ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

อากาศในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้บ่อย ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงส่งผลให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดง่ายและรวดเร็ว การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังต้องระมัดระวังโรคที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออากาศเปลี่ยน [embed-health-tool-heart-rate] อากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ อากาศมักจะเปลี่ยนแปลงจากร้อนมากไปอากาศหนาว หรือมีฝนตกแบบฉับพลัน อาจมีหลายสภาพอากาศในหนึ่งวันสำหรับบางพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ เช่น ช่วงเวลากลางวัน อากาศร้อนอบอ้าว แต่เมื่อฝนตกอากาศเย็นและเปียกชื้น หากร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และหัด  โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง  โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด  โรคจากความร้อน โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก วิธีดูแลสุขภาพแต่ละช่วงวัย ในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังสุขภาพมากเป็นพิเศษในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยมีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ ดังนี้ กลุ่มทารก : ทารกควรกินนมแม่เป็นประจำ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยเฉพาะทารกแรกเกิด-6 เดือน  กลุ่มเด็กเล็ก : เด็กเล็กสามารถกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนอายุครบ 2 ปี เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน : ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัย เลือกอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ พยายามลดความเครียดลง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงได้ กลุ่มผู้สูงอายุ […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เหงื่อออกมาก คุณอาจเป็นยิ่งกว่าขี้ร้อน

เหงื่อ..อาจเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะนอกจากจะทำให้เหนอะหนะ ไม่สบายตัว บางครั้งยังมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ จนทำให้คุณไม่มั่นใจ แต่คนเราจำเป็นต้องมีเหงื่อ เพื่อไม่ให้ร่างกายร้อนเกินไป บางคนอาจสังเกตเห็นว่า ตัวเองมีเหงื่อออกมากกว่าคนอื่น ซึ่งไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่การที่คุณมี เหงื่อออกมาก เกินไป ยังอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคบางอย่างได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmr] ทำไมคนเราถึงเหงื่อออก ร่างกายมนุษย์จะทำงานได้ดีที่สุด เมื่อมีอุณหภูมิในร่างกายไม่เกิน 37ºC หรือประมาณ  (98.6ºF) หากอุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เพราะเจออากาศร้อน มีไข้ การออกกำลังกาย กินอาหารเผ็ดร้อน หรือรู้สึกตื่นเต้น สมองจะกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ผลิตเหงื่อออกมา การผลิตเหงื่อตามระบบของร่างกาย เพื่อเป็นการระบายความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง เพราะหากเหงื่อไม่ออก ร่างกายเราอาจร้อนมากเกินไป จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แค่ไหนถึงเรียกว่า “เหงื่อออกมาก” ปกติแล้วร่างกายคนเราจะผลิตเหงื่อวันละ 1 ลิตร แต่ปริมาณเหงื่ออาจมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เชื้อชาติ เพศ อายุ กิจกรรมประจำวัน สภาพอากาศ อารมณ์ ความไวต่อความร้อน หากวันไหนคุณออกกำลังกายอย่างหนัก หรืออากาศร้อนจัด ร่างกายย่อมผลิตเหงื่อมากกว่า 1 ลิตร หากคุณไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เหงื่อออก เช่น นั่งอยู่ในห้องปรับอากาศเฉยๆ ก็มีเหงื่อออกมาก หรือเหงื่อออกเฉียบพลัน คุณอาจมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) ร่างกายจึงผลิตเหงื่อมากกว่าคนปกติหลายเท่า เมื่อเหงื่อออกมาก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภัยสุขภาพจากพลาสติก งานวิจัยชี้จะ BPA หรือ BPS สารเคมีตัวไหน..ก็อันตรายพอกัน!

มีหลายการศึกษาพิสูจน์ว่า สารเคมีในพลาสติก อย่าง BPA (Bisphenol-A) ที่อยู่ในขวดน้ำพลาสติก และภาชนะบรรจุอาหาร สามารถปลดปล่อยเข้าสู่อาหารและเครื่องดื่ม แล้วเข้าไปในร่างกายได้ เนื่องจากสารดังกล่าวมีการออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนต่างๆ ของมนุษย์ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหลายประการ จากข้อกังวลดังกล่าวเกี่ยวกับ ภัยสุขภาพจากพลาสติก เหล่านี้ ทำให้ผู้ผลิตพลาสติกส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนมาใช้สาร Bisphenol-S (ชนิดใกล้เคียงกับสาร Bisphenol-A) ซึ่งเชื่อว่ามีความปลอดภัย แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้น ดูเหมือนจะชี้ให้เห็นเป็นอย่างอื่น การศึกษาในสัตว์มีการโยงสาร Bisphenol-S และสาร Bisphenol-A กับความเสี่ยงต่อสุขภาพต่าง ๆ นักวิทยาต่อมไร้ท่อ (Endocrinologists) จากมหาวิทยาลัย UCLA ในสหรัฐฯ ทำการศึกษาปลาม้าลาย เพื่อดูว่าจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง จากการได้รับสาร Bisphenol-S ในระดับต่ำ การสัมผัสสาร Bisphenol-S เร่งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ และมีผลต่อเซลล์ของต่อมไร้ท่อในสมองของลูกปลาม้าลาย ความไม่สมดุลของฮอร์โมนยังทำให้การสืบพันธุ์ของปลาเสียหายอย่างถาวร นอกจากนี้ สาร Bisphenol-S ยังรายงานว่า มีผลเช่นเดียวกับคุณสมบัติของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง นักวิจัยไม่สามารถทำการทดสอบนี้ในมนุษย์ เนื่องจากเหตุผลทางจรรยาบรรณ ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดที่แพทย์สามารถทำได้ก็คือ การศึกษาในสัตว์ต่างๆ และเซลล์มนุษย์ ปลาม้าลายเป็นสายพันธุ์ปลาลำดับที่สอง ที่แสดงให้เห็นถึงการรบกวนต่อระบบสืบพันธ์ุ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

สะอึก (Hiccups)

สะอึก (Hiccups)เป็นการหดตัวของกระบังลม เป็นอาการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่สามารถควบคุมได้ การหดตัวแต่ละครั้งเกิดขึ้นหลังจากเส้นเสียงปิดอย่างกะทันหัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงสะอึก   คำจำกัดความสะอึก คืออะไร สะอึก (Hiccups) เป็นการหดตัวของกระบังลม ซึ่งเป็นชั้นบางๆ ของกล้ามเนื้อ ที่แยกช่องอกจากช่องท้องและช่วยในการหายใจ เป็นอาการที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่สามารถควบคุมได้ การหดตัวแต่ละครั้งเกิดขึ้นหลังจากเส้นเสียงปิดอย่างกะทันหัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงสะอึก สะอึก พบได้บ่อยเพียงใด อาการสะอึกพบได้บ่อยมาก สามารถส่งผลต่อคนทุกวัย อาการสะอึกสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการสะอึกเป็นอย่างไร อาการประการเดียวของอาการสะอึก คือมีเสียงที่ได้ยินว่าเป็นอาการสะอึก อาการยังเป็นความรู้สึกตึงตัวเล็กน้อยในอก ช่องท้อง หรือคอ ที่เกิดขึ้นก่อนมีเสียงสะอึก อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการสะอึก สาเหตุที่พบได้มากที่สุด ของอาการสะอึกที่มีอาการนานประมาณ 48 ชั่วโมง ได้แก่ รับประทานอาหารมากเกินไปอย่างรวดเร็ว ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป กลืนอากาศมากเกินไป/กลืนอากาศพร้อมกับเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดูดลูกอม สูบบุหรี่ อุณหภูมิของกระเพาะอาหารเปลี่ยนแปลงกะหันหัน มีอารมณ์ตึงเครียดหรือตื่นเต้น อย่างไรก็ดี อาการสะอึกที่มีอาการมากกว่า 48 ชั่วโมงอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น เส้นประสาทเสียหายหรือระคายเคือง ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ความผิดปกติของการเผาผลาญและการใช้ยา ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของอาการสะอึก ผู้ชายมีโอกาสที่จะมีอาการสะอึกเป็นเวลานานได้มากกว่าผู้หญิงเป็นอย่างมาก ความเสี่ยงสำหรับอาการสะอึกมีหลายประการ เช่น ประเด็นทางจิตใจหรืออารมณ์ ความกังวล ความเครียด และความตื่นเต้น มีความสัมพันธ์กับอาการสะอึกในระยะสั้นและระยะยาวในบางกรณี การผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายมีอาการสะอึก หลังจากได้รับยาสลบ หรือหลังจากหัตถการเกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการสะอึก อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบทางประสาท เพื่อตรวจสอบความสมดุลและการประสานงานของร่างกาย ความแข็งแรงและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ กิริยาสนองฉับพลัน การมองเห็น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

ภาวะขาดน้ำ เป็นอาการที่ร่างกายมีการสูญเสียน้ำ รวมถึงเกลือ แร่ธาตุ และน้ำตาลในเลือด ซึ่งสามารถรบกวนการทำงานของร่างกาย และทำให้เกิดผลเสียหลายประการ คำจำกัดความ ภาวะขาดน้ำคืออะไร ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เป็นอาการที่ร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากกว่าการได้รับน้ำ ภาวะไม่สมดุลดังกล่าวยังขัดขวางระดับของเกลือ แร่ธาตุ และน้ำตาลในเลือด ซึ่งสามารถรบกวนการทำงานของร่างกาย และทำให้เกิดผลเสียหลายประการ พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะขาดน้ำพบได้บ่อยมาก สามารถส่งผลต่อคนทุกวัย ในทุกวัน น้ำในร่างกายสูญเสียไปในลมหายใจออก ในเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ หากดื่มน้ำไม่เพียงพอเพื่อชดเชยน้ำส่วนที่เสียไป เราจะมีภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำมีผลต่อร่างกายที่สังเกตได้ อาการที่พบได้ทั่วไปบางประการของภาวะขาดน้ำ ได้แก่ กระหายน้ำมาก รู้สึกวิงเวียนศีรษะหรือมึนศีรษะ ใจสั่น (หัวใจเต้นเร็ว) ปัสสาวะน้อยลง ปากแห้ง มีปัสสาวะข้นเป็นสีเหลืองเข้ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวแห้ง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์ทันที หากมีอาการผิดปกติต่างๆ ควรไปพบหมอเมื่อใด ถึงแม้ว่าจะพบได้ทั่วไป ภาวะขาดน้ำอาจเป็นอันตรายมากหากไม่ได้รับการรักษา ให้แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ มีไข้ ท้องเสียมากกว่า 2 วัน ปัสสาวะน้อยลง มึนงง อ่อนเพลีย สมาธิสั้น เป็นลม เจ็บหน้าอกหรือช่องท้อง หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำมักเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ สภาพอากาศ การออกกำลังกาย และอาหาร นอกจากนี้ ยังเกิดจากโรคที่ทำให้เกิดการขาดน้ำ เช่น ท้องร่วงเรื้อรัง อาเจียน และเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงภาวะขาดน้ำ ทารกและทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงมากกว่า ในการมีภาวะขาดน้ำเนื่องจากน้ำหนักร่างกายน้อย ทำให้ร่างกายไวต่อการสูญเสียน้ำ แม้เพียงปริมาณเล็กน้อย ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงมากด้วยเช่นกัน เนื่องจากลืมดื่มน้ำ และไม่ได้ระลึกว่าจำเป็นต้องดื่มน้ำ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernia)

ไส้เลื่อนกระบังลม เป็นอาการที่กระเพาะอาหารส่วนบนเคลื่อนตัวผ่านกระบังลม กระบังลมเป็นผนังกล้ามเนื้อที่แยกกระเพาะอาหารออกจากหน้าอก เมื่อคุณเป็นไส้เลื่อนกระบังลม กรดจะไหลขึ้นมาด้านบนได้ง่ายขึ้น คำจำกัดความไส้เลื่อนกระบังลม คืออะไร ไส้เลื่อนกระบังลม (hiatal hernia) เป็นอาการที่กระเพาะอาหารส่วนบนเคลื่อนตัวผ่านกระบังลม กระบังลมเป็นผนังกล้ามเนื้อที่แยกกระเพาะอาหารออกจากหน้าอก กระบังลมช่วยป้องกันไม่ให้กรดไหลขึ้นมายังหลอดอาหาร เมื่อคุณเป็นไส้เลื่อนกระบังลม กรดจะไหลขึ้นมาด้านบนได้ง่ายขึ้น การรั่วของกรดจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร เรียกว่าโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) โรคนี้อาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนในกระเพาะอาหารและลำคอได้ ไส้เลื่อนกระบังลมพบได้บ่อยเพียงใด ทุก ๆ คนในทุกกลุ่มอายุอาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ อย่างไรก็ดี ไส้เลื่อนกระบังลมมักพบได้มากในผู้หญิง ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดไส้เลื่อนกะบังลมได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไส้เลื่อนกระบังลม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่เมื่ออาการเกิดขึ้น มักมีอาการประมาณหนึ่งชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร อาการ ได้แก่ แสบร้อนกลางอก เจ็บหน้าอก เรอ และปัญหาเกี่ยวกับการกลืนซึ่งพบได้น้อย การก้มตัวหรือการนอนลงสามารถทำให้อาการแสบร้อนกลางอกแย่ลงได้ อาการแทรกซ้อนคืออาการเลือดออก ซึ่งเกิดจากอาการระคายเคืองที่หลอดอาหาร อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นไส้เลื่อนกระบังลม และมีอาการปวดอย่างรุนแรงที่หน้าอกหรือช่องท้อง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระหรือผายลมได้ คุณอาจเป็นไส้เลื่อนกระบังลมแบบเลือดคั่งเหตุบีบรัด (Strangulated Hernia) หรือมีการอุดกั้น ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางร่างกาย ให้โทรแจ้งแพทย์ทันที ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของไส้เลื่อนกระบังลม โดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุมักไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยปกติแล้ว […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แหล่งสะสม แบคทีเรีย ในบ้านที่เราอาจคาดไม่ถึง

บ้านของเราอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากกว่าที่คิด เนื่องจากงานวิจัยชี้ว่าจาก 32 สถานที่ภายในบ้าน พบว่าจุดที่ สะสม แบคทีเรีย  เป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ ชักโครก ท่อระบายน้ำในห้องครัว ฟองน้ำล้างจาน ผ้าขี้ริ้ว และอ่างล้างจาน นอกจากนี้ยังมีแหล่งสะสม แบคทีเรีย ภายในบ้าน ที่คุณอาจคาดไม่ถึงอีกหลายแหล่ง แหล่งสะสมแบคทีเรียในบ้าน ที่คุณคาดไม่ถึง ห้องครัว ห้องครัวควรเป็นมุมที่สะอาด เพราะเป็นมุมที่ใช้ทำอาหารและล้างจาน แต่ห้องครัวอาจไม่ได้สะอาดเสมอไป เนื่องจากสมาคมสุขาภิบาลแห่งชาติ (National Sanitation Foundation, NSF) พบว่าบริเวณที่ใช้เก็บอาหาร หรือมุมเตรียมอาหาร มีแบคทีเรียมากกว่า เมื่อเทียบกับมุมอื่นๆ ภายในบ้าน นอกจากนี้ 75% ของฟองน้ำล้างจานและผ้าขี้ริ้วมีซาลโมเนลลา (Salmonella) และอี. โคไล (E. coli) และพบการปนเปื้อนอุจจาระเมื่อเทียบกับ 9% ที่พบในก๊อกน้ำล้างมือในห้องน้ำ และสำหรับคำแนะนำคือ ควรทำความสะอาดห้องครัวบ่อยๆ รวมถึงใช้เทคนิคเหล่านี้ ได้แก่ ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อ เช็ดทำความสะอาดห้องครัว นำฟองน้ำล้างจานไปใส่ในไมโครเวฟเป็นเวลาประมาณ 1 นาทีเพื่อฆ่าแบคทีเรีย เปลี่ยนผ้าขี้ริ้วสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ล้างมือก่อนและหลังจับอาหาร เครื่องซักผ้า หากผ้าที่เปียกชื้นค้างอยู่ในเครื่องซักผ้า แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงสั้นๆ ก็สามารถทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตขึ้นได้ โดยควรนำผ้ามาตากทันทีหลังจากที่ซักเสร็จ และหากทิ้งผ้าไว้นานเกิน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ตุ่มพอง จากการเสียดสี รองเท้ากัด หรือน้ำร้อนลวก ควรเจาะดีหรือเปล่า?

ใครๆ ต่างก็เคยเจอ ตุ่มพอง ที่เป็นตุ่มใสๆ มีน้ำอยู่ข้างใน แล้วก็อาจจะคันมือคันไม้ อยากที่จะจัดการกับมันเสียเต็มประดา แต่ก่อนที่จะจัดการกับมัน ลองอ่านข้อมูลพวกนี้ดูก่อน แล้วคุณอาจจะอยากปล่อยมันไว้เฉยๆ แบบนั้นก็ได้ ตุ่มพองจริงๆ แล้วมีประโยชน์นะ! การเสียดสี หรือความร้อนเล็กน้อย เป็นสาเหตุหลักของการเกิด ตุ่มพอง ซึ่งมีของเหลวอยู่ด้านใน แม้เราจะอยากจัดการกับมันเสียเต็มประดา แต่จริงๆ แล้วของเหลวใสที่อยู่ด้านในตุ่มนั้น มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด! เนื่องจากตุ่มพองมักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการเสียดสี และผิวหนังส่วนนั้นมีการพองขึ้นมา นั่นเป็นวิธีการของร่างกายในการปกป้องผิว และของเหลวใสที่อยู่ในตุ่มพองนั้นก็มีหน้าที่ในการป้องกันผิวด้านล่าง ซึ่งเป็นผิวหนังที่จะเกิดขึ้นใหม่ นอกจากนี้ของเหลวนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผิวด้านล่างเนื่องจากทำให้ผิวบริเวณนั้นสะอาด จึงเป็นการป้องกันการติดเชื้อ และเร่งอาการให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นถึงแม้ตุ่มพองจะทำให้รู้สึกเจ็บ แต่เราก็ไม่ควรจะเจาะตุ่มน้ำออก นอกจากในกรณีที่มีขนาดใหญ่เกินไป และทำให้เกิดการเจ็บหรือระคายเคือง โดยปกติตุ่มพองส่วนใหญ่จะหายไปได้เอง โดยไม่ต้องรับการรักษาจากแพทย์แต่อย่างใด แต่ถ้าอยากจัดการกับตุ่มพอง.. ถึงแม้ตุ่มพองจะไม่จำเป็นและไม่ควรต้องเจาะออก แต่ในกรณีที่ตุ่มพองมีขนาดใหญ่มาก และคุณห้ามใจไม่ได้ที่อยากจะเจาะ ให้ใช้วิธีการต่อไปนี้ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเข็มที่จะใช่เจาะ โดยการลนไฟให้ปลายเข็มร้อนจนแดง และล้างด้วยแอลกอฮอล์ ล้างมือ และล้างบริเวณที่จะเจาะให้สะอาด เมื่อเจาะแล้วของเหลวไหลออกมา หากคุณสังเกตว่า ของเหลวที่ไหลออกมาเป็นสีขาวหรือเหลือง นั่นหมายความว่า เกิดการติดเชื้อเข้าแล้ว และต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ ไม่ควรดึงหนังบริเวณที่เจาะตุ่มออก เพื่อเป็นการป้องการผิวหนังด้านล่างที่เกิดขึ้นใหม่ ใช้ยาฆ่าเชื้อทาบริเวณที่เจาะ เฝ้าสังเกตสัญญาณของการติดเชื้อ คือบริเวณที่เป็นตุ่มพองรู้สึกอุ่นและแดง มีหนองไหลออกมา หรือเกิดรอยแดงบริเวณรอบตุ่มพองและขยายวงกว้าง วิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดตุ่มพอง ในกรณีของตุ่มพองที่เกิดจากน้ำร้อนลวกหรือรอยไหม้ เราอาจไม่มีวิธีป้องกัน นอกจากจะบอกให้ระมัดระวังของร้อนเหล่านี้ แต่สำหรับตุ่มพองที่เกิดจากการเสียดสีต่างๆ นั้น วิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดตุ่มพอง ก็คือการป้องกันการเสียดสี เช่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)

แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทและอื่นๆ คำจำกัดความ แคลเซียมในเลือดต่ำคืออะไร แคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) เป็นภาวะที่มีระดับแคลเซียมต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในส่วนประกอบของเลือด ที่เป็นของเหลวหรือพลาสมา แคลเซียมในเลือดต่ำพบได้บ่อยเพียงใด โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการแคลเซียมในเลือดต่ำมีอะไรบ้าง ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อระบบประสาท ทารกที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือมีอาการสั่น ผู้ใหญ่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจมีอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้ออ่อนล้า กล้ามเนื้อกระตุก ความรู้สึกผิดปกติที่ไร้สาเหตุ (Paresthesias) หรือความรู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มแทงในบริเวณทั่วร่างกาย ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความกังวล อาการซึมเศร้า หรืออาการหงุดหงิด ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ ความดันเลือดต่ำ พูดหรือกลืนลำบาก อ่อนเพลีย มีอาการพาร์กินสัน จานประสาทตาบวม (Papilledema) อาการของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่ อาการชัก ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmias) หัวใจวาย กล่องเสียงหดเกร็ง (Laryngospasms) อาการในระยะยาวของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่ ผิวแห้ง เล็บเปราะ มีนิ่วในไต หรือมีการสะสมตัวของแคลเซียมอื่นๆ ในร่างกาย ภาวะสมองเสื่อม ต้อกระจก ผื่นผิวหนังอักเสบ อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการหนึ่งๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ แคลเซียมในเลือดต่ำเกิดจากอะไร สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำก็คือ ภาวะที่ร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์น้อยเกินไป (hypoparathyroidism) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (parathyroid hormone: PTH) ในปริมาณน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในระดับต่ำ ส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือเกิดจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งในบริเวณศีรษะและคอ สาเหตุอื่นๆ ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ได้แก่ ปริมาณแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอในอาหารที่รับประทาน การติดเชื้อ ยาบางชนิด ได่แก่ ยาฟีไนโทอิน (Phynytoin) อย่างไดแลนติน (Dilantin) ยาฟีโนบาร์บิทอล (Phenobarbital) […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

การนั่งเครื่องบิน กับปัญหาสุขภาพที่คุณอาจต้องเผชิญ

การนั่งเครื่องบิน หรือโดยสารเครื่องบินไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตยุคใหม่ จนหลายคนอาจไม่ทันฉุกคิดว่า การเดินทางเป็นระยะเวลานานๆ โดยต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด ท่ามกลางผู้คนจำนวนมากนั้น อาจส่งผลเสียสุขภาพของเราได้มากมายหลายด้าน เพราะฉะนั้นหากอยากให้การเดินทางของคุณ ไม่ว่าจะเพื่อการพักผ่อนหรือการทำงาน เป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด Hello คุณหมอ อยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับปัญหาสุขภาพที่อาจต้องเจอ จากการเดินทางโดยเครื่องบิน จะได้เตรียมพร้อมรับมือเอาไว้ให้ดี ปัญหาสุขภาพจาก การนั่งเครื่องบิน ภาวะพร่องออกซิเจน จาก การนั่งเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินอยู่ในที่สูง อากาศภายในห้องโดยสารจะมีแรงดันลดลงถึง 75% จากชั้นบรรยากาศปกติ ทำให้สามารถเกิดภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ขึ้นได้ นั่นก็คือ การที่ออกซิเจนในเลือดจะลดลงประมาณ 5-10%  ถ้าหากร่างกายไม่สามารถปรับตัวจากสภาวะนี้ได้ อาจทำให้เวียนศีรษะ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease; COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease) มีความเสี่ยงที่อาจเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงจากภาวะพร่องออกซิเจนมากกว่าคนปกติ ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอก่อนออกเดินทางทุกครั้ง หากจำเป็นต้องพกถังออกซิเจนไป อย่าลืมแจ้งสายการบินให้ทราบล่วงหน้า โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการนั่งในห้องโดยสารเป็นเวลานาน โดยปกติ ห้องโดยสารบนเครื่องบินจะมีเครื่องกรองอากาศที่กำจัดไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ในกรณีที่เครื่องบินล่าช้า หรือมีเหตุที่ทำให้ต้องปิดเครื่องกรองนี้ ก็อาจจะทำให้แบคทีเรียหรือไวรัสแพร่กระจายในห้องโดยสารได้ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจจาก การนั่งเครื่องบิน มากที่สุดก็คือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้นก่อนเดินทางทุกครั้ง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ ที่ทำงานมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้   คำจำกัดความต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คืออะไร ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์อยู่ในลำคอและสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าที่การทำงานบางประการของต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด กระตุ้นการเผาผลาญ กระตุ้นการเต้นของหัวใจและระบบประสาท และความคุมความร้อนในร่างกาย แต่ฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน พบได้บ่อยเพียงใด ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ผู้หญิงมักมีภาวะดังกล่าวได้มากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า แต่คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ได้แก่ กระสับกระส่าย มีเหงื่อออก อ่อนเพลีย หัวใจเต้นแรงหรือไม่เป็นจังหวะ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจอื่น ๆ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ (Trial fibrillation) อาการอื่น ๆ ได้แก่ ดวงตาระคายเคือง น้ำหนักลด มีความไวต่อความร้อน ขับถ่ายอุจจาระหรือท้องเสียบ่อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกรฟส์ (Graves’s disease) มีต่อมไทรอยด์โต (โรคคอพอก) อาจมีตาโปน (Exophthalmos) สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกผิดปกติ มีอาการบวมที่คอส่วนล่าง หรือมีอาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ควรไปพบคุณหมอ และต้องอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลง ที่คุณสังเกตได้โดยละเอียดเนื่องจากสิ่งบ่งชี้และอาการต่าง ๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาจสัมพันธ์กับภาวะอื่นๆ อีกจำนวนมาก หากคุณได้เข้ารับการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินแล้ว หรือเข้ารับการรักษาในเร็ว ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม