สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

สำรวจ สุขภาพจิต

ความผิดปกติทางอารมณ์

รู้สึกกลัว ใจหวิว ไร้สาเหตุ คุณเป็น โรคแพนิค หรือเปล่า

หากคุณมีอาการใจสั่น กลัวเหตุการณ์บางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถห้ามตัวเองได้ แถมยังรู้สึกทรมานมากขึ้นด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคแพนิค (Panic Disorder)” แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะโรคนี้รักษาได้ โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร ถ้าใครไม่รู้จักโรคนี้ฟังอาการดูแล้ว อาจจะรู้สึกแปลกนิดหน่อย แต่สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ อาการเหล่านี้น่ากลัวไม่ใช่น้อยเลย อาการที่ว่าคือ อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ตัวสั่น รู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจขัดข้อง ไม่สบายท้อง ปั่นป่วนในท้อง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อาการเกิดขึ้นประมาณ 15-20 นาทีแล้วค่อย ๆ หายไป เกิดความกังวลว่าตนเองกำลังจะเป็นอะไรไปรึเปล่า บางคนรู้สึกเหมือนว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บางคนอาจจะคิดว่าตนเองกำลังมีอาการของโรคหัวใจ และกำลังจะตายรึเปล่า บางคนอาจพยายามโทรหาคนที่ใกล้ชิด เพื่อให้พาไปโรงพยาบาล แต่พอไปถึงโรงพยาบาล แพทย์ตรวจดูกลับไม่พบความผิดปกติอะไร หัวใจเต้นเป็นปกติดี ยิ่งทำให้งงไปกันใหญ่ว่าเกิดอะไรขึ้น พอกลับบ้านมาไม่กี่วันก็มีอาการแบบเดิมอีก บางคนไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะมีอาการขึ้นมาอีก แล้วถ้าเป็นอะไรไปจะไม่มีใครช่วยได้ อาการแบบนี้จริง ๆ แล้วสามารถพบได้ในหลายโรค เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคไมเกรน โรคลมชักบางประเภท และสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้สารบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการเช่นนี้ ซึ่งสารกระตุ้นที่พบบ่อยก็คือ คาเฟอีน แต่ถ้าตรวจไม่พบอาการผิดปกติจากโรคเหล่านี้ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ความก้าวร้าว อาจเป็นเรื่องดีได้ ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์

เด็กคนนี้ก้าวร้าว เด็กคนนี้ไม่น่ารัก ตั้งแต่เด็กเราโดนปลูกฝังมาตลอดว่าความก้าวร้าวคือผู้ร้าย ความก้าวร้าวคือสิ่งผิด และความก้าวร้าวคือสิ่งที่ต้องเก็บไว้ให้มิด ถ้าไม่อยากให้ใครว่าเป็นเด็กไม่ดี แต่ใครจะรู้ว่าความก้าวร้าวนี่แหละที่มีส่วนทำให้เราเติบโตขึ้นมาเป็นเราที่เข้มแข็ง และสามารถยืนหยัดได้อย่างแข็งแกร่ง มาทำความรู้จักกับอีกด้านของ ความก้าวร้าว ผู้ต้องหาวายร้าย ในทางสร้างสรรค์ ความก้าวร้าว คืออะไร  ในทางจิตวิทยานั้น แรงขับก้าวร้าว (Aggressive drive) เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต เพราะทำหน้าที่พื้นฐานทางชีววิทยา ในการสงวนและดำรงไว้ซึ่งชีวิตของบุคคลและเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ ไม่แตกต่างจากสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual instinct) ความก้าวร้าวก็เหมือนกับคอเลสเตอรอลในร่างกายของคนเรา ซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี ความก้าวร้าวแบบที่ดีสามารถเป็นแรงกระตุ้นให้เราประสบความสำเร็จในบางอย่างได้ อย่างเช่นนนักกีฬา ที่ความก้าวร้าวเป็นแรงขับชั้นดีที่ทำให้เกิดความอยากเอาชนะ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการแข่งขัน ความก้าวร้าวยังกระตุ้นการป้องกันตัวเอง เป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีแรงขับที่จะเอาตัวรอด ความก้าวร้าวจึงไม่ใช่สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องกำจัดออกไปจากชีวิต และยิ่งเราหาทางเก็บกดความก้าวร้าวนั้นเอาไว้ กลไกทางจิตใจจะแสดงออกมาในรูปแบบของการทำร้ายตนลายตนเอง เช่น อาการซึมเศร้า หรืออาการทางร่างกายอื่นๆ แต่ความก้าวร้าวก็มีหลายระดับ ในแบบที่สุดโต่งของความก้าวร้าวก็คือ  “ความรุนแรง” ซึ่งเป็นความต้องการที่จะ “ทำลาย” ผู้อื่น ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งทางพันธุกรรม สัญชาตญาณมนุษย์ และทางสังคม  บุคคล เป็นบุคลิกภาพที่มีผลจากทั้งพันธุกรรมและประสบการณ์ในชีวิตที่ก่อให้เกิดผลต่อบุคลิกภาพ เช่น การตั้งครรภ์ การคลอดน้ำหนักแรกเกิดต่ำ  การเลี้ยงดู ระดับสติปัญญา การศึกษา เคยเห็นคนถูกทำร้าย เคยทำร้ายตัวเอง มีความภูมิใจในตัวเองต่ำ ใช้สุราและสารเสพติด  ครอบครัว เป็นประสบการณ์ที่มาจากการเรียนรู้ตั้งแต่เกิด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ไม่คิดมากก็เครียดได้ ถ้าเฉียดไปใกล้ สถานที่ก่อความเครียด พวกนี้!

ความเครียด เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเคยเจอ แต่เราอาจไม่เคยเฉลียวใจเลยก็ได้ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ความคิดที่วนเวียนในหัวเราจะก่อให้เกิดความเครียด แต่สถานที่ซึ่งเราคลุกคลีมาตลอดชีวิตอาจเป็นต้นเหตุความเครียดของเราก็ได้ มาเช็คลิสต์ สถานที่ก่อความเครียด ซึ่งอาจเป็นสถานท่ชี่งคุณโปรดปรานก็เป็นได้ พร้อมคำแนะนำทำอย่างไรให้หายเครียด  คุณเครียดแค่ไหน? แม้ความเครียดจะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ผู้ที่มีอาการเครียดอย่างต่อเนื่องและยาวนาน อาจนำมาสู่โรคร้ายอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด นอกจากนั้นความเครียดทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานลดลง ลองมาเช็คตัวเองดูว่าเรามีความเครียดในระดับไหน ที่อาจเป้นอันตรายแล้วหรือยัง ความเครียดในระดับต่ำ เป็นความเครียดเล็กน้อย และหายไปได้ระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีผลคุกคามการดำเนินชีวิต เนื่องจากร่างกายสามารถปรับตัวได้ ความเครียดในระดับปานกลาง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือต้องพบเจอกับบางเหตุการณ์ในสังคม ที่ส่งผลต่อความวิตกกังวล ความกลัว หรืออาการอื่น ความเครียดในระดับนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไปไม่รุนแรงจนเกิดอันตรายแก่ร่างกาย ความเครียดในระดับสูง เป็นความเครียดที่เกิดจากการพบบางเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดสูง ไม่สารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งความเครียดในระดับนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่หากไม่ได้รับการบรรเทาความเครียดอาจทำให้เป็นโรคเครียดเรื้อรัง หรือโรคอื่นได้  ความเครียดในระดับรุนแรง เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีความล้มเหลวในการปรับตัวจนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคอื่นตามมาได้ง่าย สัญญาณเตือนความเครียดในระดับสูง ปวดศีรษะในวันหยุด คุณหมอจากศูนย์อาการปวดศีรษะแห่งมหาวิทยาลัยชิงตัน คาดว่าอาการปวดศีรษะในวันหยุดมาจากความเครียดจากวันทำงานที่เราไม่รู้ตัว ปวดท้องประจำเดือน ศูนย์วิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ต พบว่าความเครียดทำให้การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน และผู้ที่เครียดมักมีอาการปวดท้องประจำเดือนมากเป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่เครียด เจ็บเหงือกโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากการนอนกัดฟันเพราะผู้ที่เครียดมักชอบนอนกัดฟัน ฝันแปลกๆ อาจารย์วิชาจิตวิทยาแห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยรัช พบว่าทั่วไปแล้วความฝันของคนเรามีแนวโน้มจะเป็นฝันดี ก่อความสุขสดชื่นยามตื่นให้เสมอแต่หากเกิดความเครียด คนเรามักจินตนาการทางลบและกลายเป็นฝันร้ายในที่สุด  สถานที่ก่อความเครียด ที่ควรระวัง บ้าน ใครจะคิดว่าบ้านที่เราอยู่อาศัยตั้งแต่เด็กจนแก่จะเป็นสถานที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ เนื่องจากครอบครัวของไทยมักนิยมอาศัยอยู่แบบครอบครัวใหญ่ที่ประกอบด้วยคนหลายช่วงวัย โดยคนแต่ละช่วงวัยจะมีความเครียดจากเรื่องที่แตกต่างกัน วัยเด็ก จะถูกเร่งรัดเรื่องการศึกษา เครียดจาการรับสื่อที่มีจากหลากหลายช่องทาง และพบว่าเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่แตกแยก […]


การเสพติด

ฟุตบอลกำลังฮิต แต่ที่ติดน่ะ ติดพนัน บอลกันอยู่หรือเปล่า?

คุณอาจคิดว่าการซื้อหวยเพื่อการลุ้นเล็กๆ น้อยๆ การตั้งวงเล่นป๊อกเด้งกับเพื่อน หรือพนันฟุตบอลคู่โปรดติดปลายนวม เป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง แต่หากปล่อยตัวปล่อยใจให้เพลิดเพลินไปกับการพนันบ่อยๆ เข้า คุณก็เสี่ยงที่จะกลายเป็น โรคติดพนัน ที่ทำร้ายทั้งตัวเองและคนที่คุณรักได้ โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้ การติดพนันบอล กำลังเป็นรูปแบบการพนันที่กำลังแพร่หลายและส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เผื่อว่าคนใกล้ตัวหรือแม้แต่ตัวคุณเอง อาจจะกำลังมีความเสี่ยงอยู่ โรคติดพนัน เป็นอย่างไร การพนันอาจทำให้เรารู้สึกสนุกกับการลุ้นความเสี่ยง หรือเพื่อหลีกหนีจากปัญหามรสุมในชีวิต แต่รู้หรือไม่ว่า การพนัน ไม่ได้สร้างปัญหาสังคมและปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ อารมณ์ พฤติกรรมความรุนแรง จนไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขได้ โดยสมาคมแพทย์อเมริกาได้ระบุให้ โรคติดพนัน เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 เป็นภาวะความผิดปกติทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่ส่งผลต่อการสั่งงานของสมองในส่วนของการให้รางวัล ที่รวมพนันทุกชนิด ไม่เว้นแต่ พนันบอล คู่ที่เตะเมื่อคืน ปัญหาดังกล่าวต้องรับการรักษา ก่อนจะส่งผลบานปลายจนชีวิตต้องพังเหมือนที่เขาว่า ไฟไหม้บ้านสิบครั้งไม่เท่ากับเล่นการพนันครั้งเดียว  สาเหตุของการติดพนัน หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอาการติดพนันเกิดจากอะไร เป็นเพียงความอยากที่นึกขึ้นได้เองหรือไม่ แท้ที่จริงแล้วมีหลากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่สัมพันธ์กัน ก่อให้เกิดอาการติดพนัน พันธุกรรม มีการศึกษาที่ระบุว่าผู้ป่วยที่ติดการพนันมักมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สามารถกล่าวได้ว่าการป่วยติดพนันสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานได้นั่นเอง  สังคมและสิ่งแวดล้อม บ้าน ชุมชน สภาพแวดล้อมรอบบ้านที่เป็นแหล่งการพนัน หรือ พ่อ แม่ เพื่อนฝูงที่ชื่นชอบการเล่นพนันเป็นเครื่องมือชั้นดีในการกะตุ้นให้มีพฤติกรรมติดการพนัน  สิ่งยั่วยุ โดยเฉพาะจากสื่อโซเชียลมีเดียที่ทำให้การเข้าถึงการพนันเป็นไปได้โดยง่ายดาย ทำให้คนมีแนวโน้มเริ่มเล่นการพนัน และเล่นมากขึ้นในผู้ที่เล่นพนันอยู่แล้ว  ระบบสารเคมีในสมองผิดปกติ เกิดการหลั่งสารโดพามีนในสมองมาก ซึ่งเป็นสารที่ทำให้บุคคลรู้สึกตื่นเต้น เป็นสุข […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงถ้าคุณกำลัง รับมือกับ โรคซึมเศร้า

อาหาร นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า หลายคนเมื่อรู้สึกเศร้าเสียใจ ก็มักจะหันไประบายอารมณ์ด้วยการหาของอร่อยมากินให้สบายปากสบายท้อง โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่า จริงๆ แล้ว ผู้ป่วย โรคซึมเศร้า นั้นก็มี อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อยู่ด้วยเช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหากเป็นโรคซึมเศร้า เพื่อการรับมือกับโรคนี้อย่างถูกต้อง อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หากคุณเป็น โรคซึมเศร้า กาแฟหรือคาเฟอีน ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า ที่จะงดดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลม แต่การงดดื่มอะไรพวกนี้จะช่วยผู้มีปัญหาเรื่องโรคซึมเศร้าได้อย่างแน่นอน เนื่องจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Psychiatry ระบุว่า 80% ของผู้ป่วยจิตเวช และ 22% ของผู้มีอาการซึมเศร้าบอกว่า พวกเขาดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างหนักเลย นอกจากนี้ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังระบุด้วยว่า 22% ของคนที่กินหรือดื่มอะไรที่มีคาเฟอีนในปริมาณสูง ก็มักจะเกิดอาการซึมเศร้าหรือหวาดวิตกมากกว่าผู้ที่ไม่ได้กิน ซึ่งนั่นทำให้ทีมนักวิจัยสรุปได้ว่า คาเฟอีนมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือหวาดวิตกได้ ฉะนั้นถ้าใครรู้ตัวว่ามีอาการซึมเศร้าหรือหวาดวิตกได้ง่าย ก็ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรืออย่างน้อยๆ ก็ดื่มให้น้อยลง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุณอาจคิดว่าการดื่มไวน์ซักแก้วนึง หรือเหล้าค็อกเทลซักแก้วสองแก้ว ในระหว่างที่ออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆ จะช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้นได้เวลาที่รู้สึกหมองหม่นอยู่ แต่จริงๆแล้วคุณควรใช้วิธีอื่นจะดีกว่า เพราะตามข้อมูลของ WebMD ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทางการแพทย์ชื่อดังระบุว่า การดื่มแอลกอฮอล์กับอาการซึมเศร้านั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมาก แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ซึมเศร้า เมื่อเพื่อนมีอาการของโรคนี้…นี่คือวิธีช่วยเหลือกัน

ซึมเศร้า เป็นหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้า และในทุกๆ วันที่เราจะต้องเจอกับเรื่องสับสนวุ่นวายมากมาย ทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัว หน้าที่การงาน หรือแม้แต่เรื่องราวในสื่อโซเชียล บางครั้งเราก็ต้องพบเจอกับอะไรที่เจ็บปวดหรือเศร้าโศก ซึ่งคนเราจะมีวิธีจัดการกับความเศร้าแตกต่างกันไป บางคนก็สามารถผ่านเรื่องเลวร้ายไปได้ง่ายๆ แต่สำหรับบางคน ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องเศร้าที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจจนยากที่จะสลัดออกไปได้ ถ้าเพื่อนมีอาการของโรค ซึมเศร้า เราจะรับมืออย่างไรดี การที่มีเพื่อน คนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า ก็นับเป็นเรื่องที่ทำให้เรามีความทุกข์ได้เหมือนกัน ที่ต้องเห็นพวกเขาต้องจมอยู่กับความเศร้าโศกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าคุณเห็นพวกเขาตกอยู่ในความมืดมน และไร้ความหวังขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ลองหยิบยื่นความช่วยเหลือให้คนที่คุณรักด้วยวิธีพวกนี้ดูนะ รับฟังเรื่องราว คุณควรทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี โดยแสดงออกมาให้เขาเห็นว่าคุณพร้อมที่จะช่วยเหลือ โดยไม่ไปตัดสินเรื่องราวที่เขาพบเจอ บางครั้งการแสดงความช่วยเหลือแบบนี้ก็เป็นอะไรที่เขาอยากได้ ซึ่งถึงแม้คุณจะช่วยแก้ปัญหาให้เขาไม่ได้ แต่อย่างน้อยเขาก็รับรู้ได้ว่ามีคุณอยู่ข้างๆ และคอยให้ความช่วยเหลือเขาเสมอ การฟังเรื่องราวที่เขาระบายออกมานับว่ามีความสำคัญมาก ไม่ว่าเรื่องราวนั้นจะเล็กน้อยขนาดไหน คุณก็ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก พร้อมทั้งออกความคิดเห็นบ้างตามสมควร คุณควรทำให้เขารับรู้ได้ว่า คุณพร้อมที่จะฟังเรื่องราวของเขาเสมอ อย่าตำหนิ ระวังคำพูดของคุณเอาไว้ให้ดี อย่าไปตำหนิเข้าในทำนองว่า “เหลวไหลน่า” หรือ “คุณคิดแบบนั้นได้ยังไงเนี่ย” พวกเขามีเหตุผลที่จะรู้สึกอย่างนั้น ไม่ว่าเหตุผลนั้นจะฟังขึ้นสำหรับคุณหรือไม่ก็ตาม เวลาที่เขาเปิดอกคุยกับกับคุณนั้น ก็อย่าไปเล่นกับความรู้สึกของเขา ให้กำลังใจหรือปล่อยคำพูดที่ฟังแล้วรู้สึกดีออกไปจะดีกว่า อย่าไปตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด นี่เป็นอะไรที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของเขามาก เพราะเวลาที่ใครกำลังรู้สึกท้อแท้หรือสิ้นหวัง แล้วมีใครไปตัดสินความรู้สึกเขาอีก เขาก็อาจจะรู้เหมือนว่าตัวเอง ‘ไม่ปกติ‘ ได้ การไปตัดสินอะไรเค้ามีแต่จะทำให้เรื่องเลวร้ายเข้าไปกันใหญ่ ฉะนั้นเพื่อจะทำให้เขารับรู้ได้ว่าคุณพร้อมจะยืนเคียงข้างและให้ความช่วยเหลือ คุณก็ต้องเปิดใจให้กว้างเข้าไว้ ความคิดเห็นอะไรที่ฟังดูแรงๆ ก็ควรจะเก็บเอาไว้กับคุณคนเดียว ช่วยเขาให้อยู่ในมือผู้เชี่ยวชาญ ไม่มีอะไรที่ต้องอับอายในการพาเขาไปพบกับผู้เชี่ยวชาญ ถ้าคุณสังเกตเห็นเพื่อนหยุดทำกิจกรรมที่เคยทำ ก็ควรเสนอแนะแนวทางนี้ให้เขาซะ เพราะนั่นคือหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า […]


โรควิตกกังวล

จิตตก เพราะโซเชียลมีเดีย วิธีเหล่านี้ช่วยให้ดีขึ้นได้

จิตตก เป็นความรู้สึกแย่ หดหู่ กังวล เศร้า หลายครั้งอาการเหล่านี้ก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ปนเปกันจนเราไม่อาจรู้ได้ว่าตกลงเราเป็นอะไร รู้สึกอะไรอยู่กันแน่ ซึ่งก็อาจจะมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนเรารู้สึกจิตตกคือ การใช้โซเชียลมีเดีย หากสงสัย และอยากรู้ว่าโซเชียลมีเดียจะทำให้เรา จิตตก ได้อย่างไร ตาม Hello คุณหมอไปดูกันเลยค่ะ คุณมีอาการ จิตตก แบบนี้บ้างหรือเปล่า รู้สึกแย่ และไม่พอใจในตัวเอง รู้สึกเศร้าเพราะเรามันไร้ค่า รู้สึกอิจฉาที่คนอื่นเขามีชีวิตดีกว่า รู้สึกอยากร้องไห้ ทำอย่างไรชีวิตก็ไม่ดีขึ้น รู้สึกกดดันเพราะเราไม่มีอะไรดีเลย หากกำลังรู้สึกแบบนี้ แสดงว่าคุณกำลังมีอาการจิตตกอยู่ อาการจิตตกคือความรู้สึกแย่ หดหู่ กังวล เศร้า เหงา หรืออะไรๆ ก็ ‘ไม่ดี’ ไปหมด สาเหตุที่ทำให้คนเราจิตตกเพราะเรารู้สึกไม่พอใจ หรือรู้สึกผิดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้น หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนในยุคปัจจุบันรู้สึกจิตตกคือการใช้โซเชียลมีเดีย สาเหตุที่ทำให้จิตตก ในปัจจุบันผู้คนใช้เวลาไปกับโซเชียลมีเดียทั้งในโทรศัพท์มือถือและในคอมพิวเตอร์ จากข้อมูลทางสถิติพบว่า คนไทยใช้เวลาในการเล่นโซเชียลมีเดียโดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 10 นาทีต่อวัน โดยโซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ Facebook รองลงมาคือ YouTube, Line, Instagram และ Twitter ตามลำดับ ผลการสำรวจจาก Pew Research Center พบว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ประจำเดือนไม่ปกติ สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า

ประจำเดือนไม่มา ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับใคร หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ จากที่เคยมา 3-7 วัน กลับเหลือแค่วันเดียว หรือประจำเดือนมาๆ หายๆ เป็นเวลาหลายสัปดาห์ แน่นอนว่าสาเหตุที่ทำให้ ประจำเดือนไม่ปกติ นั้นเกิดจากฮอร์โมน และหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้การทำงานของฮอร์โมนในร่างกายของสาวๆ ผิดปกติ อาจเป็นเพราะ โรคซึมเศร้าก็เป็นได้ [embed-health-tool-ovulation] ฮอร์โมนเพศหญิงกับโรคซึมเศร้า ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่มีอยู่ในเพศหญิงและเพศชาย แต่จะมีในเพศหญิงมากกว่า ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะมีเฉพาะในเพศหญิง เพราะเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนและภาวะไข่ตก โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะมีบทบาทสำคัญเวลาที่สาวๆ มีประจำเดือน ช่วงก่อนมีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง ทำให้สาวๆ หลายคนรู้สึกอ่อนแอ ป่วยง่าย หน้าโทรม ร่างกายอ่อนเพลีย จากนั้นไม่นานฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มขึ้น ก่อนจะลดลงอีกครั้งในช่วงไข่ตก หลังจากนั้นทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ในระดับปกติ ยิ่งในช่วง 2-3 วันก่อนมีประจำเดือน สาวๆ อาจมีอาการหิวบ่อย เต้านมคัด ก็เนื่องมาจากระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้ลดต่ำลงเช่นกัน การขึ้นๆ ลงๆ ของฮอร์โมนเพศหญิงก่อนมีประจำเดือนนี้ จะเกิดขึ้นเป็นปกติ ตั้งแต่ที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน แต่ถ้าสาวๆ เป็นโรคซึมเศร้า ฮอร์โมนในร่างกายก็จะทำงานผิดปกติ เช่น ระดับเอสโตรเจนต่ำตลอดเวลา ทำให้ประจำเดือนไม่ปกติ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เครียดจากงาน ระวัง! จะลุกลามเป็นโรคอื่นที่รุนแรง

ทุกคนย่อมมีวันแย่ ๆ กันทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติหากจะรู้สึกเครียดบ้างในที่ทำงาน โดยเฉพาะตอนนี้มีงานที่ต้องทำให้ทันเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม หากคุณมีวันแย่บ่อย ๆ หรือแค่คิดว่าต้องกลับไปทำงานก็แย่อยู่แล้ว คุณอาจกำลังทุกข์ทรมานกับความ เครียดจากงาน ก็เป็นได้ คำว่า “ความเครียด” ถูกใช้ครั้งแรกโดย ฮานส์ เซลย์ (Hans Selye) ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อชาวฮังการี หลังจากที่ฝึกงานด้านการแพทย์เสร็จในปี 1920 เขาเสนอว่า คำว่า “ความเครียด” เป็นอาการเครียดทางร่างกายประเภทหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย อันเป็นผลมาจากการปล่อยฮอร์โมนเครียดภายในร่างกาย (เซลย์, 1977) ความเครียดจากทำงาน หรือเครียดงาน (Work Stress) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานหนักเกินความสามารถและเกินที่จะทน ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนที่งานที่อยู่ภายใต้ภาวะเครียดเท่านั้น ความเครียดจากงานยังทำให้ผลิตภาพขององค์กรลดลงอีกด้วย ตัวกระตุ้นความเครียดจากงาน ตัวกระตุ้นความเครียดจากงานที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารงานไม่ดี งานหนัก สภาพที่ทำงาน ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน การไม่ได้รับความช่วยเหลือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายผู้บริหาร การทำงานไม่ตรงกับหน้าที่ ภาวะบาดเจ็บ ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง ระยะเวลาในการส่งงานที่กระชั้น มีการกำกับงานจากหัวหน้างานมากเกิน เครื่องมือและทรัพยากรอำนวยความสะดวกในการทำงานไม่เพียงพอ โอกาสในการเลื่อนขั้นมีน้อยมาก การข่มขู่ คุกคาม หากแบ่งตัวกระตุ้นความเครียดจากงานตามปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านองค์กร จะแบ่งได้ดังนี้ ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ทักษะในการทำงานของแต่ละคน สุขภาพด้านจิตวิทยา สุขภาพร่างกาย กลไกการรับมือกับความเครียด ปัจจัยด้านองค์กร เช่น คำสั่งจากฝ่ายบริหาร วัฒนธรรมองค์กร ชั่วโมงทำงาน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเองและองค์กรด้วยเช่นกัน สัญญาณความ เครียดจากงาน ที่เห็นได้ในที่ทำงาน มีความขัดแย้งภายในกลุ่ม พนักงานลาออกบ่อยมาก พนักงานร้องเรียนบ่อยมาก พนักงานลาป่วยบ่อยขึ้น ผลการปฏิบัติงานของพนักงานลดลง ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับผลผลิต การหาพนักงานใหม่ ๆ มาทดแทนก็ยากขึ้น วิธีสังเกตภาวะเครียดจากงานในตัวเอง รู้สึกหดหู่ หรือมีแต่ความคิดแง่ลบ แต่ละคนแสดงความรู้สึกหดหู่ หรือความคิดแง่ลบเพราะเครียดจากงานไม่เหมือนกัน บางคนอาจรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตัวเองเมื่อไม่สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย […]


สุขภาพจิต

จิตแพทย์ งานที่มากกว่าการรักษาและบำบัดผู้ป่วยจิตเวช

องค์การอนามัยโลกนิยามความหมายของคำว่า “สุขภาพจิต” ไว้ว่า “สุขภาวะทางสังคม จิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่การไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหรือร่างกายไม่อ่อนแอเท่านั้น” โดยปกติ หากพบว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องอารมณ์ หรือสุขภาพทางจิต ควรต้องไปปรึกษา จิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แต่ปัจจุบันยังมีคนอีกมากมายที่ไม่กล้าเข้าพบจิตแพทย์ เพราะกลัวคนอื่นจะคิดว่าตัวเองเป็นบ้า ดังนั้น Hello คุณหมอจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาชีพจิตแพทย์ให้มากขึ้น เพราะความจริงแล้ว จิตแพทย์ ไม่ใช่แค่รักษาหรือบำบัดคนบ้าอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ [embed-health-tool-heart-rate] จิตแพทย์ คือใคร จิตแพทย์ ตามคำนิยามของแพทยสภา คือ แพทย์ผู้ที่ผ่านการอบรม สอบได้วุฒิบัตร หรืออนุมัติบัตรทางด้านจิตเวช ส่วนความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดงความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ จิตแพทย์มีความเชี่ยวชาญในการรับมือกับโรคหรือปัญหาด้านจิตวิทยา ที่มีปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นองค์ประกอบ เมื่อพูดถึงการรักษาโรค หลายคนยังเข้าใจผิดว่า จิตแพทย์รักษาเฉพาะ “คนบ้า” หรือ “คนสติไม่ดี” เท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช่แบบนั้น เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานกับภาพหลอนต่าง ๆ และเป็นเพียงส่วนน้อยของผู้ป่วยด้านจิตเวช ที่จริงแล้ว คนจำนวนมากมีโรคทางจิตบ้างไม่มากก็น้อยอยู่แล้ว และอาการเหล่านี้ก็สามารถรักษาได้โดยจิตแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเพียงเล็กน้อยสามารถหายได้และไม่กลับมาเป็นอีก หลายคนมักพบจิตแพทย์เวลาที่เจอปัญหาในที่ทำงาน มีปัญหาเรื่องคู่ครองหรือความสัมพันธ์ และแม้แต่มีข้อกังวลเกี่ยวกับยา คนไข้เหล่านี้อาจประสบกับอาการต่าง ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม