โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

อาหารแคลอรี่ต่ำ มีอะไรบ้าง ดีต่อสุขภาพอย่างไร

อาหารแคลอรี่ต่ำ คืออาหารจำพวกผักและผลไม้ เช่น แอปเปิล มะละกอ หน่อไม้ฝรั่ง แครอท แตงกวา หัวหอม นิยมบริโภคในผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก เป็นโรคบางชนิดที่ต้องจำกัดพลังงานที่ร่างกายได้รับในแต่ละวัน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] แคลอรี่คืออะไร แคลอรี่ (Calorie) หรือกิโลแคลอรี่ (Kilocalorie) เป็นหน่วยวัดของจำนวนพลังงานที่ร่างกายจะได้รับเมื่อบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มแต่ละชนิด โดยทั่วไป จำนวนพลังงานที่จะได้จากอาหารหรือเครื่องดื่มมักระบุบนบรรจุภัณฑ์ในหน่วยแคลอรี่หรือกิโลแคลอรี่ อย่างไรก็ตาม บางผลิตภัณฑ์อาจระบุระดับพลังงานในหน่วยกิโลจูล (Kilojoule หรือ KJ) ซึ่ง 4.184 กิโลจูลเท่ากับ 1 กิโลแคลอรี่ ทั้งนี้ ผู้ชายควรได้รับพลังงานจากอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 2,500 แคลอรี่/วัน ส่วนผู้หญิงควรได้รับประมาณ 2,000 แคลอรี่/วัน อาหารแคลอรี่ต่ำ มีอะไรบ้าง ตัวอย่าง อาหารแคลอรี่ต่ำ อาจมีดังนี้ ฝักชีฝรั่ง 100 กรัม ให้พลังงาน 14 แคลอรี่ แตงกวา 100 กรัม ให้พลังงาน 15 แคลอรี่ มะเขือเทศ 100 กรัม ให้พลังงาน […]


โภชนาการพิเศษ

เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร และควรกินอะไร

โรคเก๊าท์ เป็นภาวะข้ออักเสบรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากมีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ โดยทั่วไป โรคเก๊าท์รักษาได้ด้วยการรับประทานยาตามคุณหมอสั่ง ร่วมกับการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสม ถ้าเป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร คำตอบคือ ควรงดอาหารทะเล เนื้อแดง สัตว์ปีก และเครื่องในสัตว์ เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารพิวรีน (Purine) ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วมักทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์ หรือทำให้โรคเก๊าท์กำเริบได้ [embed-health-tool-bmr] โรคเก๊าท์ คืออะไร โรคเก๊าท์ หรือโรคเกาต์ เป็นภาวะข้ออักเสบที่มักพบในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มีสาเหตุมาจากระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ โดยร่างกายจะได้รับกรดยูริกจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิวรีนเป็นส่วนประกอบ เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ จะมีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อนิ้วเท้า ข้อเท้า ข้อศอก หรือหัวเข่า ซึ่งมักส่งผลให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ อาจบรรเทาอาการของโรคเก๊าท์ให้ดีขึ้นได้ด้วยการรับประทานยา ร่วมกับการเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้เหมาะสม เป็น โรคเก๊าท์ ห้ามกินอะไร เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ได้แก่ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยและปลาน้ำลึกอย่างแซลมอน ทูน่า ปลากะพง เนื้อแดง สัตว์ปีก และเครื่องในสัตว์ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ เหล้า ไวน์ เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารพิวรีนในปริมาณมากจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบได้ งานวิจัยหนึ่ง เรื่องการบริโภคอาหารที่มีสารพิวรีนสูงต่ออาการเก๊าท์กำเริบ เผยแพร่ในวารสาร Annals of the Rheumatic Diseases […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารขยะ มีอะไรบ้าง ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

อาหารขยะ หรือ จังก์ฟู้ด (Junk food) หมายถึง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน น้ำตาล เกลือ อย่างมันฝรั่งทอดกรอบ เค้ก ขนมหวาน หรือเครื่องดื่มเติมน้ำตาล มักส่งผลเสียต่อสุขภาพและก่อให้เกิดโรคได้หากบริโภคในปริมาณมาก เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า [embed-health-tool-bmi] อาหารขยะ คืออะไร อาหารขยะ หมายถึง อาหารที่ให้คุณค่าสารอาหารน้อยแต่ให้แคลอรี่สูง โดยมีส่วนประกอบอย่างเกลือ น้ำตาล หรือไขมันชนิดไม่ดี หากบริโภคเป็นประจำอาจทำให้สุขภาพแย่ลงและเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาได้ อาหารที่จัดว่าเป็นอาหารขยะ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ เฟรนช์ฟราย เค้ก คุกกี้ บิสกิต ช็อกโกแลต ขนมหวาน ลูกอม น้ำอัดลม ป๊อปคอร์น และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ผสมน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง ทำไมคนส่วนมากจึงชอบบริโภคอาหารขยะ อาหารขยะมักมีรสชาติอร่อยเนื่องจากประกอบไปด้วยส่วนผสมหรือเครื่องปรุงรสหลากชนิดที่ให้รสชาติทั้งเค็ม หวาน มัน และการบริโภคของอร่อยอย่างอาหารขยะยังทำให้สมองหลั่งสารโดพามีน (Dopamine) หรือสารแห่งความสุขออกมา สร้างความพึงพอใจระหว่างที่บริโภคในแต่ละครั้ง ทำให้เกิดความต้องการบริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารลดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด เกิดจากร่างกายคุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจรับมือได้ด้วยการเลือกรับประทาน อาหาร ลด เบาหวาน ขณะ ตั้ง ครรภ์ เช่น อาหารที่มีโปรตีนไขมันต่ำ ผักและผลไม้ไม่มีแป้ง อาหารที่มีไขมันดี รวมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ ให้ส่งเสริมสุขภาพยิ่งขึ้น เช่น ขยับร่างกายหรือออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ [embed-health-tool-bmi] เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุ เกิดจากอะไร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 24-32 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากหญิงตั้งครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปจนนำไปสู่โรคเบาหวาน แม้โดยทั่วไประดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงเป็นปกติหลังคลอด แต่โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในช่วงหลังคลอดหรือในอนาคตได้ จึงควรไปตรวจสุขภาพตามคำแนะนำของคุณหมอเป็นระยะ ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีดังนี้ มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน เคยคลอดทารกน้ำหนัก 4.5 กิโลกรัมขึ้นไป เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน มีคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม หากผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่และเด็กในครรภ์ได้ ดังนี้ ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวเยอะเกินเกณฑ์ ทารกในครรภ์อาจมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์หรือมากกว่า 4 กิโลกรัมขึ้นไป […]


โภชนาการพิเศษ

โลหิตจาง ห้ามกินอะไรบ้าง และควรกินอะไร

โรคโลหิตจางหรือโรคเลือดจาง (Anemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยเกินไป จึงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ จนส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หน้ามืดบ่อยครั้ง ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยการกินอาหารที่เหมาะสม การเรียนรู้ว่า โลหิตจาง ห้ามกินอะไรบ้าง จึงอาจช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น โดยทั่วไป ผู้ป่วยโลหิตจางควรเลี่ยงการกินอาหารที่อาจลดประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่างนม โยเกิร์ต ชีส เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเหล้า เบียร์ ไวน์ อาหารที่มีโพลีฟีนอลสูงอย่างชา กาแฟ และกินอาหารที่มีธาตุเหล็กซึ่งช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และอาหารที่มีวิตามินซี เช่น ผลไม้ตระกูลซิตรัสซึ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น โลหิตจาง เกิดจากอะไร โรคโลหิตจาง เกิดจากร่างกายมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติและฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อในร่างกายมีความเข้มข้นน้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เพียงพอ จึงส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะบ่อย หน้ามืด ผิวซีดเซียว โดยทั่วไปมักเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กและสารอาหารอื่น ๆ อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะวิตามินซีที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง อาการของโรคโลหิตจาง อาการของโรคโลหิตจาง อาจมีดังนี้ ผิวซีดหรือผิวดูเหลืองกว่าปกติ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะบ่อย หน้ามืด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย […]


โภชนาการพิเศษ

เลือดจางควรกินอะไร และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นเลือดจาง

โรคเลือดจาง (Anemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ จึงลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกายได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ตัวซีด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และหากรุนแรง อาจต้องให้เลือดแดงทดแทนด้วย ผู้ที่มีภาวะนี้อาจสงสัยว่า เลือดจางควรกินอะไร โดยส่วนใหญ่โรคนี้เกิดจากภาวะขาดธาตุเหล็ก จึงควรกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น พืชตระกูลถั่ว ผักใบเขียว เนื้อแดง ปลา ไข่ นม และอาหารที่มีวิตามินซี เช่น ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้ม มะนาว เกรฟฟรุต ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่ไปกับการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี อาจลดความเสี่ยงในการเกิดอาการของโรคและทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] เลือดจางเกิดจากอะไร โรคเลือดจางหรือโรคโลหิตจาง เป็นโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดแดงและโปรตีนฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ สาเหตุของโรคเลือดจาง อาจแบ่งตามกลไกการเกิดได้ 3 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ โรคเลือดจางจากการสูญเสียเลือด เช่น การเสียเลือดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตร การมีประจำเดือน การเสียเลือดจากโรคทางระบบทางเดินอาหารอย่างริดสีดวง แผลในกระเพาะอาหาร การใช้ยารักษาโรคอย่างแอสไพริน ไอบูโพรเฟน ที่ทำให้มีแผลในกระเพาะอาหาร โรคเลือดจางจากการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง สาเหตุที่พบบ่อย คือ การขาดสารอาหารบางชนิดที่ช่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง […]


โภชนาการพิเศษ

ผอมเกินไป ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ ควรกินอย่างไรเพื่อเพิ่มน้ำหนัก

ผอมเกินไป อาจเป็นปัญหาของใครหลาย ๆ คนที่ส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ ความมั่นใจและสุขภาพร่างกาย ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ปัญหาระบบเผาผลาญ ปัญหาสุขภาพจิต อายุที่มากขึ้น ซึ่งการหันมาจัดการกับโภชนาการอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน รวมถึงการเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาจช่วยเพิ่มน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและอาจช่วยให้มีสุขภาพที่ดีในระยะยาวได้ [embed-health-tool-bmi] ผอมเกินไป เกิดจากอะไร ผู้ที่ผอมเกินไป คือ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมมาก หรือมีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 โดยค่าดัชนีมวลกาย สามารถคำนวณได้โดยนำ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ได้ผลลัพธ์เป็นหน่วย กิโลกรัม/เมตร2 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผอมเกินไป อาจมีดังนี้ กรรมพันธุ์ตั้งแต่กำเนิดจากคนในครอบครัว อาการเบื่ออาหารเนื่องจากความเครียด การเจ็บป่วย หรือการใช้สารเสพติด กินยาที่อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้หรือเบื่ออาหาร ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬามากเกินไป ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) โรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เช่น โรคเซลิแอค (Celiac Disease) โรคโครห์น (Crohn's Disease) ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ […]


โภชนาการพิเศษ

8 วิธี กินยังไงให้อ้วน เพื่อคนผอมที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก

หลายคนอาจมีปัญหาน้ำหนักน้อยหรือผอมจนเกินไป แม้ว่าจะพยายามกินอาหารมากขึ้นแต่ก็ไม่อ้วนขึ้นเลย จนอาจทำให้เสียความมั่นใจในรูปร่างของตัวเอง รวมถึงอาจทำให้เกิดคำถามว่า ควรจะ กินยังไงให้อ้วน และมีสุขภาพดีไปพร้อมกัน โดยการกินให้อ้วนอาจเป็นการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมถึงอาจต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้มีรูปร่างที่สมส่วน สร้างกล้ามเนื้อ และมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว [embed-health-tool-bmi] 8 วิธี กินยังไงให้อ้วน วิธี กินยังไงให้อ้วน เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักโดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม และวิธีดูแลตัวเองเพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนัก มีดังนี้ เพิ่มปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน พลังงานที่ควรได้รับจากการกินอาหารของผู้หญิงและผู้ชายจะอยู่ที่ประมาณ 1,600-2,500 กิโลแคลอรี่/วัน แต่สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยและต้องการเพิ่มน้ำหนัก ควรเพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวัน โดยอาจตั้งเป้าหมายเพื่อเพิ่มพลังงานจากการรับประทานอาหารให้ได้ประมาณ 300-500 กิโลแคลอรี่/วัน เพื่อให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ แต่หากต้องการเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็วควรเพิ่มพลังงานให้ได้ประมาณ 700-1,000 กิโลแคลอรี่/วัน เพิ่มการกินโปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงาน ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งการกินโปรตีนเพิ่มขึ้นอาจมีส่วนช่วยในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในร่างกายและทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น เนื้อปลา อาหารทะเล พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง นม ผลิตภัณฑ์จากนม นอกจากนี้ การออกกำลังกายประเภทแรงต้าน เช่น สควอช (Squat) แพลงก์ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารลดสิว ประกอบด้วยอาหารกลุ่มใดบ้าง

สิว เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเนื่องจากน้ำมันส่วนเกินและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ทำให้ผิวเกิดตุ่มนูน บวม แดง ขึ้นตามใบหน้า แผ่นหลัง หน้าอก การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันและลดสิวนั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการหมั่นทำความสะอาดผิว การล้างหน้าอย่างถูกวิธี การหลีกเลี่ยงแสงแดด รวมทั้งการรับประทาน อาหารลดสิว ซึ่งได้แก่ อาหารที่อุดมไปด้วยโอเมกา 3 หรืออาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี ที่อาจช่วยลดการอักเสบในร่างกาย [embed-health-tool-bmi] สิว เกิดจากอะไร สิว เกิดจากการที่ต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันออกมากเกินไป จนน้ำมันอุดตันในรูขุมขน รวมกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และทำให้เกิดการอักเสบจนเกิดเป็นสิว ซึ่งมักขึ้นตามใบหน้า หน้าอก แผ่นหลัง นอกจากนี้ การบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดสิวได้ เนื่องจากการบริโภคคาร์โบไฮเดรตจะทำให้ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือดได้มากกว่าอาหารกลุ่มอื่น ๆ โดยระดับอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้นจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) และฮอร์โมนอินซูลิน-ไลค์ โกรท แฟคเตอร์ 1 (Insulin-like Growth Factor 1) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ต่อมใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากกว่าเดิม และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นสิว นอกจากนี้ สิวยังเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ อย่างเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรือคูติแบคทีเรียม แอคเน่ (Cutibacterium Acnes) อาหารลดสิว มีอะไรบ้าง การบริโภคอาหารต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันสิว […]


โภชนาการพิเศษ

วิธีแก้แฮงค์ ด้วยอาหารและเครื่องดื่ม มีอะไรบ้าง

แฮงค์ หรือเมาค้าง หมายถึง อาการของร่างกายหลังจากตื่นนอนในเช้าวันรุ่งขึ้นต่อจากคืนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เช่น ปวดหัว กระหายน้ำ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดท้อง ทั้งนี้ วิธีแก้แฮงค์ นั้นมีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำมาก ๆ การรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว หรืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 3 และสังกะสี เช่น อะโวคาโด มันฝรั่ง อย่างไรก็ตาม หากไม่อยากแฮงค์หรือเมาค้าง อาจรับประทานอาหารให้ท้องไม่ว่างก่อนดื่ม ดื่มให้ช้าลง จำกัดปริมาณการดื่ม หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มสีเข้มอย่างบรั่นดี ไวน์แดง วิสกี้ หรือเบอร์เบิน เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] แฮงค์คืออะไร แฮงค์ หรือแฮงค์โอเวอร์ (Hangover) หมายถึง กลุ่มของอาการที่ร่างกายแสดงออกมาในเช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากคืนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป โดยอาการมักแสดงออกดังนี้ เหนื่อยล้า อ่อนแรง กระหายน้ำ ปวดหัว บ้านหมุน ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ปวดท้อง ไวต่อแสงและเสียง วิตกกังวล เหงื่อออก ความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ อาการแฮงค์ของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกายดังต่อไปนี้ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม