สุขภาพจิต

เมื่อพูดถึงสุขภาพโดยรวมของคน ๆ หนึ่ง จิตใจ ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้าม ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษา สุขภาพจิต ให้สมบูรณ์แข็งแรง และตระหนักถึงความผิดปกติเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักมีความสุขมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิต

แพนิคคือ อะไร อาการเป็นแบบไหน รักษายังไง

แพนิคคือ ความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออก อ่อนแรง ตัวสั่น หลายคนอาจมีอาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตหลังผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดรุนแรง แต่หากมีอาการแพนิคเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคแพนิคที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ทั้งนี้ หากป่วยเป็นโรคแพนิคควรเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] แพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก จัดเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ประเภทหนึ่ง มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นตอนปลายหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตื่นตระหนกมากกว่าผู้ชาย อาการคือ รู้สึกตื่นตระหนกอย่างฉับพลันซ้ำ ๆ จากความกลัวและความวิตกกังวลในใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มีความกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนขวัญ หรืออาจมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรืออาการแพนิคแอทแทค (Panic attack) เช่น หัวใจเต้นแรง คิดไม่ออก หายใจไม่ออก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อแม้ว่าจะไม่มีอันตรายหรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนก็ตาม โรคแพนิค เกิดจากอะไร ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัดว่าโรคแพนิคมีสาเหตุมาจากอะไร แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสมองและระบบประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับมือความกลัวและความวิตกกังวลทำงานผิดไปจากปกติ ส่งผลให้มีการส่งสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดและกระตุ้นให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงและบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคแพนิคอาจมีดังนี้ ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีประวัติเป็นโรควิตกกังวลมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าคนทั่วไป ภาวะสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล มีความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคและอาการแพนิคแอทแทคมากกว่าปกติ ประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก […]

สำรวจ สุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

วิธีจัดการกับ ความเหงา ก่อนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต

ทุกคนคงเคยรู้สึกเหงาบ้างเป็นบางครั้งบางคราว และหลายคนอาจรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่หรือวันวาเลนไทน์ มีผลสำรวจที่พบว่ามีคนเหงาในช่วงวันหยุดยาวเป็นจำนวนมาก แต่หลายคนกลับไม่รู้ว่าต้องจัดการกับ ความเหงา อย่างไร หรือเลือกที่จะไม่พูดถึงความเหงาและความโดดเดี่ยวแล้วความเหงาส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร รวมถึงวิธีรับมือกับความเหงาและความโดดเดี่ยว ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต ความเหงา กับสุขภาพจิต เมื่ออายุมากขึ้น หลายคนคงจินตนาการว่าพวกเขาจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข เพราะรายล้อมไปด้วยเพื่อนฝูงและครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงอายุหลายคนอาศัยอยู่ตามลำพัง เนื่องจากมีรายงานจากสถาบัน The National Council on Aging ว่า ผู้สูงอายุ 1 ใน 6 คนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปอยู่ตามลำพัง และจากการสำรวจในปี 2010 พบว่า 25% ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปบอกว่าพวกเขารู้สึกเหงา นอกจากนี้ สำหรับวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่น ก็มีงานวิจัยที่ชี้ว่าระดับความเหงาที่สูงกว่า สัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้า (Depression) ที่มากกว่า และความสัมพันธ์ระหว่างความเหงากับภาวะซึมเศร้ายังคงมีอยู่ตลอดชีวิต ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว สามารถใช้วิธีเหล่านี้เพื่อจัดการกับความเหงาได้ดังนี้ วิธีจัดการกับความเหงา 1. ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัว เพียงแค่การโทรหา หรือวิดีโอคอลกับเพื่อนและครอบครัวก็อาจช่วยบรรเทาความเหงาได้แล้ว นอกจากนี้ คุณอาจชวนเพื่อนหรือครอบครัวไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ออกกำลังกาย หรือเดินเล่นในสวนสาธารณะ ที่นอกจากจะได้จัดการกับความเหงาแล้วยังทำให้สุขภาพดีขึ้นอีกด้วย 2. […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เช็คด่วน อาการแบบนี้อาจเป็นโรคซึมเศร้าไม่รู้ตัว

สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า เช่น การร้องไห้ การขาดความสนใจในสิ่งที่ทำ หรือถึงขั้นคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย ถือเป็นสัญญาณและอาการของโรคซึมเศร้า (Depression) ที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณแปลกๆ ที่อาจหมายถึงโรคซึมเศร้า ดังต่อไปนี้ สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า ทำงานหนักเป็นพิเศษ หรือการบ้างาน ผู้ที่ซึมเศร้าบางคนอาจกลายเป็นคนบ้างาน หรือทำงานอย่างหนัก เนื่องจากมีงานวิจัยหลายงานวิจัยที่รายงานความเชื่อมโยงระหว่างความกังวล โรคซึมเศร้า และการบ้างาน (workaholism) มากไปกว่านั้นยังมีข้อมูลที่พบว่า การทำงานอย่างหนัก (ในบางกรณี) พัฒนาเป็นความพยายามที่จะลดความรู้สึกไม่สบายใจ ที่เกิดจากความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หลายคนอาจดีใจที่น้ำหนักตัวลดลง แต่การที่น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าได้ ถ้าคุณพบว่าตัวเองไม่ได้กินอาหาร 3 มื้อต่อวัน หรือกินอาหารเพียง 1-2 ครั้งต่อวันโดยไม่ทราบสาเหตุ (หรือในทางตรงกันข้ามคือ กินมากผิดปกติจนน้ำหนักขึ้น) นั่นอาจหมายถึงโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้าสามารถทำให้ความอยากอาหารลดลง อารมณ์เสียง่าย อาการของโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยคือ รู้สึกเศร้าอย่างรุนแรง แต่นอกจากความรู้สึกเศร้าแล้ว ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลายคนสามารถแสดงพฤติกรรม เช่น โมโหง่าย เกรี้ยวกราด ความอดทนต่ำ และตะคอกใส่ผู้อื่น ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ไม่ได้มีแค่ในผู้ชายหรือวัยรุ่น แต่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย หากคุณมีอาการหงุดหงิดง่าย ดุด่าคนอื่นบ่อย โดยไม่มีสาเหตุ อาจหมายถึงสัญญาณของโรคซึมเศร้า เบื่อหน่าย หนึ่งในอาการที่พบบ่อยของโรคซึมเศร้าคือ ขาดความสนใจในสิ่งที่ทำ หรือรู้สึกไม่มีชีวิตชีวา และเรามักจะมุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกเศร้าและการสูญเสีย แต่แท้จริงแล้วสัญญาณของโรคซึมเศร้าอีกแบบหนึ่งคือ ความรู้สึกเบื่อหน่ายแบบเดิมๆ ถ้าคุณรู้สึกว่าทุกๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปวดเรื้อรังกับโรคซึมเศร้า เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่คุณคิด

เวลาที่คนเราป่วย โรคภัยไข้เจ็บแต่ละโรคมักมีอาการร่วม และสามารถนำไปสู่โรคอื่นๆ ได้ไม่ยาก ไม่แปลกที่เมื่อคุณมีปัญหาสุขภาพกาย ปัญหาสุขภาพจิตหรืออารมณ์ก็อาจตามมา ยกตัวอย่างภาวะหรือโรคที่พบเจอกันได้บ่อย อย่างอาการ ปวดเรื้อรังกับโรคซึมเศร้า ที่หลายๆ อาจยังไม่รู้ว่าทั้งสองโรคนี้เกี่ยวข้องกัน แต่จะเกี่ยวข้องกันอย่างไร Hello คุณหมอมี ข้อมูลมาแบ่งปัน ดังต่อไปนี้ ทำความรู้จักกับอาการปวดเรื้อรัง อาการปวดเรื้อรัง หรือความปวดเรื้อรัง (Chronic pain) เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 เดือน โดยอาจปวดเป็นพักๆ หรือปวดต่อเนื่องก็ได้ อาการปวดเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่อาจเกิดจากเพราะปัญหาสุขภาพ หรือโรคภัยไข้เจ็บ เช่น เส้นประสาทถูกทำลาย โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน อาการปวดเรื้อรังที่พบได้บ่อยๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง อาการปวดจากโรคมะเร็ง อาการปวดจากโรคข้ออักเสบ อาการปวดที่เกิดจากสภาพจิตใจ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ แต่ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ หรือมีน้ำหนักตัวเกินก็เสี่ยงมีอาการนี้ได้เช่นกัน โรคซึมเศร้า… โรคทางอารมณ์ โรคซึมเศร้า (Depression) คือ ความผิดปกติทางอารมณ์ ที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการ เช่น เศร้า เสียใจ หมดสนุกกับกิจกรรมที่เคยโปรดปราน น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

รับมือกับโรคซึมเศร้า ไม่ยากอย่างที่คิด!

โรคซึมเศร้าเป็นอาการผิดปกติทางอารมณ์ที่สามารถส่งผลต่อการคิด ความรู้สึก และกิจกรรมประจำวันของคุณได้ คุณอาจรู้สึกลำบากใจ ที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือผู้เชี่ยวชาญ ต่อไปนี้ เป็นเคล็ดลับที่ได้ผลและปลอดภัย เพื่อช่วยให้คุณ รับมือกับโรคซึมเศร้า ของคุณได้ เคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา การออกกำลังกายที่เหมาะสม มักส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเสมอ เมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจไม่ชื่นชอบกิจกรรมที่เคยสนุกสนานมาก่อน คุณอาจคิดว่า คุณจะไม่ชอบกิจกรรมอื่นๆ อย่างไรก็ดี คุณสามารถค่อยๆ ทำให้กิจกรรมต่างๆ กลายเป็นเรื่องสนุกสนานได้ บันทึกกิจกรรมที่คุณเคยสนใจมาก่อนเป็นโรคซึมเศร้า คุณคิดว่าคุณจะชื่นชอบกิจกรรมดังกล่าวได้อีกหรือไม่ คุณสามารถเริ่มทำกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมในแต่ละวัน แล้วเพิ่มระยะเวลาในการทำกิจกรรมดังกล่าว หลังจากทำกิจกรรมแล้ว คุณควรบันทึกหรือพูดคุยกับผู้อื่น เกี่ยวกับสิ่งที่คุณชื่นชอบในกิจกรรมดังกล่าว คุณสามารถแบ่งปันความสนุกสนานกับพวกเข้าได้ พยายามรักษาความกระฉับกระเฉงเอาไว้ สุขภาพของคุณจะดีขึ้น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ คิดบวก เมื่อคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณมักคิดในเชิงลบ ความคิดในเชิงลบเหล่านั้น สามารถส่งผลให้โรคซึมเศร้ามีอาการแย่ลง และทำให้อารมณ์ไม่ดีมากขึ้น ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการคิดบวก หาสาเหตุของการคิดในทางลบ คุณควรหาสาเหตุเกี่ยวกับงาน การเรียน หรือชีวิตประจำวัน ที่ทำให้คุณคิดในทางลบ และหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว สังเกตความคิดของตัวเอง คุณควรหยุดพักสักครู่ แล้วสังเกตความคิดของตัวเอง หากความคิดของคุณเกือบจะเป็นไปในทางลบ ให้หยุดความคิดดังกล่าว และเปลี่ยนให้เป็นความคิดในทางบวก ยิ้มให้บ่อยขึ้น คุณอาจหาเรื่องตลกหรือเรื่องขำขันมาดู หรือให้มีอารมณ์ขบขันในเรื่องราวประจำวัน สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้คุณหัวเราะได้มากขึ้น อยู่ใกล้กับคนคิดบวก ให้ระลึกไว้ว่า อารมณ์ดีๆ สามารถส่งต่อหากันได้ ความคิดของคุณอาจได้รับผลจากความคิดของผู้อื่น ตั้งเป้าหมายในชีวิตประจำวัน เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจรู้สึกว่าคุณไม่สามารถทำสิ่งใดๆ ได้ คุณมักคิดว่าคุณไร้ค่า ให้ระลึกไว้ว่าไม่มีใครที่ไม่มีค่า คุณสามารถ รับมือกับโรคซึมเศร้า […]


การจัดการความเครียด

เครียดลงกระเพาะ คืออะไรและเราจะรับมืออย่างไรให้ได้ผล

ความเครียดสามารถส่งผลต่อร่างกายได้หลายอย่าง และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยที่สุดก็คือ อาการเกี่ยวกับท้องไส้ของคุณ อย่างเช่น คลื่นไส้ ท้องอืด หรือปวดท้องบ่อยๆ อย่างที่ชอบเรียกกันว่า เครียดลงกระเพาะ จริงๆ แล้วอาการนี้เป็นอย่างไร และเราจะรับมือกับมันได้อย่างไร Hello คุณหมอมีคำตอบมาให้แล้ว เครียดลงกระเพาะ คืออะไร เครียดลงกระเพาะ (Nervous stomach) ไม่ถือเป็นอาการที่เป็นทางการหรือสามารถวินิจฉัยได้ และไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “โรค” แพทย์บางคนอาจใช้ภาวะเครียดลงกระเพาะ เพื่ออธิบายอาการอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ วิตกกังวล ท้องอืด หรือการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกรณีที่การตรวจวินิจฉัยไม่สามารถระบุอย่างเจาะจงได้ว่า เกิดจากสาเหตุใด โดยเครียดลงกระเพาะ อาจมีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกแน่นท้อง ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดเกร็งท้อง รู้สึกกระวนกระวาย หรือวิตกกังวล ตัวสั่น หรือกล้ามเนื้อกระตุก ท้องอืดบ่อย ไม่สบายท้อง หรือคลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย หรืออิ่มเร็วเวลากินอาหาร ปัสสาวะหรืออุจจาระมากขึ้น เกิดจากสาเหตุใด อาการเครียดลงกระเพาะ โดยส่วนใหญ่ก็เกิดจากความเครียด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเนื่องจากสมองกับลำไส้จะเชื่อมต่อกันผ่านเส้นประสาทเวกัส (vagus nerve) ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยเส้นประสาทเวกัสจะส่งสัญญาณจากสมองไปที่ลำไส้ หรือจากลำไส้ไปยังสมอง ส่งผลให้กรดในกระเพาะหลั่งมากผิดปกติ กระเพาะลำไส้บีบตัวผิดปกติ จนเกิดอาการปวดมวนท้อง ความระคายเคืองที่ระบบย่อยอาหาร และเกิดความผิดปกติ บรรเทาอาการอย่างไร หลีกเลี่ยงคาเฟอีน โดยเฉพาะในกาแฟ คาเฟอีนในกาแฟสามารถทำให้อาการวิตกกังวลแย่ลง และกระตุ้นลำไส้ ดังนั้น ถ้าอาการเครียดลงกระเพาะยังไม่หายดี ควรเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีนอื่นๆ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

โรคเกลียดเสียง เมื่อเสียงทำให้คุณรู้สึกคลุ้มคลั่ง! โรคนี้มีอยู่จริง!

คุณเคยเห็นคนที่รู้สึกตื่นกลัว เมื่อได้ยินเสียงเล็บกรีดลงบนกระดานบ้างไหม อาการนั้นอาจเป็นอาการที่เรียกว่า โรคเกลียดเสียง หรือมิโซโฟเนีย (Misophonia) โรคเกลียดเสียงเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีเสียงบางอย่าง ซึ่งทำให้คนเรารู้สึกเกลียดอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงรู้จักกันอีกอย่างในฐานะของกลุ่มอาการที่ไวต่อการรับรู้ของเสียงบางอย่าง อาการของ โรคเกลียดเสียง เป็นอย่างไร อาการของโรคเกลียดเสียงนั้น โดยปกติแล้วจะเกิดจากสิ่งเร้า ซึ่งมีหลากหลายอย่าง อาจเป็นเสียงที่คนทำ หรือจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ บางอย่าง ดังนั้น แม้แต่เสียงเคี้ยว หาว ผิวปาก หายใจ ต่างก็สามารถกระตุ้นอาการโรคเกลียดเสียงได้ทั้งสิ้น อาการของโรคเกลียดเสียง ในกรณีที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจเกิดอาการดังต่อไปนี้ วิตกกังวล อึดอัด รู้สึกไม่สบาย อยากหลีกหนี เกิดความรู้สึกรังเกียจ ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีอาการดังต่อไปนี้ เกรี้ยวกราด เกลียดหรือโกรธ ตื่นตระหนกหรือกลัว อารมณ์ตึงเครียด มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะหยุดต้นตอของเสียง อาการคันยุบยิบใต้ผิวหนัง อยากฆ่าตัวตาย โรคเกลียดเสียงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีความสุขกับชีวิตได้อย่างเต็มที่ อาจจะทำให้ไม่สามารถกินข้าวร่วมกับผู้อื่น หรือแม้แต่กับคู่ครอง เพื่อน และครอบครัว บางครั้งผู้ป่วยอาจทำร้ายผู้ที่ทำให้เกิดเสียง ไม่ว่าจะทางวาจาหรือทางร่างกาย เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้าทางการมองเห็น เพียงแค่การเห็นคนกำลังรับประทานอาหาร ก็อาจกระตุ้นความหงุดหงิดได้ สาเหตุของโรคเกลียดเสียง แพทย์ยังหาสาเหตุของโรคเกลียดเสียงไม่ได้ แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากปัญหาทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ซึ่งเกี่ยวกับการที่เสียงส่งผลต่อสมอง และทำให้ร่างกายตอบสนองต่อเสียงที่เข้ามากระตุ้น มีแพทย์บางคนคิดว่า โรคเกลียดเสียงนี้จัดเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ โรคเกลียดเสียงเป็นภาวะที่เกิดขึ้นไปตลอดชีวิต โรคนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงอายุระหว่าง 9 ถึง 13 ปี โดยปกติแล้ว ผู้หญิงมีแนวโน้มในการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย การวินิจฉัยโรคเกลียดเสียงยังคงเป็นคำถาม ในบางกรณี แพทย์อาจวินิจฉัยผิดพลาด และสันนิษฐานว่าเป็นโรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้วหรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ รวมไปถึงโรคย้ำคิดย้ำทำ จัดการกับชีวิตอย่างไรดี..หากเป็นโรคเกลียดเสียง การจัดการกับโรคเกลียดเสียงมีความยากลำบาก แต่ก็มีวิธีการดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยอาจเข้ารับการบำบัดทางเสียง ร่วมกับการให้คำแนะนำเชิงจิตวิทยา แพทย์อาจใช้เสียงบางอย่าง […]


การเสพติด

เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome)

คำจำกัดความเซโรโทนิน ซินโดรม คืออะไร เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อให้เซลล์สมองและเซลล์ระบบประสาทอื่นๆ ได้สื่อสารซึ่งกันและกันได้ เชื่อกันว่าเซโรโทนินในปริมาณที่น้อยเกินไปในสมอง จะมีบทบาทให้เกิดโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ดี เซโรโทนินในปริมาณที่มากเกินไปในสมอง สามารถก่อให้เกิดการทำงานของเซลล์ประสาทที่มากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมของอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ที่เรียกว่า เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome) เซโรโทนิน ซินโดรม พบได้บ่อยเพียงใด เซโรโทนิน ซินโดรมเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะกับยารักษาโรคซึมเศร้า แต่สำหรับความถี่ในการพบโรคนี้นั้น โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการเซโรโทนิน ซินโดรมมีอะไรบ้าง อาการทั่วไปของเซโรโทนิน ซินโดรม ได้แก่ อาการมึนงง กระสับกระส่ายหรือกระวนกระวาย รูม่านตาขยาย ปวดศีรษะ ความเปลี่ยนแปลงของความดันเลือดและ/หรืออุณหภูมิร่างกาย คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน ท้องร่วง อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว มีอาการสั่น สูญเสียการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อกระตุก มีอาการสั่นและขนลุก มีเหงื่อออกมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เซโรโทนิน ซินโดรมสามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ หากคุณมีอาการใด ๆ เหล่านี้ คุณหรือคนใกล้ตัวควรไปพบหมอโดยทันที มีไข้สูง มีอาการชัก หัวใจเต้นผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณสงสัยว่าอาจมีอาการเซเรโทนิน ซินโดรมหลังจากเริ่มใช้ยาตัวใหม่หรือเพิ่มขนาดยาที่คุณใช้อยู่ ให้แจ้งแพทย์ทันที หรือไปยังห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล หากคุณมีอาการที่รุนแรงหรือแย่ลงอย่างรวดเร็ว ให้เข้ารับการรักษาฉุกเฉินโดยทันที สาเหตุเซโรโทนิน ซินโดรม เกิดจากอะไร เซโรโทนิน ซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังใช้ยาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยารักษาโรคซึมเศร้า ที่ส่งผลต่อระดับเซโรโทนินในร่างกาย ความเสี่ยงมากที่สุดของเซโรโทนิน ซินโดรมเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังใช้ยาสองชนิด หรือมากกว่า และ/หรืออาหารเสริมร่วมกัน ที่ส่งผลต่อเซเรโทนิน ภาวะดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้มากกว่า หากคุณเริ่มใช้ยาเป็นครั้งแรกหรือเพิ่มขนาดยา ประเภทของยารักษาโรคซึมเศร้าที่แพทย์มักสั่งมากที่สุด […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

หัวใจสลาย เพราะอกหัก คุณไม่ได้คิดไปเองหรอกนะ!!

ทำไมการอกหักถึงทำให้เราเจ็บปวด หากใครเคยผ่านช่วงเวลาที่ความรักทำร้าย ไม่ได้ทำให้หัวใจเราเปี่ยมไปด้วยความสุข ก็คงเข้าใจดีว่ามันรู้สึกหดหู ผิดหวัง เศร้าเสียใจขนาดไหน ยิ่งเวลาความผิดหวังเข้ามาแทนที่แบบไม่ทันตั้งตัว ยิ่งทำให้เราเสียใจมากไปอีก จนถึงขั้นเหมือน หัวใจสลาย อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกจากหัวใจเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับร่างกายจริง ๆ !! ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Broken Heart Syndrome หรือ “โรคหัวใจสลาย” ที่อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นชั่วคราวได้เลย จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ ทำไม อกหัก แล้วถึงรู้สึกเจ็บปวด เมื่อคุณตกหลุมรักใครสักคน สมองจะผลิตสารเคมีต่างๆ เช่น เฟนิลเลไธลามีน (Phenylethylamine) โดพามีน (Dopamine) เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ออกมา สารเคมีเหล่านี้ทำให้เรามีความสุข รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัว ร่าเริง แต่เมื่อเรา อกหัก สมองก็จะสั่งการให้หยุดหลั่งสารพวกนั้นออกมาอย่างเฉียบพลัน ทำให้เรารู้สึกเศร้า ห่อเหี่ยว ไม่อยากทำอะไร หมดเรี่ยวแรง เพราะอยู่ ๆ สารเคมีในร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นในร่างกาย นอกจากนี้ เมื่อ […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ออกกำลังกายบรรเทาโรคซึมเศร้า เริ่มต้นได้ด้วยวิธีเหล่านี้

ออกกำลังกายบรรเทาโรคซึมเศร้า ได้หรือไม่ มีงานวิจัยที่ชี้ว่า เราสามารถบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลได้ด้วยการ ออกกำลังกาย ซึ่งมีข้อมูลดังต่อไปนี้ ออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การออกกำลังกายช่วยป้องกันและทำให้ปัญหาสุขภาพหลายๆ อย่างดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไขข้อ มีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายทั้งในด้านร่างกายและจิตใจมีผลช่วยให้มีอารมณ์ที่ดีขึ้น และยังสามารถลดความวิตกกังวลได้อีกด้วย นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างเป็นประจำยังมีแนวโน้มที่จะป้องกัน การกลับมามีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ ออกกำลังกายบรรเทาโรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวลได้อย่างไร การออกกำลังกายช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ ดังนี้ การออกกำลังกายช่วยให้ร่างการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (endorphins) ซึ่งเป็นสารประกอบเปปไทด์ ซึ่งหลั่งออกมาจากระบบประสาทส่วนกลางและต่อมใต้สมอง สารเอนดอร์ฟินมักจะหลั่งเมื่อเราทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ขณะฟังดนตรี ขณะกินอาหาร ขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่การหัวเราะ ก็ช่วยให้เอนดอร์ฟินหลั่งได้ ซึ่งสารเอนดอร์ฟินจะช่วยให้เรารู้สึกดี มีความสุขอยู่ตลอด ช่วยให้จิตใจของเราไม่ฟุ้งซ่าน  เนื่องจากการที่เราจดจ่ออยู่กับการออกกำลังกาย หมายความว่า เราจะไม่วอกแวกหรือนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้ เพิ่มความมั่นใจ การที่เราสามารถบรรลุเป้าหมายในการออกกำลังกาย ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเป้าหมายเล็กๆ แต่มันก็สามารทำให้เรามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ การมีรูปร่างที่ดีเพราะออกกำลังกาย ยังทำให้เรามั่นใจในรูปร่างของตัวเองด้วย มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้น  การออกกำลังกายอาจทำให้คุณมีโอกาสได้พบปะหรือสังสรรค์กับผู้อื่น ที่สนใจในสิ่งเดียวกันมากขึ้น เพียงแค่การยิ้มให้กันหรือทักทายกันเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยให้คุณมีอารมณ์ที่ดีขึ้นได้แล้ว เป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพ  การจัดการกับโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล ด้วยวิธีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างการออกกำลังกาย ถือเป็นกลยุทธ์การรับมือกับปัญหาสุขภาพที่ดี แต่การพยายามที่จะทำให้ตนเองรู้สึกดีด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหวังว่าอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลเหล่านั้นจะหายไป วิธีเช่นนี้กลับเป็นวิธีที่ทำให้เรามีอาการแย่ลงไปอีก ออกกำลังกายมากแค่ไหนถึงจะเพียงพอ ? การออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีต่อวันเป็นเวลา 3 ถึง […]


ความสัมพันธ์ที่ดี

กอดเติมพลัง ชาร์ตแบตให้ใจและกายให้เต็มร้อย

ประโยชน์ของการกอด ในช่วงเวลาที่เรารู้สึกเหนื่อย หรือว่าเศร้าใจ สามารถช่วยเป็นกำลังใจที่ดีได้ในยามท้อแท้ การได้อ้อมกอดดีๆ จากคนที่เรารัก มันช่างเติมเต็มหัวใจให้มีความสุขขึ้นมาก เรียกได้ว่าการกอดเป็นการแสดงความรักที่เปรียบเสมือนยาวิเศษ ช่วยทำให้อบอุ่นหัวใจ การกอดนอกจากจะช่วยรักษาในเรื่องของจิตใจ อารมณ์ของเราแล้ว ประโยชน์ของการกอด ยังส่งผลต่อสุขภาพของเราในด้านอื่นๆ อีกด้วย Hello คุณหมอ อยากชวนทุกคนมารู้ ประโยชน์ ของการกอดกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] พลังแห่งการกอด การกอด เราสามารถเรียกมันว่า “พลัง” ได้จริงๆ เพราะขณะที่ร่างกายเรากำลังหมดเรี่ยวแรง เมื่อได้กอดดีๆ มาเติมเต็มก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนชาร์ตแบตให้เต็มอีกครั้ง เพราะการกอดเป็นการสัมผัสที่ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด ช่วยให้เกิดความผูกพันธ์ รู้สึกถึงความมั่นคง ความปลอยภัยทางอารมณ์ เมื่อมีการสัมผัสไม่ว่าจะเป็นการจับมือ การกอด เราจะรับรู้ถึงความรู้สึกนั้น และร่างกายก็จะมีการตอบสนอง สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะผลิตสารเคมีที่เรียกว่าออกซิโทซิน (Oxytocin) หรือ ฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมอง เมื่อมันเข้าสู่ร่างกาย เราจะรู้สึกอบอุ่น รู้สึกดี หลังจากกอดพลังการกอดก็จะยังคงอบอวลอยู่กับเรา เพราะออกซิโทซินจะช่วยก่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ การถูกเอาใจใส่และความสงบ นอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำให้การลำเลียงของออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายดีขึ้น ผลที่ตามมาคือร่างกายจะกระปรี้กระเปร่าและแข็งแรง สุขภาพดีขึ้น ช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า ลดความเครียด ประโยชน์ของการกอด ลดความรู้สึกโดดเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุหรือคนป่วยที่มีความเปราะบาง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม