ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

อาการเซ (Ataxia)

อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น คำจำกัดความอาการเซ (Ataxia) คืออะไร  อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น  พบได้บ่อยเพียงใด อาการเซสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองและไขสันหลัง ส่วนใหญ่จะปรากฎอาการเหล่านี้ในผู้ที่มีอายุก่อน 25 ปี    อาการอาการเซ (Ataxia) อาการเซเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้  มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ดวงตาเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา ประสิทธิภาพการใช้กล้ามเนื้อลดลง เช่น การรับประทานอาหาร การเขียน การติดกระดุมเสื้อ การเคลื่อนไหว การทรงตัวไม่ดี เช่น มีอาการเซขณะเดิน หรือขณะลุกและนั่ง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการเซ (Ataxia) สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเซเกิดจากความเสียหายของเซลล์ส่วนประสาทในส่วนที่ควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลในการเคลื่อนไหว รวมถึงสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้  ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้

ภาวะสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมักมีปัญหาเกี่ยวกับความจำและความคิด ซึ่งส่งผลต่อผู้คนประมาณ 50 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้องค์กรอนามัยโลก (WHO) ยังคาดการณ์ว่าน่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าใน 30 ปีข้างหน้า แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นจะยังไม่มีวิธีในการรักษา แต่วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างง่าย ๆ 5 วิธี ที่ช่วย ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ได้ 5 วิธี ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม อายุที่มากขึ้นก็มักจะมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพมากมาย ปัญหาภาวะสมองเสื่อม เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มักจะเกิดเมื่ออายุมากขึ้น แม้ภาวะสมองเสื่อมจะยังไม่มีวิธีการรักษา แต่การปฏิบัติตัวที่ดีก็มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนี้ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ที่สำคัญการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นยังส่งผลดีต่อสมองอีกด้วย องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำว่าการบริโภคผลไม้ ผัก ปลา ถั่ว น้ำมันมะกอก และกาแฟ อาหารเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ทั้งสิ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นักวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลดีต่อสมอง จากการศึกษาในปี 2019 พบว่า ผู้ที่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ มีอาการของภาวะสมองเสื่อมน้อยกว่าผู้ไม่ออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ โดยควรออกกำลังกายระดับปานกลาง […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

สัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าคุณมี อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยจะมีความคิด การสื่อสาร และความจำบกพร่อง บางครั้งคุณอาจมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ หรือว่าสูญเสียความทรงจำ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาเหล่าเป็นปัญหาภาวะสมองเสื่อม การที่จะมีภาวะสมองเสื่อมจะต้องมีความบกพร่องอย่างน้อย 2 ประเภท ซึ่งปัญหาเหล่านั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากคุณหมอว่ามีอาการของภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มี สัญญาณ อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม มาให้อ่านกันค่ะ รู้จักกับอาการสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลความจำ ความคิด และการสื่อสาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลอย่างรุนแรงต่อผู้ป่วย จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากโรคอื่น ๆ จนทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ถึงแม้ว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความทรงจำ แต่บางครั้งการที่คุณสูญเสียความทรงจำ ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคุณมีภาวะสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แต่ก็มียังมีสาเหตุและโรคอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อม ซึ่งในแต่ละโรคก็จะมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันออกไป สัญญาณ อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม สำหรับผู้ที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจากแพทย์ จะต้องมีอาการของภาวะสมองเสื่อมอย่างน้อย 2 ประเภท ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสัญญาณและอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่านี่คืออาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม เกิดความเปลี่ยนแปลงกับความจำระยะสั้น การมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ ถือเป็นปัญหาเริ่มต้นที่มักจะพบในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะความจำระยะสั้น โดยจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น จำได้ว่าไปกินข้าวที่ไหนมา แต่จำไม่ได้ว่ากินอะไรไปบ้าง […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

อาการปากชา อีกหนึ่งสัญญาณเตือนโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอยู่ด้วยกันหลายอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ อาการปากชาและรู้สึกเสียวซ่าในปาก สำหรับ อาการปากชา ถือเป็นความผิดปกติในการรับรู้ความรู้สึก แต่มันจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคปลอกประสาทเสื่อแข็งหรือไม่ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน อาการปากชา กับ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ในขณะที่หลายคนที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการชาและรู้สึกเสียวซ่าในบางครั้ง แต่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินหรือเคยมีอาการปากชา และรู้สึกเสียวซ่าในปาก ซึ่งเป็นอาการที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปากชาถือเป็นความผิดปกติในการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Disturbances) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเยื่อไมอีลิน (Myelin) ซึ่งเป็นปลอกไขมันที่หุ้มใยประสาท เกิดความเสียหายหรือถูกทำลาย โดยทั่วไปมักเกิดจากรอยโรค (Lesion) ที่ก้านสมอง และอาจส่งผลต่อใบหน้าด้วย เช่นเดียวกับอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอื่น ๆ คุณหมอสามารถวินิจฉัยอาการชาที่เกิดขึ้นใหม่ได้โดยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging; MRI) การศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ชี้ให้เห็นว่า การใช้ศักยภาพที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นทางประสาทวิทยาของเส้นประสาทไทรเจมินัล (Trigeminal) สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยได้ ความรู้สึกเมื่อเกิดอาการปากชา สำหรับอาการปากชาที่เกิดขึ้นของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาการชาสามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ บางคนอธิบายว่า อาการปากชาเปรียบเทียบได้กับการอุดฟัน (Cavity Filled) เมื่อเหงือกถูกฉีดยาชา คนอื่น ๆ อธิบายว่า อาการปากชามีความรู้สึกเหมือนลิ้นหรือบริเวณอื่น ๆ ภายในปากบวม หรือแสบร้อน อาการปากชาที่เกิดขึ้นกับบางคน […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม หนึ่งในอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยสมองเสื่อม

อาการประสาทหลอน เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งผู้ป่วยจะเห็นภาพหลอน บางครั้งก็จะได้ยินเป็นเสียง ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งอาการประสาทหลอนนั้นนอกจากทำให้ผู้ป่วยกลัวและหวาดระแวงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ดูแลหวาดกลัวได้เช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนไปรู้จักกับ อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม และวิธีดูแลรักษาผู้ป่วยกันค่ะ ทำความรู้จักกับ อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาการประสาทหลอน เป็นการรับรู้ การสัมผัสได้ถึงภาพและเสียงที่เหมือนความเป็นจริง แต่จริง ๆ แล้วภาพและเสียงเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาจากสมอง ส่วนใหญ่แล้วมักจะเห็นเป็นภาพหลอนขึ้นมา บางครั้งก็มักจะได้ยินเป็นเสียงด้วย บางครั้งอาจจะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงพร้อม ๆ กัน แต่อาการนี้มักจะพบได้ยาก สำหรับผู้ป่วยสมองเสี่อม อาการประสาทหลอนจะเกิดขึ้นในช่วงระยะหนึ่งและหายไป ไม่ได้มีอาการประสาทหลอนอยู่ตลอดเวลา อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม เกิดได้จากอะไร อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อมนั้น เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในสมอง ซึ่งเกิดจากอาการของโรคสมองเสื่อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความทรงจำ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถจำใบหน้าหรือเหตุการณ์ในอดีตได้ ทำให้เกิดภาพหลอน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ (Lewy body dementia) ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีความสามารถในการรับรู้ขนาดและระยะห่างของสิ่งรอบ ๆ ตัวลดลง จนทำให้เกิดเป็นภาพหลอนขึ้นมา อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมเกิดภาพหลอนขึ้นมาได้คือ การประมวลผลของสมองผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาพหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อมอีกด้วย เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน Sundown syndrome ความวิตกกังวล วิธีรับมือกับอาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม การรับมือกับอาการประสาทหลอนหรือสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นถือเป็นเรื่องยากและน่ากลัว แต่ก็ยังมีวิธีที่สามารถรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ สร้างความอุ่นใจให้กับผู้ป่วย การสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ป่วยนั้นสามารถทำได้หลายวิธีนอกจากการอยู่เคียงข้างในช่วงเวลาที่อาการกำเริบแล้ว การพูดปลอบใจด้วยถ้อยคำที่น่าฟังยังช่วยให้เขารู้สึกอุ่นใจขึ้นได้ด้วย […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

การติดตามอาการโรคไมเกรน อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณควบคุมโรคนี้ได้ดีขึ้น

อาการปวดศีรษะไมเกรน (Migraine) เป็นการปวดศีรษะอีกหนึ่งประเภทที่รุนแรงและสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก เมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้คุณเข้ารับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม ร่วมกับดูแลตัวเองในเบื้องต้น และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง แต่นอกจากวิธีเหล่านี้แล้ว Hello คุณหมอ ก็อยากแนะนำให้คุณจดบันทึกที่เรียกว่า “การติดตามอาการโรคไมเกรน” ไว้ด้วย ว่าแต่การติดตามอาการโรคไมเกรนสำคัญอย่างไร และเราควรจดบันทึกอะไรบ้าง เราไปหาคำตอบกันเลย การติดตามอาการโรคไมเกรน สำคัญอย่างไร การติดตามอาการโรคไมเกรน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคไมเกรนที่เกิดขึ้น ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับคุณที่สุด ทั้งยังช่วยให้ตัวคุณเองรู้เท่าทันอาการของโรค และสามารถปรับตัว หรือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อรับมือกับโรคให้ดีขึ้นได้ด้วย แม้อาการของโรคไมเกรนมักจะมาแบบเป็น ๆ หาย ๆ ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้คุณบันทึกหรือติดตามอาการของโรคไว้ตลอด โดยผู้ป่วยโรคไมเกรนแต่ละรายอาจต้องบันทึกการติดตามอาการของโรคติดต่อกันทุกวันยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือตลอดการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของโรค การติดตามอาการโรคไมเกรน ควรบันทึกเรื่องใดบ้าง สิ่งที่คุณควรจดบันทึกไว้เวลาติดตามอาการโรคไมเกรนอาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ อาการที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรงของอาการ และความถี่ในการเกิดอาการ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คุณบันทึกอาการ และแบ่งระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นออกเป็น 4 ระดับ ตั้งแต่ 0-3 โดยวัดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้ ระดับ 0 : วันที่ไม่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน สำหรับคนที่ปวดศีรษะไมเกรนเรื้อรัง อาจมีวันที่อาการไม่กำเริบเลยไม่บ่อยนัก ฉะนั้น หากมีวันไหนที่คุณไม่รู้สึกปวดศีรษะไมเกรนเลย ก็ต้องบันทึกไว้ด้วย ห้ามลืมเด็ดขาด ระดับ 1 […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัว ปวดไมเกรน ต้องลองดื่ม ชาบรรเทาอาการปวดศีรษะ

อาการปวดหัว เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป เมื่อรู้สึกได้ถึงอาการปวดแล้ว มักจะตามมาด้วยความรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และต้องการการพักผ่อน เราจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีลดอาการปวดลง บางคนอาจแก้ได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด บางคนขอแค่นอนสักงีบก็รู้สึกดีขึ้น หรือบางคนขอแค่ออกไปพักสายตาสักครู่หนึ่งอาการปวดหัวก็หายเป็นผลิดทิ้งได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวเป็นประจำ รวมไปถึงอาจสามารถบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้เช่นกัน วิธีนั้นคือการดื่ม ชาบรรเทาอาการปวดศีรษะ แต่จะมีชาอะไรบ้างที่แก้ปวดหัวได้ มาติดตามกันที่บทความนี้เลยค่ะ ชาบรรเทาอาการปวดศีรษะ มีอะไรบ้าง ชาขิง ชาขิง หรือบางคนอาจจะเรียกว่าขิงผงก็ได้ ชาขิงแม้จะไม่ใช่ชาชนิดที่ทำมาจากใบชา แต่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของชาสมุนไพร คือไม่ได้เก็บจากใบชา แต่มีกรรมวิธีในการชงที่คล้ายกับชา ชาขิงเป็นชาที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดหัวมาอย่างยาวนาน เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยต้านการอักเสบ ช่วยลดอาการเจ็บปวดที่สมอง ผ่อนคลายและขยายหลอดเลือดเพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดี จากผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ทางการแพทย์พบว่า การดื่มชาขิงให้ผลลัพธ์ในการบรรเทาอาการปวดหัวได้ใกล้เคียงกับการใช้ยารักษาไมเกรน (Migrain) และปวดศีรษะอย่าง ซูมาทริปแทน (Sumatriptan)  ชาเปปเปอร์มิ้น (สะระแหน่) ลำไส้เป็นอวัยวะที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสมอง เพราะการหดหรือเกร็งตัวของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณลำไส้สามารถส่งผลไปยังสมอง ทำให้เกิด อาการปวดหัว ได้ มีผลการวิจัยพบว่า ชาเปปเปอร์มิ้นหรือชาใบสะระแหน่ มีสรรพคุณช่วยคลายเส้นประสาทและอาการหดเกร็งในลำไส้ จึงช่วยลดความเสี่ยงหรือบรรเทาอาการปวดหัวให้ทุเลาลงได้ ชาฟีเวอร์ฟิว ฟีเวอร์ฟิว เป็นพืชดอกในตระกูลเดียวกับดอกเดซี่ และมีสรรพคุณทางยาที่ถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีผลการวิจัยที่ได้เผยให้เห็นถึงประสิทธิภาพของฟีเวอร์ฟิวว่าสามารถช่วยลดอาการปวดหัว โดยเฉพาะอาการปวดหัวแบบไมเกรนได้เป็นอย่างดี แต่ชาฟีเวอร์ฟิวจะมีรสชาติที่ค่อนข้างติดขม สามารถเพิ่มความหวานด้วยน้ำผึ้ง เพื่อให้สามารถดื่มได้ง่ายขึ้น ชาเปลือกต้นวิลโลว์ เปลือกต้นวิลโลว์หรือเปลือกต้นหลิว เป็นสมุนไพรที่ถูกใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดและอาการอักเสบมายาวนานนับพันปี จากผลการวิจัยพบว่าเปลือกต้นวิลโลว์อุดมไปด้วยสารซาลิซิน […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

ซินเนสทีเซีย (Synesthesia) สัมผัสพิเศษให้คุณเห็นภาพสีจากเสียง

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสัมผัสพิเศษที่ใคร ๆ หลายคนอยากมี เพราะเป็นเหมือนพรพิเศษจากพระเจ้าที่ทำให้เรามีความสามารถเพิ่มขึ้นแตกต่างจากคนทั่วไป ซึ่งอาการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า “ซินเนสทีเซีย”  ผู้ที่มีสัมผัสพิเศษดังกล่าว นอกจากจะมีความจำเป็นเลิศแล้ว ยามที่ฟังเพลง ก็จะสามารถจะเห็นเพลงเป็นภาพสี หรือสีสันในรูปทรงอิสระ หรือแม้แต่ในยามรับประทานอาหาร กลุ่มคนเหล่านี้ก็อาจจะรู้สึกถึงรูปทรงจากผิวสัมผัส เช่น รูปร่างกลมมนหรือหนามแหลม เป็นต้น แต่..จะมีความพิเศษอะไรอีกบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ สัมผัสพิเศษ หรือ ซินเนสทีเซีย (Synesthesia) คืออะไร   ซินเนสทีเซีย (Synesthesia) หมายถึงการรับรู้ประสาทสัมผัสตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นพร้อมกัน โดยคำดังกล่าวมีที่มาจากคำภาษากรีกคำว่าซิน (Syn) ที่แปลว่าร่วมกัน และเอสทีเซีย (Ethesia) ที่แปลว่า การรับรู้ อย่างไรก็ตาม สัมผัสพิเศษซินเนสทีเซียนี้ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคหรืออาการป่วยใด ๆ เป็นเพียงลักษณะพิเศษ หรือเรียกว่า อาการ เท่านั้น ลักษณะของผู้ที่มีสัมผัสพิเศษซินเนสทีเซียส่วนใหญ่จะถนัดซ้ายและมีประสาทสัมผัสที่พบบ่อยที่สุดคือ การเห็นตัวอักษรหรือตัวเลข เป็นสี ประเภทของ สัมผัสพิเศษ ที่พบบ่อย โดยปกติคนเราจะมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้ความรู้สึก เช่น การมองเห็น การดมกลิ่น การสัมผัส การได้ยิน การรับรส […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

ชอบให้แฟนนอนหนุนแขนบ่อยๆ ระวังเสี่ยงเป็น ภาวะพาเรสทีเซีย

การนอนหนุนแขนแฟน ช่างดูเป็นท่านอนที่ให้ความรู้สึกโรแมนติกและอบอุ่นซะเหลือเกิน สัมผัสที่โอบกอดซึ่งกันและกันสามารถช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคู่รักให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น แต่ในทางทฤษฎี หากคุณให้แฟนนอนหนุนแขนบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทแบบไม่ได้ตั้งใจ และเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะพาเรสทีเซีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าวนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ ภาวะพาเรสทีเซีย (Paresthesia) คืออะไร ภาวะพาเรสทีเซีย (Paresthesia) เกิดจากการกดทับที่เส้นประสาท โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนั่งทับขา การนอนทับแขน เป็นเวลานาน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชา คัน ปวดแสบปวดร้อน เหมือนโดนเข็มทิ่มโดยเฉพาะบริเวณแขนและขา อย่างไรก็ตาม ภาวะพาเรสทีเซียไม่ใช่โรคเรื้อรังร้ายแรง เป็นอาการเพียงชั่วคราวสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากคุณมีโรคประจำตัว และยังมีอาการชาอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป สาเหตุของภาวะพาเรสทีเซีย ภาวะพาเรสทีเซียเกิดจากการกดทับของเส้นประสาท หรือช่วงเวลาสั้น ๆ ในการขัดขวางระบบการหมุนเวียนของเลือด โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก การนอนหลับทับมือหรือแขน การนั่งไขว้ขานานเกินไป แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการชาเรื้อรัง อาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ซึ่งมีสาเหตุดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดตีบ เนื้องอกในไขสันหลังหรือสมอง โรคเบาหวาน โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อต่าง ๆ ความผิดปกติของเส้นประสาท แขนขา รู้สึกชาโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณเตือนของภาวะพาเรสทีเซีย  ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพาเรสทีเซีย จะมีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกเสียวซ่า เหมือนโดนเข็มทิ่มร่างกาย ปวดเมื่อย ปวดแสบ ปวดร้อน อาการชา คัน ผิวหนังร้อน ๆ หนาว ๆ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพาเรสทีเซีย มีอาการทางระบบประสาท เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis; MS) มีภาวะแพ้ภูมิตัวเอง เคลื่อนไหวซ้ำ […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

วิธีบรรเทาอาการปวด จาก อาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ แบบที่ไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด

กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ นั้นเป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดอาการมือไม้อ่อนแรง นิ้วกระตุก มือชา หรืออาจทำให้เรารู้สึกปวดเส้นประสาท จนไม่สามารถใช้งานมือข้างนั้นได้อย่างเต็มที่ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำวิธีดีๆ ในการ ลดอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ มาให้คุณผู้อ่านกันค่ะ เทคนิคการ ลดอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ พักผ่อน การพักผ่อน และงดเว้นการเคลื่อนไหวในบริเวณมือข้างที่มีอาการ เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ที่จะช่วยลดอาการปวดเส้นประสาท จากอาการเส้นประสาทกดทับที่มือได้ เพราะหากคุณยิ่งใช้มือข้างที่มีปัญหา ก็อาจจะยิ่งทำให้อาการอักเสบและบวมในบริเวณข้อมือนั้นยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้นได้ หากคุณกลัวว่าตัวเองจะเผลอใช้ข้อมือที่มีอาการนั้น อาจใช้วิธีการพันผ้าพันแผลในข้อมือข้างที่มีอาการ เพื่อตรึงให้ข้อมืออยู่นิ่งได้มากขึ้น นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะใช้วิธีการใส่เฝือกที่ข้อมือ เพื่อช่วยตรึงข้อมือให้อยู่นิ่ง และลดโอกาสการเคลื่อนไหวของข้อมือได้มากยิ่งขึ้น เปลี่ยนท่า ปัญหาการกดทับของเส้นประสาทที่ข้อมือนั้น มักจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวข้อมือด้วยท่าเดิมซ้ำๆ หรือมาจากการวางมือทำงานในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น การวางมือขณะพิมพ์งาน วาดรูป หรือเล่นเปียโน การเคลื่อนไหวข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำๆ นั้นจะทำให้เกิดความตึงเครียดต่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในบริเวณมือ และส่งผลให้เกิดการอักเสบ บวม และเส้นประสาทกดทับได้ ลองเปลี่ยนท่าทางการใช้ข้อมือดู โดยอาจจะเริ่มจากการพักการใช้มือ มายืดเส้นยืดสายเล็กน้อย ทุกๆ 30 นาที และพยายามจัดวางมือให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม เป็นธรรมชาติ ไม่ยกสูงหรือต่ำจนเกินไป หากคุณต้องพิมพ์งานหรือเขียนงานเป็นเวลานานๆ อาจลองปรับท่านั่งให้ถูกต้อง และหาอะไรนุ่มๆ มารองในบริเวณข้อมือ จะช่วยให้มืออยู่ในท่าที่เหมาะสม และช่วยให้อาการปวดลดน้อยลงได้ เลือกรับประทานอาหาร การเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือได้เช่นกัน โดยอาหารที่คุณควรเลือกรับประทานมีดังนี้ พริกหยวกแดง หนึ่งในปัญหาจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือนั้น คืออาการอักเสบและอาการบวมที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม