สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

วัคซีนบาดทะยัก ผู้ใหญ่ กี่เข็ม และเมื่อไหร่ถึงควรฉีด

เมื่อเกิดแผลบนร่างกายจนเลือดออก หลายคนจะนึกถึง โรคบาดทะยัก โดยเฉพาะตอนที่ถูกของมีคมซึ่งขึ้นสนิมบาดร่างกาย จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ วัคซีนบาดทะยัก เมื่อฉีดให้ผู้ใหญ่ ต้องฉีดวัคซีนกี่เข็ม  [embed-health-tool-bmi] โรคบาดทะยัก คืออะไร โรคบาดทะยัก (Tetanus) จัดว่าเป็นโรคติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ สาเหตุของโรคบาดทะยัก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Clostidium tetani ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะผลิต Exotoxin มีพิษต่อเส้นประสาทซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เกิดเป็นอาการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา อาการเริ่มแรกของโรคบาดทะยัก กล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง จนอ้าปากไม่ได้ โรคบาดทะยัก จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (Lockjaw) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคอแข็ง หลังแข็ง จากนั้นจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว และเสี่ยงต่ออาการชัก เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในรูปแบบของสปอร์ พบได้ในดินตามพื้นหญ้า ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์ และพบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แบ่งตัวและขับ Exotoxin ออกมา โดยเฉพาะในแผลลึกที่เชื้อจะเจริญแบ่งตัวได้ดี  เช่น  บาดแผลจากตะปูตำ  แผลไฟไหม้  แผลจากน้ำร้อนลวก  เกิดผิวหนังถลอกเป็นบริเวณกว้าง  เกิดบาดแผลในปาก ฟันผุ  เชื้อแบคทีเรียเข้าทางหูที่อักเสบ จากการใช้เศษไม้หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อ มาแคะฟันหรือแยงในใบหู อาการของโรคบาดทะยัก ระยะจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ มีอาการคอแข็ง  หลังจากอาการแรก […]

สำรวจ สุขภาพ

การทดสอบทางการแพทย์

ดีซ่าน (Jaundice)

โรค ดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก คำจำกัดความดีซ่าน คืออะไร โรคดีซ่าน (Jaundice หรือ Icterus) เป็นภาวะตกเหลืองบริเวณผิวหนังและตาขาว มีสาเหตุมาจากระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ในเลือดพุ่งสูงมาก บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะกำจัดบิลิรูบินผ่านตับ โดยทั่วไป ตับในเด็กแรกเกิดจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งทำให้บิลิรูบินก่อตัวเร็วกว่าที่ตับจะสามารถกำจัดได้ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับเช่นกัน ดีซ่านพบได้บ่อยแค่ไหน โรคดีซ่านเป็นอาการที่พบได้บ่อย ดีซ่านเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด ดีซ่านมักหายไปเองในเด็กแรกเกิด แต่หากไม่หาย นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการรุนแรงกว่านั้นได้ ซึ่งเราสามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของตัวเอง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรค ดีซ่าน สัญญาณและอาการของภาวะตกเหลืองทางผิวหนังและดวงตาที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภายในช่องปากมีสีเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้มหรือสีน้ำตาล อุจจาระมีสีซีดหรือสีเหมือนโคลน ระดับบิลิรูบินสูง เบื่ออาหาร รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรง สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการ ควรเข้าพบคุณหมอทันที ผิวหนังของลูกเป็นสีเหลืองมากขึ้นเรื่อย ๆ ผิวหนังบริเวณท้อง แขนและขา ดูมีลักษณะออกสีเหลือง ส่วนตาขาวของลูกคุณกลายเป็นสีเหลือง ลูกของคุณดูไม่มีชีวิตชีวา หรือป่วย หรือปลุกแล้วตื่นยาก น้ำหนักของลูกคุณไม่เพิ่มขึ้น หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ลูกของคุณร้องไห้เสียงดังมาก ลูกของคุณมีสัญญาณหรือเกิดอาการใด ๆ ก็ตามที่คุณกังวล โรคดีซ่านเกิดขึ้นต่อเนื่องมานานกว่า 3 สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ ผิวหนังเหลืองอาจเป็นอาการของโรคไตได้ด้วย ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคดีซ่าน ดีซ่านมีสาเหตุการก่อตัวของบิลิรูบินที่เป็นผลผลิตของเซลล์เม็ดเลือดแดง บิลิรูบินก่อตัวขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว ร่างกายมักจะขจัดบิลิรูบินผ่านทางตับ เมื่อตับทำงานผิดปกติ ตับจะไม่สามารถกรองบิลิรูบินออกจากเลือดได้ […]


การทดสอบทางการแพทย์

เอ็มอาร์ไอ หรือเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI)

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย   คำจำกัดความเอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging) หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวินิจฉัยหรือดูว่าคุณตอบสนองต่อการรักษาได้ดีแค่ไหน สิ่งที่ไม่เหมือนกับการเอ็กซ์เรย์และ CT สแกน ก็คือ เอ็มอาร์ไอจะไม่ใช้รังสี ทำไมถึงต้องตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ เอ็มอาร์ไอช่วยหมอในการวินิจฉัยโรคหรืออาการบาดเจ็บ และมันสามารถสังเกตการณ์ได้ว่าคุณรับมือกับการรักษาได้ดีแค่ไหน เอ็มอาร์ไอสามารถสแกนส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลายส่วน การทำเอ็มอาร์ไอบริเวณสมองและไขสันหลัง เป็นการสแกนเพื่อหาอาการหรือโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ ความเสียหายของหลอดเลือด การบาดเจ็บทางสมอง มะเร็ง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosi) การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง เส้นเลือดในสมองแตก การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณหัวใจและหลอดเลือด เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ หลอดเลือดอุดตัน ความเสียหายที่เกิดจากอาการหัวใจวาย โรคหัวใจ ปัญหาโครงสร้างหัวใจ การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณกระดูกและข้อต่อ เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่ การติดเชื้อที่กระดูก มะเร็ง ความเสียหายบริเวณข้อต่อ ปัญหาหมอนรองกระดูกที่สันหลัง การสแกนเอ็มอาร์ไปยังสามารถช่วยเช็คสุขภาพของอวัยวะเหล่านี้ ได้แก่ หน้าอก (ผู้หญิง) ตับ ไต รังไข่ (ผู้หญิง) ตับอ่อน ต่อมลูกหมาก (ผู้ชาย) การสแกนเอ็มอาร์ไปชนิดพิเศษเรียกว่าการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ของร่างกาย (functioal MRI – fMRI) การตรวจนี้จะดูการไหลเวียนของเลือดในสมองของคุณ เพื่อดูว่าบริเวณไหนที่เกิดการตอบสนองเมื่อคุณทำภารกิจบางอย่าง เครื่อง fMRI สามารถตรวจจับปัญหาทางสมองได้ อย่างเช่น ผลกระทบของเส้นเลือดในสมองแตก หรือใช้ในการทำแผนที่สมอง หากคุณต้องรับผ่าตัดสมองเนื่องจากโรคลมชักหรือเนื้องอกในสมอง หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวางแผนการรักษาของคุณได้ ข้อควรรู้ก่อนการตรวจอะไรที่เราควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ ก่อนการสแกนเอ็มอาร์ไป […]


อาการของโรค

เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweat)

เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweat) คือ ภาวะการขับเหงื่ออย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่องตอนกลางคืน ที่อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บ [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ เหงื่อออกตอนกลางคืน คืออะไร (Night sweats) เหงื่อออกตอนกลางคืน (Night Sweat) คือภาวะการขับเหงื่ออย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ที่อาจจะทำให้ชุดนอนหรือเตียงนอนของคุณนั้นเปียกโชก และยังอาจเกี่ยวข้องถึงปัญหาสุขภาพเบื้องลึกหรือโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย คุณอาจจะเคยตื่นขึ้นมาเป็นครั้งคราวหลังจากมีอาการเหงื่อออกอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อคุณห่มผ้าหลายผืนเกินไป หรือหากห้องนอนมีอากาศร้อนเกินไป แต่ถึงแม้อาการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบาย แต่เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน และไม่ได้เป็นสัญญาณของปัญหาทางการแพทย์ใด ๆ โดยทั่วไป อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน มีความสัมพันธ์กับไข้หวัด การลดน้ำหนัก อาการเจ็บปวดเฉพาะจุด ไอ ท้องเสีย เป็นต้น เหงื่อออกตอนกลางคืน สามารถพบได้บ่อยแค่ไหน อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน พบได้ทั่วไปทั้งในเพศชายและหญิง วัยรุ่นและเด็ก โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการ เหงื่อออกกลางคืน เป็นอย่างไร มันเป็นเรื่องปกติที่จะเหงื่อออกในช่วงกลางคืน หากห้องหรือที่นอนของคุณนั้น ทำให้คุณรู้สึกร้อนเกินไป แต่อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นอาการที่มีเหงื่อออกอย่างมากผิดปกติจนชุดนอนของคุณและเตียงนอนของคุณเปียกโชกไปด้วยเหงื่อ แม้ว่าสถานที่ซึ่งคุณนอนหลับนั้นจะมีอากาศถ่ายเทและเย็นสบายก็ตาม โดยอาจมีอาการอื่นๆ ปรากฏขึ้นร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น ภาวะการติดเชื้อและมะเร็ง อาการสั่นและขนลุกสามารถเกิดขึ้นได้บางครั้ง หากคุณมีไข้ น้ำหนักที่ทรุดลงอย่างอธิบายไม่ได้ เนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน อันเนื่องมาจากสภาวะหมดประจำเดือน นั้นมักจะติดมาเป็นปกติด้วยอาการอื่นๆ ของสภาวะหมดประจำเดือน อย่างเช่น ภาวะช่องคลอดแห้ง อาการร้อนวูบวาบตามร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาการเหงื่อออกตอนกลางคืน ที่เป็นผลข้างเคียงของยา อาจเกิดขึ้นพร้อมกับผลข้างเคียงอื่นๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขข้อข้องใจ เราสามารถ เพิ่มความสูง ได้อีกหรือเปล่า

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสูงของคนเรานั้น มาจากพันธุกรรมถึงร้อยละ 60-85 ส่วนที่เหลือนั้นมาจากสิ่งแวดล้อมและโภชนาการเป็นหลัก นอกจากนี้ ส่วนใหญ่แล้วความสูงจะไม่เพิ่มขึ้นหลังอายุ 18-20 ปี ดังนั้น วัยผู้ใหญ่หลายคนที่อยาก เพิ่มความสูง จึงอาจสงสัยว่าเราสามารถ เพิ่มความสูง ได้อีกหรือไม่ [embed-health-tool-bmi] คนเราจะหยุดสูงตอนไหน ส่วนใหญ่แล้วความสูงจะไม่เพิ่มขึ้นอีกหลังอายุ 18 ปี และถึงแม้ว่าจะกินอาหารที่มีประโยชน์ แต่ความสูงก็จะไม่เพิ่มขึ้นหลังจากอายุ 18-20 ปี โดยสาเหตุที่ร่างกายหยุดสูงมาจากกระดูกหยุดการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก (Growth plates) หรือบริเวณแผ่นเอพิไฟเซียล (Epiphyseal plate) ซึ่งเป็นบริเวณกระดูกอ่อนใกล้ปลายกระดูกยาว ความสูงที่เพิ่มขึ้น เกิดจากความยาวของกระดูกยาว (Long bones) และแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกที่ยังคงใช้งานได้อยู่ หรือยังคง ‘เปิด’ อยู่ และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้แผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกแข็งขึ้น หรือ ‘ปิด’ ทำให้ส่วนความยาวของกระดูกจะหยุดลง โดยมักพบว่าแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูกจะปิด ในช่วงที่ผู้หญิงอายุราว ๆ 16 ปี และในผู้ชายอายุประมาณ 14-19 ปี วัยผู้ใหญ่สามารถ เพิ่มความสูง ได้อีกหรือเปล่า ความเชื่อเกี่ยวกับความสูงที่พบบ่อยคือการออกกำลังกายบางประเภท หรือเทคนิคการยืดกล้ามเนื้อ สามารถทำให้สูงขึ้นได้ เช่น การโหนบาร์ การปีนเขา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

20 วิธี ที่อาจทำให้คุณ หุ่นดี โดยไม่ต้องเสียเงินซักบาทเดียว

หากคุณกำลังต้องการ หรือใฝ่ฝันอยากมี หุ่นดี อยู่ละก็ อย่างแรกที่คุณควรทำ คือการศึกษาและเรียนรู้ถึงวิธีดูแลเบื้องต้นให้เหมาะแก่สุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการกำลังกาย การควบคุมอาหาร ซึ่งบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอนำวิธีการรักษาหุ่นฉบับง่าย ๆ ที่สามารถเริ่มฝึกได้ทุกวัน มาฝากทุกคนกันค่ะ 20 วิธีที่ช่วยให้ หุ่นดี 1. กินอาหารเช้า อาหารเช้าเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคุณงดไป จะยิ่งทำให้ระหว่างวันคุณรู้สึกหิวและกินมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ให้คิดเสมอว่าร่างกายเราไม่ได้รับอาหาร มาเป็นเวลาหลายชั่วโมงขณะที่เราหลับ เพราะฉะนั้นเราจึงควรรับประทานมื้อเช้า 2. กินผัก 50% ใน 1 มื้อ การกินผักใบเขียวจะช่วยทำให้อิ่มเร็ว และขับถ่ายง่ายเพราะมีไฟเบอร์เยอะ รวมถึงเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกาย โดยที่ไม่ต้องพึ่งอาหารเสริมเลย 3. ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน น้ำดื่มที่สะอาดจะช่วยร่างกาย ในการขับของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายเราสดชื่นและผิวพรรณสดใส ที่สำคัญการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนมื้ออาหารทำให้เราอิ่มไวขึ้น 4. แยกให้ออกระหว่างความหิว กับความอยาก ก่อนที่จะรับประทานขนม หรืออาหารก็ตาม เราควรจะรู้ตัวว่าเราหิวหรืออยากกินกันแน่ ทางที่ดีควรกินอาหารให้เป็นมื้อจะดีที่สุด 5. หุ่นดี ด้วยการทำอาหารกินเอง การทำอาหารเองเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเราสามารถควบคุมปริมาณอาหาร และความสะอาดได้อีกด้วย ทำให้อาหารนั้นสดใหม่และมีคุณประโยชน์ 6. เตรียมอาหารล่วงหน้า เวลาที่ต้องออกไปนอกบ้านหรือทำงาน เราก็ควรจะพกอาหารไปด้วย เพื่อช่วยป้องกันการรับประทานอาหารตามใจปาก […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation Ablation)

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) เกิดจากแรงกระตุ้นไฟฟ้าของหัวใจห้องบนขวามีกระแสไม่ต่อเนื่อง จึงส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่ต่อเนื่อง หัวใจเต้นเร็ว และไม่สม่ำเสมอ คุณจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วจนเกินไปหรือมีอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สามารถช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้นได้ ข้อมูลพื้นฐานการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คืออะไร การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า “Atrial Fibrillation Ablation” คำว่า “Ablation” หมายถึง “การตัดออก” มาจากคำว่า “Ablate” ที่แปลว่า “ลบออก หรือ ทำลาย” ในแง่ของ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หมายถึง ตัวเลือกหนึ่งในการรักษาเมื่อยาไม่สามารถรักษาหรือควบคุมการทำงานของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ การผ่าตัดคือขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กบริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ บริเวณเป้าหมายของแผลคือแหล่งกำเนิดแรงกระตุ้นไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เมื่อเนื้อเยื่อได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหาย จะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่สม่ำเสมอเข้าสู่หัวใจได้อีก ตำแหน่งแผลขึ้นอยู่กับขั้นตอนในการผ่าตัด รวมไปถึงประเภทการรักษา เช่น การกระตุ้นหัวใจห้องบนขวา การผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดหลอดเลือดดำในปอด การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ ความเสี่ยงความเสี่ยงของการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ระยะของอาการ และความเสี่ยงในการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วนั้นแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนการผ่าตัดขั้นตอนการ ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว การผ่าตัดใส่สายสวน การเตรียมพร้อมการผ่าตัดใส่สายสวน การผ่าตัดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ควรดำเนินการในโรงพยาบาล ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น ตรวจสอบการทำงานของเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพแข็งแรงพอสำหรับการผ่าตัด ใช้ยาเจือจางเลือดก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อป้องกันหลอดเลือดอุดตัน การทำซีทีสแกน (CT) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานของเส้นเลือด อดอาหารหลังเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น […]


การทดสอบทางการแพทย์

รู้หรือไม่? การตรวจหาปริมาณ ไวรัสในเลือด สำคัญกว่าที่คิด

ไวรัสในเลือด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่คร่าชีวิตคนประมาณ 1.5 ล้านคน ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการเอาไว้ในปี 2003 ฉะนั้นการตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือด เพื่อใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวี และการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ก็นับว่ามีความจำเป็นมาก ซึ่ง Hello คุณหมอ จะพาไปติดตามความสำคัญของเรื่องนี้กัน ไวรัสในเลือด คืออะไร เชื้อไวรัสในเลือด (Viral Load) หมายถึงปริมาณของอนุภาคเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในตัวอย่างเลือด (ปริมาณ 1 มล. หรือ 1 ซีซี) อนุภาคเหล่านี้คือสำเนาพันธุกรรมของเชื้อไวรัสที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือดจะทำให้เราทราบว่าการรักษาต้านไวรัสโดยใช้ยาต้านเชื้อไวรัส (ART) นั้นสามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้ดีแค่ไหน เป้าหมายของการรักษาต้านไวรัสคือการลดระดับปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือด การตรวจหาปริมาณไวรัสในเลือดประเภทต่างๆ การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือด เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ติดเชื้อ ว่าสามารถควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระยะปลอดภัยต่อสุขภาพได้หรือไม่ เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นครั้งแรกนั้น ก็จะทำการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือด เพื่อใช้เป็นข้อมูลก่อนที่จะรับยาต้านไวรัส ควรทำการทดสอบไวรัสแบบนี้ทุกๆ 3-6 เดือน โดยการตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัสในเลือดมีดังนี้ การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี การตรวจหาปริมาณไวรัสเอชไอวี จะทำให้คุณทราบปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกาย โดยตรวจนับปริมาณสำเนาของเชื้อเอชไอวีเลือด 1 มิลลิลิตร ผลการตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าการติดเชื้อของคุณเป็นอย่างไร การรักษาได้ผลดีแค่ไหน และรับทราบแนวทางในการรักษา ผลการตรวจปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีจะช่วยให้คุณทราบว่าโรคมีอาการรุนแรงขึ้นเร็วแค่ไหน การตรวจหาปริมาณไวรัสตับอักเสบซี แพทย์จะทำการตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (hep C RNA test) เพื่อตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีภายในเลือดหนึ่งหยด ในปัจจุบันนี้ห้องแล็บส่วนใหญ่มักจะแจ้งผลเป็น หน่วยสากลต่อมิลลิลิตร […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ทำแล้วรับรองว่ากินยาครบกำหนดชัวร์

การจะต้องมานั่งจำว่าในแต่ละวันต้องกินยาอะไรบ้างไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจคิดว่ากินยาแค่วันละ 2 หรือ 3 ครั้งจะไปยากอะไร ยังไงก็ต้องจำได้แน่ ๆ แต่ถึงอย่างนั้น คนเราก็มักลืมกินยากันเป็นประจำ ร่างกายของเราต้องการปริมาณยาที่จำเพาะเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ หากเรา ลืมกินยา ถึงจะแค่ 1-2 ครั้ง ก็อาจส่งผลให้ยาทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพได้ หากใครลืมกินยาเป็นประจำ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีป้องกันการลืมกินยามาฝาก รับรองว่าหากคุณทำตามแล้ว จะไม่ลืมกินยาอีกแน่นอน วิธีป้องกันไม่ให้ ลืมกินยา ใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง การใส่ใจสภาพร่างกายของตัวเอง อาการของโรคที่เผชิญ และการรักษาที่จำเป็น จะเป็นแรงกระตุ้นให้คุณกินยารักษาโรคเป็นประจำตามที่คุณหมอสั่ง หากคุณศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาที่กิน ทำความเข้าใจว่าคุณกินยาไปเพื่ออะไร รวมถึงใส่ใจกับผลข้างเคียงของยา รวมถึงผลของการกินยาไม่สม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้คุณไม่ลืมกินยาได้ กล่องยา กล่องยาไม่ใช้แค่ที่เก็บยาเท่านั้น แต่ยังช่วยเตือนให้คุณกินยาในแต่ละวันได้อย่างครบถ้วนด้วย เนื่องจากกล่องยาแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน เพียงพอต่อการเก็บยาในแต่ละสัปดาห์ สามารถเก็บไว้ในกระเป๋า หรือพกพาได้เมื่อเดินทาง จึงสะดวกกว่าการพกถุงยาไปไหนมาไหน ถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับคนที่ชอบลืมกินยา และผู้สูงอายุต่างก็เห็นตรงกันว่ากล่องยาคือตัวช่วยในการกินยาที่กะทัดรัดและพกพาสะดวกมาก แอปพลิเคชันเตือนกินยา คนเราพกโทรศัพท์มือถือติดตัวไปแทบทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่เวลาเข้าห้องน้ำ และเช็คโทรศัพท์กันไม่ต่ำกว่าวันละ 50 ครั้ง โทรศัพท์มือถือมีประโยชน์มากกว่าเอาไว้ใช้ถ่ายรูปหรือเล่นโซเชียลมีเดีย เนื่องจากปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ เช่น แอปพลิเคชันออกกำลังกาย แอปพลิเคชันคำนวณวันตกไข่และบันทึกประจำเดือน รวมถึงแอปพลิเคชันเตือนกินยา ที่สามารถตั้งเวลาแจ้งเตือน ช่วยให้คุณกินยาตรงเวลาได้ แถมบางแอปพลิเคชันยังมีฟังก์ชันให้คนในครอบครัวช่วยเตือนให้เรากินยาด้วย เก็บยาในที่ที่มองเห็นง่าย ปัญหาข้อหนึ่งที่ทำให้เราลืมกินยาก็คือ จำไม่ได้ว่าเก็บยาไว้ที่ไหน ไม่ก็หายาไม่เจอ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test)

ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย คำจำกัดความ ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 (Anti-Jo-1 Antibodies Test) ทดสอบแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับแอนตี้บอดี้-โจ-1 ในกระแสเลือด โจวัน (histidyl tRNA synthetase) ก็คือเอนไซม์ในกลุ่ม acyl-tRNA synthetase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์ชนิดที่มีนิวเคลียส แอนตี้บอดี้-โจ-1 ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออักเสบจะจับตัวอยู่กับปลายสายโปรตีน ที่ช่วยยับยั้งฤทธิ์การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในหลอดทดลองได้ แอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นตัวบ่งชี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบ และพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ที่มีโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบร่วมด้วย แอนตี้บอดี้เหล่านี้พบได้มากกว่าครึ่งในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่มีพังผืด ในเนื้อเยื่อปอด และโรคข้ออักเสบแบบสมมาตรร่วม ทำไมต้องทดสอบหาแอนตี้บอดี้-โจ-1? ก็เพื่อประเมินโรคในผู้ป่วยที่มีสัญญาณและอาการแสดง ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ปวดกล้ามเนื้อ และมีภาวะแขนขาอ่อนแรง มีอาการแสดงของโรคปอด โรคเรเนาด์ (Raynaud’s phenomenon) และโรคข้ออักเสบร่วมด้วย ข้อควรระวัง/คำเตือน ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจหาแอนตี้บอดี้-โจ-1 มีอะไรบ้าง คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการเตรียมควาพร้อมก่อนทำการตรวจได้แก่ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับการตรวจเลือด ผู้ป่วยควรงดน้ำและอาหารก่อนทำการตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ยาหลายชนิดสามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้ จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ท่านใช้อยู่ ทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง และยาตามใบสั่งแพทย์ การทดสอบชนิดนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย ที่มีผลการตรวจ Antinuclear Antibodies เป็นลบ การได้ผลการตรวจแอนตี้บอดี้-โจ-1 เป็นลบหนึ่งครั้ง ไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นภาวะกล้ามเนื้ออักเสบหรือผิวหนังอักเสบได้ กระบวนการ การเตรียมการสำหรับทดสอบ สิ่งที่ท่านต้องเตรียมตัวก่อนการทดสอบก็คือ การตรวจเลือด รัดต้นแขนผู้ป่วยด้วยแถบยางยืดเพื่อห้ามการไหลเวียนของเลือด วิธีนี้จะทำให้เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้แถบผ้าแถบยางขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือดดำได้ง่ายขึ้น 1. […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (Alpha-1 Antitrypsin Test)

การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เครดิตภาพ: bloodtestslondon.com กระบวนการ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับสาร AAT ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือด ที่ทำหน้าที่ป้องกันปอดไม่ให้ถูกทำลายจากเอนไซม์ต่างๆ ในเลือด การทดสอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันสามารถตัดสินได้ว่า ผู้ป่วยคนนั้นได้รับการถ่ายทอดโปรตีน AAT ที่มีความผิดปกติในรูปแบบใด การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ทำหน้าที่อะไร  หน้าที่หลักของAAT คือการช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอีลาสเตส (Elastase)  ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟีล (Neutrophils) และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตอบสนองต่อการบาดเจ็บและการอักเสบตามปกติ โดยอีลาสเตสจะย่อยโปรตีนต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ซึ่งถ้าหากไม่มี AAT คอยควบคุมแล้วล่ะก็ อีลาสเตสก็จะเริ่มย่อยสลายและทำลายเนื้อเยื่อปอดไปด้วย ทำไมต้อง ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน เหตุผลที่ต้องทำการทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินมีดังนี้ : การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (AAT) เพื่อวินิจฉัยภาวะขาดเอนไซม์อัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ในกรณีที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจน อย่างการสูบบุหรี่ หรือมีประวัติสัมผัสฝุ่นละอองและควัน การทดสอบนี้ยังใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดภาวะดีซ่านเรื้อรัง และสัญญาณความผิดปกติของตับอื่นๆได้ ซึ่งมักจะใช้กับเด็ก แต่จริงๆแล้วสามารถใช้ได้กับผู้คนทุกช่วงอายุ การทดสอบ AAT มี 3 แบบ ซึ่งอาจใช้แบบเดียวหรือหลายๆแบบ เพื่อประเมินผู้ป่วยแต่ละราย การทดสอบอัลฟ่าวัน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม