-Being) ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก (WHO) หมายถึง ไม่ใช่เฉพาะความไม่พิการและไม่เป็นโรคเท่านั้น ยังหมายถึงสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม อีกทั้งนักวิจัยยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ยิ่งทำกิจกรรมนั้น ๆ ตามลำพัง โดยปราศจากสิ่งรบกวน ความคิดเห็น หรืออิทธิพลจากบุคคลอื่น ก็ยิ่งจะดีต่อสุขภาพของมากขึ้นไปอีก ในทางตรงกันข้าม คนที่มีโลกส่วนตัวสูง ก็ไม่จำเป็นต้องอยู่คนเดียวตลอดเวลา แต่ควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือเข้าสังคมบ้าง สิ่งสำคัญคือ การอยู่คนเดียวไม่ได้เท่ากับความเหงา เนื่องจากความเหงา หมายถึง การต้องอยู่โดดเดี่ยว หรือแยกตัวออกไปอยู่ลำพัง ทั้งที่ใจจริงอยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ส่วนการอยู่คนเดียว หมายถึง การใช้เวลาอยู่กับตัวเองตามลำพัง แต่ก็ยังมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วย ไม่ได้ตัดขาดจากสังคม ข้อดีของการอยู่คนเดียว งานวิจัยหลายชิ้นเผยว่า การตัดขาดจากสังคม หรืออยู่สันโดษนานเกินไปสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ แต่หากใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำพังบ้างเป็นครั้งคราว […]


โรควิตกกังวล

โรคแพนิค คือ อะไร รับมืออย่างไร

โรคแพนิค คือ โรคที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้จากความกลัว ความวิตกกังวล และความเครียดต่าง ๆ  โดยเฉพาะเมื่ออาการแพนิคกำเริบ จะทำอะไรไม่ถูก เหงื่อออก หนาวสั่น หัวใจเต้นแรง มักเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย หรือเจอคนแปลกหน้า หรือสถานที่ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกในทางลบ [embed-health-tool-bmi]  โรคแพนิค คือ อะไร โรคแพนิค (Panic) คือ ความรู้สึกตื่นตระหนก ความหวาดกลัวที่มักจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ แต่อาจจะมีความรุนแรง เมื่อโรคแพนิคกำเริบมักจะทำให้มีอาการ ดังนี้ รู้สึกกลัว เหงื่อออก หนาวสั่น หัวใจเต้นแรง ตัวสั่น เวียนหัว หายใจลำบาก รู้สึกปวดหัวและเจ็บที่หน้าอก อาการเหล่าที่แสดงออกมาเหล่านี้ เป็นการตอบสนองของร่างกายเมื่อรู้สึกกลัว ซึ่งสร้างความรู้สึกไม่สบายใจและทุกข์ใจเป็นอย่างมาก บางครั้งอาจไม่มีการดูแลอย่างถูกต้อง หรือผู้ที่อาการแพนิคกำเริบที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายหรือเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ได้ วิธีรับมือ โรคแพนิค คือ  เมื่ออาการแพนิคกำเริบมักจะทำให้ผู้ที่อาการกำเริบรู้สึกกระวนกระวายใจ กลัว ตื่นตระหนก จนบางครั้งทำอะไรไม่ถูก สำหรับผู้ที่มีคนใกล้ตัวมีอาการแพนิคกำเริบคุณสามารถช่วยบรรเทาอาการตื่นตระหนกและช่วยทำให้เขาดีขึ้นได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ ช่วยให้เขาใจเย็นลง ส่วนใหญ่แล้วอาการแพนิคมักจะกำเริบภายในเวลา 5-10 นาที ในช่วงเวลานั้นพวกเขามักจะรู้สึกหวาดกลัว สิ่งที่คุณทำได้คือพยายามทำให้เขาใจเย็นลง โดยการพูดอย่างใจเย็น และควรใช้น้ำเสียงที่ฟังแล้วช่วยให้เขาสบายใจขึ้น ที่สำคัญต้องพูดให้เขามั่นใจว่าคุณจะยังอยู่ข้าง ๆ ไม่ไปไหนและคอยปลอบว่าเขาจะปลอดภัยดี […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)

กลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder /Social Phobia)  ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยมักมีอาการประหม่า เหงื่ออกตามมือ วิตกกังวล เมื่อต้องเข้าสังคม คำจำกัดความกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia) คืออะไร โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)  ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ป่วยมักมีอาการประหม่า เหงื่อออกตามมือ เกิดอาการวิตกกังวล เมื่อต้องเข้าสังคม เช่น พูดคุยกับคนแปลกหน้า พูดในที่สาธารณะ รับประทานอาหารต่อหน้าคนอื่น พบบ่อยแค่ไหน                                                   สมาคมโรควิตกกังวลและซึมเศร้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Anxiety and Depression Association of America : ADDA) พบว่า อาการของโรคกลัวการเข้าสังคมอาจเริ่มตั้งแต่อายุ 13 ปี อาการอาการของ โรคการกลัวการเข้าสังคม อาการทั่วไปของ โรคกลัวการเข้าสังคม แบ่งออกเป็นทางด้านร่างกาย และทางด้านอารมณ์ โดยมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ อาการแสดงออกทางร่างกาย หน้าแดง หัวใจเต้นเร็ว ตัวสั่น […]


การจัดการความเครียด

ความสัมพันธ์กับอาหาร เมื่อความรู้สึก อาหารและสุขภาพล้วนสัมพันธ์กัน

ความสัมพันธ์กับอาหาร ก็เปรียบเสมือนความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นความแบบเพื่อน ความสัมพันธ์แบบคนรัก ที่จะต้องใช้เวลาจึงจะดีขึ้นได้ หลาย ๆ คนอาจจะงงว่าความสัมพันธ์กับอาหารคืออะไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับอาหารมาให้อ่านกัน ความสัมพันธ์กับอาหาร คืออะไร ความสัมพันธ์กับอาหารเป็นเรื่องของการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งความสัมพันธ์กับอาหารที่ดีนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่เราไม่กำหนดหรือบังคับการรับประทานอาหารของตนเองมากจนเกินไป และเป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่นอกจากดีต่อใจแล้วยังต้องดีต่อสุขภาพอีกด้วย ที่สำคัญคุณจะต้องไม่รู้สึกผิดเมื่อรับประทานอาหารเหล่านั้นเข้าไปแล้ว ความสัมพันธ์กับอาหารนั้นไม่ได้แตกต่างจากความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น ๆ เลย เป็นความสัมพันธ์ที่ต้องใช้เวลาจึงจะดีขึ้นได้ ความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพหรือประเภทของอาหารที่รับประทาน แต่ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานอาหารอย่างไร และเหตุผลที่เลือกรับประทานมากกว่า ดังนั้น หากคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารก็จะช่วยให้รู้สึกไม่เครียด ไม่กังวลเมื่อรับประทานอาหาร สัญญาณที่บ่งบอกว่า ความสัมพันธ์กับอาหาร ของคุณไม่ดี การจะเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารได้ อันดับแรกคุณจะต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่เรียกว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับอาหาร เพื่อที่จะได้เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอาหารได้อย่างถูกต้อง สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับอาหาร รู้สึกผิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงหรือจำกัดอาหารที่ไม่รู้สึกว่า ‘ไม่ดีต่อสุขภาพ’ มีกฎในการรับประทานอาหาร เช่น รายการที่ห้ามกินเด็ดขาด กังวลกับแคลอรี่ที่รับประทานมากเกินไป ปล่อยให้ร่างกายหิว โดยที่ไม่รับประทานอาหาร กังวลหรือมีความกลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร สร้างความสัมพันธ์กับอาหาร ให้ดีขึ้นด้วยวิธีเหล่านี้ อนุญาตให้ตัวเองรับประทานอาหารโดยไม่มีเงื่อนไข สำหรับบางคนที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก อาจสร้างเงื่อนไขในการรับประทานอาหารให้ตัวเอง เช่น เมื่อรับประทานมื้อกลางวันมาก ก็เลือกที่จะงดมื้อเย็น แม้ว่าร่างกายจะหิวขนาดไหนก็ตาม ซึ่งการสร้างเงื่อนไขในรูปแบบเช่นนี้ ถือว่าไม่ถูกต้องนัก หากร่างกายหิวก็ควรรับประทาน เพราะอาหารแต่ละมื้อมีความสำคัญในแบบที่แตกต่างกันออกไป หยุดโทษตัวเอง บางครั้งหมูกระทะ ไอศกรีม หรือขนมหวาน ก็ยั่วยวนใจจนเราไม่สามารถอดใจที่จะไม่กินได้ แต่พอกินเข้าไปก็โทษตัวเองอยู่บ่อย ๆ ว่าไม่ควรรับประทานอาหารเหล่านี้ เพราะมันจะทำให้อ้วนและไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งการโทษตัวเองจะยิ่งทำให้เกิดความเครียด และวิตกกังวล ที่สำคัญจะยิ่งทำให้เราไม่มีความสุข รับประทานเมื่อหิว โดยธรรมชาติแล้วร่างกายจะบ่งบอกเมื่อเรารู้สึกหิว […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม