ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

อากาศในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้บ่อย ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงส่งผลให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดง่ายและรวดเร็ว การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังต้องระมัดระวังโรคที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออากาศเปลี่ยน [embed-health-tool-heart-rate] อากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ อากาศมักจะเปลี่ยนแปลงจากร้อนมากไปอากาศหนาว หรือมีฝนตกแบบฉับพลัน อาจมีหลายสภาพอากาศในหนึ่งวันสำหรับบางพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ เช่น ช่วงเวลากลางวัน อากาศร้อนอบอ้าว แต่เมื่อฝนตกอากาศเย็นและเปียกชื้น หากร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และหัด  โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง  โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด  โรคจากความร้อน โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก วิธีดูแลสุขภาพแต่ละช่วงวัย ในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังสุขภาพมากเป็นพิเศษในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยมีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ ดังนี้ กลุ่มทารก : ทารกควรกินนมแม่เป็นประจำ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยเฉพาะทารกแรกเกิด-6 เดือน  กลุ่มเด็กเล็ก : เด็กเล็กสามารถกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนอายุครบ 2 ปี เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน : ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัย เลือกอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ พยายามลดความเครียดลง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงได้ กลุ่มผู้สูงอายุ […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

มาร์แฟนซินโดรม (Marfan Syndrome)

มาร์แฟนซินโดรม เป็นภาวะที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ใช้ในการเชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เนื้อเยื่อเหล่านี้อ่อนแรง ส่งผลถึงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ คำจำกัดความ มาร์แฟนซินโดรมคืออะไร มาร์แฟนซินโดรม (Marfan Syndrome) หรือกลุ่มอาการมาร์แฟน เป็นภาวะรุนแรงที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เนื้อเยื่อเหล่านี้อ่อนแรง ส่งผลถึงปัญหาที่อาจก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ แม้ว่าอาการนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาด ความก้าวหน้าทางการแพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสมีชีวิตอยู่ตามปกติได้ และการวินิจฉัยที่เร็วและแม่นยำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงเฉพาะต่อผู้ป่วย แต่ยังรวมถึงบุคคลที่มีอาการที่เกี่ยวข้อง มาร์แฟนซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน กล่าวคือ เนื้อเยื่อที่พยุงและค้ำจุนอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกาย สำหรับผู้ป่วยโรคมาร์แฟนซินโดรม เนื้อเยื่อเกี่ยวพันจะไม่มีแรงเนื่องจากมีการสร้างสารเคมีที่ผิดปกติเกิดขึ้น มาร์แฟนซินโดรมเป็นโรคที่มักส่งผลกระทบต่อหัวใจ ตา หลอดเลือด และกระดูก มาร์แฟนซินโดรมพบบ่อยแค่ไหน มาร์แฟนซินโดรมเป็นโรคที่พบได้บ่อย ใน 10,000 ถึง 20,000 คน จะพบคนเป็นโรคนี้ 1 คน และเกิดขึ้นได้กับคนทุกเชื้อชาติ อาการ อาการของมาร์แฟนซินโดรม อาการของโรคมาร์แฟนซินโดรมมีมากมาย แม้แต่กับคนในครอบครัวเดียวกัน บางคนอาจเกิดอาการเล็กน้อย แต่บางคนอาจมีอาการที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคมาร์แฟนซินโดรมมักรุนแรงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น อาการของโรคมาร์แฟนซินโดรมมีดังนี้ มีรูปร่างสูงและผอม แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้ายาวผิดปกติ กระดูกหน้าอกผิดรูป อาจนูนออกมาด้านหน้าหรือเว้าเข้าไปในร่างกาย เพดานปากยกตัวสูงกว่าปกติ ฟันเก มีเสียงฟู่ของหัวใจ สายตาสั้นลงอย่างมาก กระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ เท้าแบน เนื่องจากโรคมาร์แฟนซินโดรมส่งผลกระทบต่ออวัยวะของร่างกายได้ทุกส่วน จึงอาจเกิดปัญหาได้หลากหลาย ปัญหาที่อันตรายที่สุดของมาร์แฟนซินโดรม คือปัญหาทางหัวใจและหลอดเลือด เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่บกพร่อง ทำให้เส้นเลือดใหญ่ที่เรียกว่าเอออร์ตาร์ (aorta) ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดความบกพร่อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาโป่งพอง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โบทูลิซึม (Botulism)

โบทูลิซึม เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า “คลอสทริเดียม” โบทูลินัม มี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก คำจำกัดความโบทูลิซึม คืออะไร โรคโบทูลิซึม (Botulism) เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งผลิตท็อกซิน 7 ชนิด (นักวิทยาศาสตร์เรียกตั้งแต่ A ถึง G) อย่างไรก็ตาม ท็อกซินชนิด A, B, E, และ F มีผลทำให้เกิดโรคในร่างกายมนุษย์ รูปแบบของโรคโบทูลิซึมมี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก โบทูลิซึม พบบ่อยแค่ไหน ทุกคนมีแนวโน้มจะเป็นโรคโบทูลิซึม แต่โรคนี้ไม่ติดเชื้อจากคนสู่คน คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงในการเป็นโรคโบทูลิซึมได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สัญญาณและอาการของโรคโบทูลิซึมอาการของโรคโบทูลิซึมมักเกิดขึ้น 12 ถึง 36 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อโรค โดยประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 ของโรคโบทูลึซึมเป็นอันตรายถึงชีวิต อาการเริ่มต้นของโรคโบทูลิซึมประกอบด้วย หนังตาตก ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน ปากแห้ง พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เมื่อไหร่ที่ควรพบคุณหมอ ควรเข้าพบหมอเพื่อปรึกษาทันที หากเกิดอาการโรคโบทูลิซึม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

น้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าระดับปกติ พบมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับอินซูลินในการรักษาหรืออยู่ในระหว่างการรักษา หรืออาจเป็นผลข้างเคียงของโรคอื่นๆ [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ น้ำตาลในเลือดต่ำคืออะไร น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าระดับปกติ น้ำตาลกลูโคส เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกายที่ได้จากอาหาร คาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารประเภทหลักที่เป็นแหล่งกลูโคส ข้าว มันฝรั่ง ขนมปัง ซีเรียล นม ผลไม้ และของหวาน ล้วนเป็นอาหารประเภทที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตทั้งสิ้น ตับอ่อน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด โดยผลิตอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เซลล์นำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานและควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดอีกด้วย ฮอร์โมนอีกหนึ่งประเภทที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมปริมาณกลูโคสในเลือดคือ กลูคากอน (glucagon) ซึ่งทำให้ปริมาณกลูโคสในเลือดสูงขึ้น เมื่อตับอ่อนผลิตฮอร์โมนกลูคากอนไม่เพียงพอ ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบบ่อยแค่ไหน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำพบได้ไม่บ่อยในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 10 ปี แต่พบมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับอินซูลินในการรักษาหรืออยู่ในระหว่างการรักษา โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจเป็นผลข้างเคียงของโรคอื่นๆ ภาวะขาดฮอร์โมนหรือจากเนื้องอกในร่างกาย อาการ อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ประกอบด้วย อาการสั่น เวียนศีรษะ ปวดหัว เหงื่อออกบ่อย หิว หัวใจเต้นเร็ว และสีผิวซีด ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ หรืออาจทำให้เกิดอาการร้องโวยวายหรือฝันร้ายได้ เนื่องจากระดับน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจึงมักเหนื่อยหรือไม่สบายบ่อย ระดับของน้ำตาลในเลือดที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการเป็นลมหรือชักได้ อาจมีอาการหรือสัญญาณอื่นๆ ของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและระยะการดำเนินของอาการไม่นาน คุณควรพบหมอทันทีหากเกิดอาการ ดังนี้ เกิดอาการที่อาจเป็นอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำและคุณไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคเบาหวานและมีอาการเวียนศีรษะ หรือหน้ามืดเนื่องจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นโรคเบาหวาน และการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ได้ผล คุณควรแจ้งให้คนใกล้ชิดทราบ หากคุณเป็นโรคเบาหวาน […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ทำงานเป็นกะ กับสารพันปัญหาสุขภาพที่ต้องพร้อมรับมือ

บางอาชีพ เช่น หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่คอลเซนเตอร์ ผู้รักษาความปลอดภัย พนักงานร้านสะดวกซื้อ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องทำงานเป็นช่วงเวลา หรือ ทำงานเป็นกะ ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อนหรือเวลาทำงานที่แน่นอน ซึ่งทำให้ร่างกายไม่ได้ทำงานตามนาฬิกาชีวิต ที่เป็นวงจรเวลาตามธรรมชาติ จึงสามารถนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพต่างๆ มากมาย ที่ควรต้องพร้อมรับมือ! ปัญหาสุขภาพระยะสั้น ไม่ใช่แค่ผู้ที่ทำงานเป็นกะ แต่ผู้ที่ต้องทำงานดึกติดต่อกันหลายคน ผู้ที่ต้องเดินทางผ่านหลายโซนเวลา เป็นต้น ก็สามารถประสบกับปัญหาสุขภาพระยะสั้นได้ ดังนี้ ร่างกายเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ระบบทางเดินอาหารมีปัญหา เช่น ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก กรดไหลย้อน เสี่ยงได้รับบาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุ นอนไม่หลับ บั่นทอนคุณภาพชีวิต รู้สึกไม่สดใส หรือไม่สบายตลอดเวลา ปัญหาสุขภาพระยะยาว หากต้องทำงานเป็นกะ หรือทำงานในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง งานศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ที่ทำงานกะดึกนานเกิน 15 ปี จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 5% สำหรับการทำงานในกะดึกครบทุก 5 ปี โรคเบาหวาน การศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพบว่า ผู้ที่ทำงานควบสองกะ หรือทำงานวันละ 16 ชั่วโมงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานมากกว่าผู้ที่ทำงานในตอนกลางวันถึง 50% โรคอ้วน การนอนไม่เป็นเวลา มีปัญหาการกิน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย สามารถส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน และนำไปสู่โรคอ้วนได้ เนื่องจากร่างกายคนเรามีฮอร์โมนตัวหนึ่งที่เรียกว่า […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

มลพิษทางอากาศ ไม่ใช่แค่ปอดพัง แต่ทำร้ายยันหัวใจและหลอดเลือด

มลพิษ ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลเสียต่อทั้งสภาพแวดล้อม การดำรงชีวิต และสุขภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มลพิษทางอากาศ เพราะเราต้องหายใจเอาอากาศเข้าร่างกายทุกวัน เมื่ออากาศเป็นพิษ ฝุ่นละอองปกคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ นั่นเท่ากับว่า เราสูดเอาอากาศเป็นพิษเข้าร่างกาย มลพิษทางอากาศที่เราสูดดมเข้าไปนั้น ไม่ได้ส่งผลเสียกับแค่อวัยวะ หรือระบบใดระบบหนึ่งในร่างกาย แต่ทำร้ายร่างกายเราได้แทบทุกส่วน ยิ่งหากเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก อย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือพีเอ็ม 2.5 (PM2.5) ที่เล่นงานเราหนักขึ้นทุกวัน ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้นไปอีก มลพิษทางอากาศ คืออะไร มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) คือ ภาวะอากาศที่มีฝุ่นละออง (Particulate Matter) สารเคมี สารประกอบ โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุที่เป็นพิษเจือปนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ พืช และสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือวัสดุต่างๆ สารเจือปนในอากาศ หรือมลพิษทางอากาศที่พบอาจอยู่ในรูปของก๊าซ หยดของเหลว หรืออนุภาคของแข็ง มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ป่า และเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ฝุ่นควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ การสูบบุหรี่ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศมากที่สุดก็คือ การใช้ยานพาหนะ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)

ไส้ติ่งอักเสบ เป็นภาวะเกิดการอักเสบที่ไส้ติ่ง ซึ่งมักไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจน แต่เมื่อมีการอุดกั้น สามารถก่ออันตรายต่อร่างกายและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ คำจำกัดความไส้ติ่งอักเสบ คืออะไร ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) เป็นภาวะเกิดการอักเสบที่ไส้ติ่ง ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีขนาดเล็ก และรูปร่างเหมือนท่อ ติดอยู่กับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ในบริเวณด้านขวาล่างของช่องท้อง มักไม่มีหน้าที่ชัดเจน แต่เมื่อมีการอุดกั้น สามารถทำให้ก่ออันตรายต่อร่างกาย และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ไส้ติ่งอักเสบ พบได้บ่อยแค่ไหน ไส้ติ่งอักเสบพบได้บ่อยและสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากที่สุดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-30 ปี โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไส้ติ่งอักเสบ อาการหลักของไส้ติ่งอักเสบคืออาการปวดท้อง ที่เริ่มต้นบริเวณกลางท้องส่วนบนใกล้กับสะดือ จากนั้นอาการปวดมักลุกลามลงไปยังช่องท้องด้านขวาล่าง และการเคลื่อนไหวร่างกาย การไอ หรือการออกแรงอาจทำให้อาการปวดแย่ลง อาการอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือท้องร่วง ผายลมไม่ได้ ท้องบวม มีไข้ต่ำ หากไม่รีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และปล่อยไว้จนอาการรุนแรง อาจทำให้ไส้ติ่งแตกและทำให้เกิดการติดเชื้อที่เป็นอันตรายต่อชีวิต สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หรือไปโรงพยาบาลทันที หากมีอาการดัง ต่อไปนี้ หากสงสัยว่ามีอาการใด ๆ ของไส้ติ่งอักเสบ อาการปวดที่ช่องท้องด้านขวาล่างที่ไม่หายไป ท้องร่วงหรือมีเลือดปนในอุจจาระ ท้องบวมร่วมกับมีไข้ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของไส้ติ่งอักเสบ สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบเกิดจากการอุดกั้น โดยสามารถเกิดจากอุจจาระ สิ่งแปลกปลอม หรือมะเร็ง เมื่อเกิดการอุดกั้น แบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้ ทำให้ไส้ติ่งบวมและมีหนอง หากไส้ติ่งแตก แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายและทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย ในผู้ป่วยบางราย ไส้ติ่งอักเสบเป็นอาการตอบสนองต่อการติดเชื้อในร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของไส้ติ่งอักเสบ ปัจจัยเสี่ยงสำหรับไส้ติ่งอักเสบมีหลายประการ เช่น มีการติดเชื้อที่ลำไส้ มีสมาชิกในครอบครัวเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำและคาร์โบไฮเดรตสูง การไม่มีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ม้ามโต (Enlarged Spleen)

ม้ามโต หมายความว่าม้ามทำงานมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ในบางครั้ง ม้ามทำงานมากเกินไปในการกำจัดและทำลายเซลล์เม็ดเลือด โดยภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ   คำจำกัดความม้ามโต (Enlarged Spleen) คืออะไร ม้ามเป็นอวัยวะภายในอยู่บริเวณใต้ซี่โครงในช่องท้องด้านซ้ายบน ค่อนไปด้านหลัง ม้ามเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง ทำหน้าที่กำจัดของเสียและป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ  เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกสร้างจากม้ามจะช่วยกำจัดแบคทีเรีย เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ออกจากกระแสเลือดขณะไหลผ่านม้าม นอกจากนี้ ม้ามยังทำหน้าที่รักษาเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดด้วย ม้ามมักมีขนาดประมาณเท่ากำปั้น แพทย์มักไม่สามารถสัมผัสม้ามได้ในระหว่างการตรวจร่างกายภายนอก การเกิดโรคต่างๆ สามารถทำให้ม้ามมีขนาดใหญ่กว่าปกติได้หลายเท่า หรือ ม้ามโต (Enlarged Spleen) เนื่องจากม้ามเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกายหลายระะบบ ดังนั้น ม้ามมักได้รับผลกระทบเสมอหากเกิดโรคใดๆ ขึ้นในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ม้ามโตไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ของความผิดปกติเสมอไป ภาวะม้ามโต หมายความว่าม้ามทำงานมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ในบางครั้ง ม้ามทำงานมากเกินไปในการกำจัดและทำลายเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งเรียกว่าภาวะม้ามทำงานมากเกินไป โดยภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งได้แก่ อาการผิดปกติเกี่ยวกับการมีเกล็ดเลือดมากเกินไป และความผิดปกติอื่นๆ เกี่ยวกับเลือด ม้ามโตพบบ่อยเพียงใด ภาวะม้ามโตพบได้ทั่วไปในคนทุกช่วงวัย โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการของม้ามโตอาการทั่วไปของภาวะม้ามโต ได้แก่ ไม่มีอาการในผู้ป่วยบางราย อาการปวดหรือแน่นในช่องท้องด้านซ้ายบนที่อาจลุกลามไปยังไหล่ด้านซ้าย รู้สึกอิ่มแม้ไม่ได้รับประทานอาหาร หรือหลังจากรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากม้ามกดทับลงบนกระเพาะอาหาร เลือดจาง อ่อนเพลีย ติดเชื้อบ่อย เลือดออกง่าย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการปวดในช่องท้องด้านซ้ายบน โดยเฉพาะหากมีอาการรุนแรง หรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึกๆ สาเหตุสาเหตุของม้ามโต การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส เช่น โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส (mononucleosis) การติดเชื้อพยาธิ เช่น โรคท็อกโซพลาสโมซิส […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ปวดท้อง (Stomach ache)

ปวดท้อง เป็นอาการที่เกิดขึ้นบริเวณช่องท้อง โดยการติดเชื้อหรืออาการบาดเจ็บใดๆ ต่ออวัยวะในช่องท้องต่างๆ สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ คำจำกัดความ ปวดท้องคืออะไร ปวดท้อง (Stomach ache) คืออาการที่เกิดขึ้นบริเวณช่องท้อง โดยอวัยวะหลักที่อยู่ในบริเวณช่องท้อง ได้แก่ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไต ไส้ติ่ง ม้าม กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ตับ และตับอ่อน การติดเชื้อหรืออาการบาดเจ็บใดๆ ต่ออวัยวะเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ พบได้บ่อยเพียงใด อาการปวดท้องพบได้ทั่วไปในคนทุกวัย อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงมีความไวต่ออาการนี้มากกว่า แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของการปวดท้อง อาการปวดท้อง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ มีอาการปวดเวลาปัสสาวะ หรือปัสสาวะบ่อย มีอาการกดเจ็บที่ช่องท้อง อาเจียน มีอาการปวดเรื้อรัง มีภาวะขาดน้ำ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการ ที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอหากมีอาการใดๆ ที่ระบุข้างต้น หรืออาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีเลือดปน หรือมีสีคล้ำเหมือนน้ำมันดิน หายใจลำบาก มีอาการปวดในระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุ สาเหตุของการปวดท้อง สาเหตุที่พบได้มากที่สุด คือ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ไวรัสในกระเพาะอาหาร อาหารเป็นพิษ การแพ้อาหาร แก๊ส อาการแพ้น้ำตาลแล็กโทส และนิ่วในไต เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดท้อง มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ก่อให้เกิดอาการปวดท้อง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป การสูบบุหรี่ การใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน และ ยาไอบูโพรเฟน การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยอาการปวดท้อง การวินิจฉัยอาการปวดท้อง ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการปวด การตรวจร่างกาย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เท้าแบน อาการผิดปกติของเท้าที่คุณอาจไม่รู้ตัว และอาจก่อปัญหามากกว่าที่คิด

ถ้าคุณมีอาการเจ็บปวดบางอย่างที่ขาหรือเท้าอยู่บ่อยๆ โดยที่หาสาเหตุไม่ได้ และไม่ได้เกิดจากโรคอะไร หนึ่งในสาเหตุที่เป็นไปได้ก็คือ ปัญหาความผิดปกติของสรีระของตัวคุณเอง และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ปัญหาจากรูปลักษณะของเท้าที่ผิดปกติ ที่เรียกกันว่า เท้าแบน เท้าแบนคืออะไร เท้าแบน (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด ตรงกลางฝ่าเท้าที่โค้งขึ้นมานั้นคืออุ้งเท้า (Arch) ซึ่งทอดไปตามแนวยาวและแนวขวางของฝ่าเท้า อุ้งเท้าเกิดจากการยึดกันระหว่างเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกเท้า โดยเส้นเอ็นที่เท้าเองและเส้นเอ็นส่วนที่ต่อจากขาส่วนล่างจะยึดกระดูกตรงกลางเท้าเข้ากับส้นเท้า ทำให้กลางฝ่าเท้าโค้งเข้ามาและไม่ราบไปกับพื้น ภาวะเท้าแบนเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็ก เนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมันและเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมา บางคนอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ภาวะเท้าแบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพไปตามอายุ เท้าแบนสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทดังนี้ อาการเท้าแบนแบบนิ่ม ลักษณะเท้าแบนชนิดนี้พบได้บ่อยและทั่วไป ซึ่งเป็นอาการที่เท้ามีลักษณะผิดปกติคือ ผู้ที่มีความผิดปกติจะไม่ค่อยมีอุ้งเท้าและเท้าจะแบนราบไปกับพื้นไม่มีส่วนโค้งเว้า อาการเท้าแบนแบบแข็ง เป็นลักษณะของอาการที่ไม่ค่อยพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ลักษณะของเท้าแบนชนิดนี้จะมีความผิดปกติของข้อเท้าคือ อุ้งเท้าจะนูนออก เท้าผิดรูป มีลักษณะกลับด้านนอกออกใน เท้าแบนส่วนใหญที่มีลักษณะแบบแบนนิ่ม จะไม่ก่อให้เกิดการเจ็บเท้า แต่เท้าแบนอาจก่อให้เกิดปัญหาที่ข้อเท้าและเข่าได้เนื่องจากความผิดปกติของเท้า โดยอาการเจ็บปวดของเท้าแบนที่พบอาจได้แก่ เมื่อยขาง่าย เจ็บที่อุ้งเท้า อุ้งเท้าบวม การเคลื่อนไหวเท้าลำบาก ปวดหลังและขา สาเหตุของการเกิดอาการเท้าแบน อาการเท้าแบนเกิดได้จากความผิดปกติทางพันธุกรรมกล่าวคือ เป็นตั้งแต่เกิด แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าใครที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด และเป็นลักษณะของอาการเท้าแบนแบบนิ่ม หากอาการไม่รุนแรงมาก จะสามารถหายเป็นปกติได้เองเมื่อโตขึ้น แต่นอกจากนี้อาการเท้าแบนยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นได้ก็คือ เส้นเอ็นยืดหรือฉีก เอ็นที่ยึดหน้าแข้งส่วนหลังที่เรียกว่าเอ็นท้ายกระบอกถูกทำลาย หรือมีการอักเสบ กระดูกหักหรืออยู่ผิดที่ มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เป็นโรคข้อเสื่อมรูมาตอยด์ มีปัญหาเรื่องเส้นประสาท การวินิจฉัยอาการเท้าแบน ตรวจพื้นรองเท้าของคุณว่ามีความผิดปกติบ้างหรือไม่ เพราะพื้นรองเท้าสามารถบอกได้ว่า คุณเดินผิดปกติไม่เป็นธรรมชาติบ้างหรือไม่ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

การบริจาคเลือด กับประโยชน์สุขภาพที่คุณอาจคาดไม่ถึง

การบริจาคเลือด ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ หากสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และมีคุณสมบัติตรงตามที่ศูนย์รับบริจาคโลหิตต้องการ เช่น มีอายุระหว่าง 17-70 ปีบริบูรณ์ มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป ก็สามารถบริจาคเลือดได้ ผู้บริจาคเลือดไม่เพียงจะได้รับความสุขจากการให้ แต่ยังได้รับประโยชน์สุขภาพอีกมากมายที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง ประโยชน์ดีๆ ที่ได้จาก การบริจาคเลือด ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ การบริจาคเลือด อาจเหมือนแค่นอนนิ่ง ๆ แต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียพบว่า การบริจาคเลือดครั้งละ 450 มิลลิลิตรสามารถเผาผลาญพลังงานได้ถึง 650 กิโลแคลอรี่ แม้การบริจาคเลือดแต่ละครั้ง จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้มาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะลดน้ำหนัก ด้วยการโหมบริจาคเลือดได้ เพราะคุณสามารถบริจาคเลือดได้ทุก 3 เดือน โดยต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย ช่วยป้องกันภาวะเหล็กเกิน ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่หากมีธาตุเหล็กสะสมอยู่ภายในร่างกายมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis) คือ ธาตุเหล็กไปเกาะอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ หัวใจ ไต ส่งผลให้เป็นโรคอย่าง ตับแข็ง เบาหวาน ข้ออักเสบ เป็นต้น ซึ่งการบริจาคเลือดจะทำให้ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายน้อยลง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะเหล็กเกินได้ ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการศึกษาพบว่า การบริจาคเลือดเป็นประจำติดต่อกันนานหลายปี จะช่วยลดความเข้มข้นของเลือด และระดับธาตุเหล็กในร่างกาย จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวายได้ถึง 88% และลดความเสี่ยงของการเกิดอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจชนิดรุนแรง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม