ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

อาการปวดศีรษะและไมเกรน

แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้จริงหรือไม่

เมื่ออาการปวดหัวไมเกรน เข้าโจมตีคุณเมื่อไร อาการปวดนั้นก็จะทำให้คุณทุกข์ทรมาน หลายๆ คนก็อาจจะหาวิธีในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนว่าควรทำอย่างไร และแน่นอนว่าการใช้ แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน อาจจะผ่านตาหลาย ๆ คนมาบ้างแล้ว แต่หลายคนคงมีคำถามในใจว่า แล้วแมกนีเซียมนั้นมีส่วนช่วยในการป้องกันและบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้จริงหรือไม่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่มีความน่าสนใจนี้มาให้อ่านกันแล้วค่ะ ประเภทของแมกนีเซียม แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีบทบาทและประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกายอีกด้วย แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีหลายประเภท ดังนี้ แมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide) เป็นแมกนีเซียมในปริมาณสูง มักใช้ในการรักษาไมเกรน และใช้เพื่อเสริมในผู้ที่มีภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ แมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate) เป็นอาหารเสริมที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate) เป็นเกลืออนินทรีย์ที่มีระดับแมกนีเซียมสูง ส่วนใหญ่แล้วต้องผ่านกระบวนการเผาเพื่อให้ได้ แมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ (magnesium chloride) เป็นสารตั้งต้นที่มักจะนำมาผลิตสารประกอบแมกนีเซียมอื่น ๆ แมกนีเซียมซิเตรต (magnesium citrate) เป็นแร่ธาตุที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ในปริมาณมาก มักใช้เพื่อกระตุ้นในการขับถ่าย มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้อย่างไร จากการวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีปัญหาไมเกรนนั้นมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาไมเกรน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าการบริโภคแมกนีเซียมเป็นประจำนั้นมีส่วนช่วยลดความถี่ในการเกิดไมเกรนได้ถึงร้อยละ 41.6 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการได้รับอาหารเสริมแมกนีเซียมมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดไมเกรนที่มาจากประจำเดือนได้อีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม สำหรับผู้ที่มีปริมาณแมกนีเซียมต่ำ และต้องการเสริมแมกนีเซียมให้ร่างกาย อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีแมกนีเซียมอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบแมกนีเซียมในผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักใบเขียวหนึ่งถ้วยให้แมกนีเซียมมากถึงร้อยละ 38-40 […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ อาการยึกยือ อีกหนึ่งความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมักเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคจิตเภท  ส่งผลให้กล้ามเนื้อขยับเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น นิ้วกระตุกเอง แขนสะบัดเองโดยไม่ตั้งใจ เป็นต้น ทำความรู้จัก อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia) อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia)  เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาทางจิตเภท ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ตากระพริบเอง นิ้วกระตุก อย่างไรก็ตาม อาการยึกยือไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ทานยารักษาโรคทางจิตเภท ดังนั้นหากคุณรับประทานยาทางจิตเภทและพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นอาการยึกยือควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม สาเหตุของอาการยึกยือ สาเหตุของอาการยึกยือ เกิดจากผลข้างเคียงของการรับประทานยาที่รักษาโรคทางจิตเภท โดยยาที่รักษาโรคจิตเภทจะไปยับยั้งการทำงานของสารโดพามีน (Dopamine)  (สารโดพามีนมีหน้าที่ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น) โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานยารักษาโรคทางจิตเภทนาน 3 เดือน ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการยึกยือ ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการเกิดอาการยึกยือ มีดังต่อไปนี้ ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ยาฟลูนาริซีน (Flunarizine) ยาริสเพอริโดน (Risperidone) โอแลนซาปีน (Olanzapine) หากคุณรับประทานยาที่เกี่ยวกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน กรดไหลย้อน และยาที่ใช้ในการรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะ นานเกิน 3 เดือน อาจทำให้เกิดอาการยึกยือได้เช่นกัน เช่น ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) นอกจากนี้ยังสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการยึกยือ เช่น ผู้หญิงสูงอายุวัย 55 ปี […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)เป็นโรคที่อาจทำให้สมอง ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนกลางปิด นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้มากขึ้น กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันได้เลย คำจำกัดความ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) คืออะไร โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคที่ส่งผลต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทในดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การทรงตัว การควบคุมกล้ามเนื้อ และการทำงานพื้นฐานอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะแตกต่าง บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางคนอาจจะส่งผลต่อการเดินทางและการทำงานในชีวิตประจำวัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณโจมตีสารไขมัน (Fatty Material) ที่มีชื่อเรียกว่า ไมอีลิน (Myelin) ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องเส้นประสาทด้วยการพันรอบใยประสาท หากไม่มีไมอีลิน เส้นประสาทของคุณจะเสียหาย เนื้อเยื่อแผลเป็นก็อาจจะก่อตัวขึ้น ความเสียหายดังกล่าว หมายความว่า สมองคุณจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านร่างกายได้อย่างถูกต้อง ประสาทของคุณจะไม่ทำงานได้เท่าที่ควร เพื่อช่วยให้คุณเคลื่อนไหวและรู้สึกได้ เป็นผลทำให้คุณอาจมีอาการ ดังต่อไปนี้ มีปัญหาในการเดิน รู้สึกเหนื่อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกระตุก การมองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน อาการชาหรือเสียวซ่า ปัญหาทางเพศ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ไม่ดี ความเจ็บปวด ซึมเศร้า ปัญหาในการโฟกัสหรือจดจำ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง พบบ่อยเพียงใด อาการแรกเริ่มมักจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงอายุ 20-40 ปี คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการกำเริบหรืออาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และมักจะฟื้นตัวเมื่ออาการดีขึ้น ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พบวิธีการรักษาใหม่ๆ มากมาย ที่มักจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคและชะลอผลของโรคได้ อาการอาการของ […]


โรคลมชักและอาการชัก

ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)

ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)  จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ  ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว คำจำกัดความลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)  คืออะไร ลมชักชนิดเหม่อ (Absence Seizure)  จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวในการทำงานของระบบสมอง (มีอาการสั้นกว่า 15 วินาที และจะกลับมาหายเอง) ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหยุดนิ่งไปชั่วขณะ ไม่มีอาการตอบสนองชั่วคราว อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอาการลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ  แต่การสูญเสียสติแม้ในระยะเวลาสั้น ๆ สามารถทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้  ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม พบได้บ่อยเพียงใด ลมชักชนิดเหม่อสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย  โดยส่วนใหญ่มักพบบ่อยในวัยเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ถึง 9 ปี อาการอาการของลมชักชนิดเหม่อ โดยส่วนใหญ่อาการของลมชักชนิดเหม่อจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-9 ปี ซึ่งจะมีอาการที่แสดงออกแตกต่างกันออกไป ดังนี้ มีอาการสับสน หน้ามืด หยุดการเคลื่อนไหวไปชั่วขณะ ไม่ตอบสนองต่อคำแนะนำและคำถาม มีอาการเหม่อลอย กระพริบตาถี่ขึ้น เม้มปากแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีท่าท่าเหมือนกำลังเคี้ยวอาหาร มือทั้งสองข้างขยับขึ้นเอง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของลมชักชนิดเหม่อลอย ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการลมชักชนิดเหม่อ  โดยทั่วไปอาการชักเกิดจากการกระตุ้นของประจุไฟฟ้าที่ผิดปกติจากเซลล์ประสาทในสมอง  รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ดังนี้ การบาดเจ็บทางศีรษะ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ โรคหลอดเลือดสมองและเนื้องอก การได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด หรือความผิดปกติทางสมองก่อนคลอด ปัจจัยเสี่ยงของลมชักชนิดเหม่อลอย อายุ  พบได้บ่อยในวัยเด็ก เพศ พบได้บ่อยในเพศหญิง ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครัวเคยมีประวัติที่เกี่ยวกับอาการชัก […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

อาการชา สัญญาณเตือนโรคปลายประสาทอักเสบ ที่ร่างกายรับรู้ได้เมื่อ ขาดวิตามินบี

หลาย ๆ คนอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมรู้สึกมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาที่แขนและขา ปลายมือ ปลายเท้า เสียการทรงตัวหรือเดินเซ หากใครมีอาการเหล่านั้น ควรระวังกันไว้นะคะ เพราะคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรค ปลายประสาทอักเสบอยู่ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาคุณมารู้จักกับอาการของ โรคปลายประสาทอักเสบ พร้อมอาหารเสริมที่ควรกินเพื่อป้องกันโรคปลายประสาทอักเสบ เพราะถ้าเรารู้เท่าทัน สัญญาณเตือนโรคปลายประสาทอักเสบ ก็จะป้องกันพร้อมสร้างสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคได้.. โรคปลายประสาทอักเสบ คืออะไร “โรคปลายประสาทอักเสบ” ( Peripheral Neuropathy ) เป็นภาวะหนึ่งของระบบปลายประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากสมองส่งไปยังไขสันหลังและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อปลายประสาทอักเสบ จะทำให้การทำงานของเส้นประสาทผิดปกติจนไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ตามปกติ และเกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เช่น รู้สึกเจ็บแปลบ ๆ เจ็บคล้ายโดยไฟลน ตะคริว ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุกไม่สามารถควบคุมได้ เป็นโรคที่พบได้ในคนที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ทำงานหนักพักผ่อนน้อย ดื่มสุราหรือแอลกอฮอลล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือรับประทานยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อเส้นประสาท และที่สำคัญไปกว่านั้น […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

ยิ้มไม่สวย ถ่ายรูปไม่ปัง! ระวังคุณอาจกำลังเสี่ยงป่วยเป็น โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก

หากคุณถ่ายเซลฟีแล้วสังเกตพบว่า ทำไมทุกครั้งถ่ายรูปตนเองออกมา องศาของใบหน้ากลับดูแปลกไป อาจจะยิ้มไม่สวยเหมือนดั่งที่คาดเอาไว้ นอกจากปัจจัยที่เกี่ยวกับมุมกล้องแล้ว อาจเป็นที่มาของอาการแรกเริ่มของ โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก ก็เป็นได้ ดังนั้นบทความของ Hello วันนี้ จึงขอนำความรู้เบื้องต้นของโรคดังกล่าว มาฝากกันค่ะ เพื่อให้ทุกคนได้เริ่มเช็กตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนเกิดอาการรุนแรงขึ้นในอนาคต โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก คืออะไร โรคปากเบี้ยวครึ่งซีก หรือโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s Palsy) เป็นหนึ่งในอาการอัมพาตชั่วคราวของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทใต้ใบหน้าที่เกิดการอักเสบ ซึ่งมักจะเป็นเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่ง จึงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ บางครั้งอาจทำให้คุณประสบกับปัญหาในการพูดคุย การยิ้ม และต่อมรับรสเกิดความบกพร่อง อีกทั้งยังอาจมาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทบต่อทางสุขภาพ จนนำไปสู่การอัมพาตของใบหน้า เช่น ไวรัสงูสวัด เชื้อเอชไอวี ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) โรคไลม์ (Lyme Disease) ไวรัสจาก โรคมือเท้าปากเปื่อย (Coxsackievirus) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่โรคปากเบี้ยวครึ่งซีกสามารถหายไปเองได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรืออาจมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับการรักดูแลรักษา อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุ 16-60 ปี ขึ้นไป ถึงอย่างไรโรคดังกล่าวยังถูกจัดเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ยาก แต่ก็ไม่ควรที่จะประมาทได้ มาเช็กอาการของ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยวิธีที่คุณเองก็ทำได้

ในปี 2019 กรมควบคุมโรคได้ระบุว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ข้อมูลของประชาชนในปี 2562 ยังพบว่าประชากรทุกๆ 4 คนจะพบเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ส่วนข้อมูลของประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงและยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทยอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธี ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้มาให้อ่านกันค่ะ โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)  เป็นโรคที่เกิดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มคือ ภาวะที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมอง และภาวะที่มีเลือดออกในสมอง ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถพบได้ในทุกวัย และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิดยังทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดได้ด้วย เช่น ทำให้เกิดการอุดตัน หลอดเลือดอักเสบ สิ่งที่คุณควรทำเพื่อ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดสมองหรือการควบคุมสภาวะสุขภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งวิธีการเหล่านี้ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีส่วนช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ต่ำ และอาหารที่คอเลสเตอรอลต่ำ นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ยังช่วยป้องกันคอเลสเตอรอลสูงได้ด้วย ที่สำคัญหารลดปริมาณโซเดียมในอาหารลงยังช่วยลดความดันโลหิต เพราะทั้งคอเลสเตอรอลและโซเดียมต่างเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ เมื่อร่างกายมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วนขึ้นนั้นช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการคำนวณค่า […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ควรทำอย่างไรเมื่อ ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง

อาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่มักจะปวดแบบตุบ ๆ เพียงข้างเดียวของศีรษะ แต่สำหรับบางคนก็อาจจะมีอาการปวดได้ทั้งสองข้างของศีรษะ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ทำ อาหารที่รับประทาน หรือแม้แต่กระทั่งอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจสำหรับ วิธีรับมือสำหรับผู้ที่ ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุที่ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง การกำเริบของไมเกรนนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน สำหรับบางคนที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพ หากอากาศเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้อาการปวดหัวไมเกรนนั้นกำเริบได้ ซึ่งอากาศต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้ไมเกรนกำเริบได้ทั้งสิ้น เช่น แสงแดดจ้า อากาศร้อนจัด อาการเย็นจัด ความชื้นสูง อากาศแห้ง การเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศ เมื่อสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล จนทำให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบได้ หากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้นส่งผลทำให้อาการไมเกรนแย่ลง จนทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด รับมืออย่างไรเมื่อ ไมเกรนกำเริบเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ไป อาการปวดหัวไมเกรนนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสัญญาณเตือนก่อนว่า อาการปวดไมเกรนนั้นกำลังจะกำเริบแล้ว บางคนอาจมีสัญญาณก่อน 48 ชั่วโมง ก่อนที่อาการปวดหัวจะโจมตี ซึ่งอาการก่อนเกิดไมเกรนนั้นมักเรียกว่า อาการนำ (Prodromal) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการ ดังนี้ หงุดหงิด ซึมเศร้า หาวบ่อย รู้สึกตื่นเต้นบ่อย ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเป็นสัญญาณเตือนว่าอาการไมเกรนนั้นจะโจมตีคุณในไม่ช้า ในช่วงนี้คุณจะต้องจดบันทึกทุกวัน เพื่อดูว่าวันใดบ้างที่มีอาการปวดหัว แล้ววันต่าง ๆ เหล่านั้นมีสภาพอากาศเป็นเช่นไร เพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการไมเกรนแย่ลงหรือไม่ ที่สำคัญจะต้องจดบันทึกอย่างน้อยนาน 3 เดือนเพื่อรู้การเปลี่ยนแปลง โดยการจดบันทึกในแต่ละครั้งนั้นคุณจะต้องบันทึกว่า มีอาการเช่นไร ปวดบริเวณไหน และลักษณะการปวดเป็นเช่นไร […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง โดยหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และหลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น คำจำกัดความโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม(Cerebral arteriovenous malformation) คืออะไร   โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง อย่างไรก็ตามหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และ หลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น พบได้บ่อยเพียงใด โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเพศชายที่มีอายุระหว่าง 10-40 ปี อาการอาการโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม ผู้ป่วยสตรีมีครรภ์โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดและความดันโลหิต รวมถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี มักกมีอาการชัก มีเลือดคั่งที่หัวใจ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม จะมีอาการแสดงออก ดังนี้ ชัก ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียการมองเห็น อัมพาต สับสน ไม่สามารถเข้าใจการสื่อสารของผู้อื่น ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ สามารถออกกำลังกายได้หรือไม่

การออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมที่ดีต่อทั้งผู้ที่มีสุขภาพดีอยู่แล้วและผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง โดยเฉพาะกับ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่การออกกำลังกายนั้นให้ประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ รวมถึงมีส่วนช่วยกระตุ้นและพัฒนากระบวนการทำงานของสมองด้วย แต่การออกกำลังกายจะดีต่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างไร และการออกกำลังกายแบบใดบ้างที่ดีต่อผู้ป่วยที่เป็น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) มาติดตามได้ที่บทความนี้เลยค่ะ จาก Hello คุณหมอ การออกกำลังกายดีต่อ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อย่างไร การออกกำลังกายไม่อาจพูดได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าสามารถช่วยให้หายขาดจากโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่…การให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะการออกกำลังกายจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตซึ่งการไหลเวียนของโลหิตนี้ก็จะไปช่วยในการสูบฉีดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง เป็นการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองได้อีกทางหนึ่ง และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญของผู้ป่วย ทำให้ร่างกายแข็งแรง สิ่งสำคัญนอกจากนั้นคือ การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการปรับสภาพอารมณ์ของผู้ป่วยด้วย โรคอัลไซเมอร์ ให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเครียดหรือภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยอีกด้วย ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ควรออกกำลังกายแบบใด ผู้ป่วยด้วย โรคอัลไซเมอร์ สามารถที่จะออกกำลังกายได้อย่างแน่นอน และเป็นผลดีต่อผู้ป่วยเองด้วย แต่สิ่งที่ควรจะต้องมีการใส่ใจเป็นพิเศษ คือ จะต้องดูว่าผู้ป่วยมีระยะของอาการเป็นแบบใด ความรุนแรงของอาการนั้นน้อยหรือมาก ควรจะต้องปรึกษากับคุณหมอและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะได้เลือกกิจกรรมและการออกกำลังกายได้ตรงกับระยะของโรคที่เป็นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นคือ ผู้ป่วยจะต้องรู้สึกสนุกสนานที่ได้ทำกิจกรรมนั้น ไม่รู้สึกเครียดหรือหักโหมจนเกินไป โดยก่อนเริ่มการออกกำลังกายควรให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีการวอร์มอัพก่อนเสมอ เพื่อเสริมความยืดหยุ่นให้ร่างกายและลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย กิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายกิจกรรมให้เลือกทำ ดังนี้ รำไทเก็ก การออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊ก เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยในเรื่องความยืดหยุ่นของร่างกาย ดีต่อข้อต่อ และยังช่วยปรับสมดุลจากภายในสู่ภายนอกอีกด้วย ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะรู้สึกผ่อนคลายและช่วยในการปรับบุคลิกภาพได้ การว่ายน้ำ การว่ายน้ำหรือกิจกรรมที่ทำในน้ำเป็นรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยด้วย โรคอัลไซเมอร์ อย่างยิ่ง เพราะดีสำหรับข้อต่อของร่างกาย ดีต่อระบบหัวใจ และช่วยผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นกิจกรรมทางน้ำที่ได้ทำร่วมกับผู้อื่นก็จะเป็นการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ให้แก่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้มีการเข้าสังคมและเกิดการสนทนากับผู้อื่นมากขึ้น เล่นโยคะ กิจกรรมโยคะเป็นกิจกรรมที่เด่นในเรื่องการยืดหยุ่นร่างกาย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม