พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ

มื้อกลางวัน เป็นอีกหนึ่งมื้ออาหารที่สำคัญไม่แพ้มื้อไหน ๆ โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการเรียนในช่วงบ่าย ยิ่งหากจัดเตรียมข้าวกล่องไปเองจะยิ่งมั่นใจได้ว่าสามารถเลือกสรรค์วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับลูก บทความนี้จึงอยากจะมาแนะนำ เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม จากข้อแนะนำการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีแห่งสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ.ศ. 2563-2568 แนะนำว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบ ดังนี้ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืช  ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โปรตีนจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่าง ๆ ไขมันดี นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารดังต่อไปนี้ อาหารไขมันไม่ดีสูง เช่น ของทอด อาหารที่มีการเติมน้ำตาล เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารรสเค็มจัด ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนและสมวัย เหมาะสำหรับพัฒนาการของเด็กวัยเรียน 3 เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ 1. ไข่ยัดไส้ ส่วนผสม ไข่ไก่ 1 ฟอง หมูสับ (หรือไก่สับ)  […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด มีอะไรบ้าง และการกระตุ้นให้ลูกพูดสำคัญอย่างไร

ลูกเริ่มเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางภาษากับการพูดตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะเริ่มเรียนรู้และเลียนแบบจากคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้าง โดย วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อาจทำได้หลายวิธี แต่ควรเป็นวิธีที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุด้วย [embed-health-tool-due-date] ความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการพูดของลูก ทารกเริ่มเรียนรู้ทักษะด้านการฟังและการพูดตั้งแต่แรกเกิด โดยจะเริ่มเรียนรู้จากการฟังเสียงคุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้าง ทำความเข้าใจกับภาษา จากนั้นจะเริ่มสื่อสารด้วยการเปล่งเสียงแต่ไม่ใช้คำพูด ซึ่งการฝึกทักษะด้านภาษาและกระตุ้นให้ลูกพูดจึงมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคต ดังนี้ ช่วยให้ลูกสามารถเข้าเรียนและทำกิจกรรมในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กที่มีทักษะการพูดและการใช้ภาษาที่ดีจะสามารถทำความเข้าใจกับความรู้ในห้องเรียนได้ดี และยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เพราะเมื่อลูกพูดได้คล่องจะช่วยให้ลูกสามารถสื่อสารกับเพื่อนหรือคนรอบข้างได้อย่างมั่นใจ ช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารความต้องการได้ดี เมื่อลูกมีความต้องการ หรือต้องการปฏิเสธบางอย่าง การพูดเป็นสิ่งที่จะสามารถสื่อสารได้ตรงประเด็นมากที่สุด ช่วยให้เด็กผูกมิตรกับคนรอบข้างได้ การพูดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการผูกมิตรกับเพื่อนและคนรอบข้าง ช่วยให้เด็กเข้าใจโลกรอบตัว เพราะเมื่อลูกมีความเข้าใจในทักษะทางภาษาและการพูดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกพัฒนาความรู้รอบตัวได้มากเท่านั้น วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ การเป็นตัวอย่างที่ดี ลูกสามารถเรียนรู้ทักษะทางภาษาและการพูดได้ดีที่สุดจากการสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างจึงควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการพูด เช่น พูดเป็นคำหรือประโยคอย่างช้า ๆ ชัดเจน และใจเย็น ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของลูก พูดพร้อมกับสบตาลูกทุกครั้ง พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จะช่วยย้ำเตือนให้ลูกจำได้เร็วขึ้น พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ หากลูกพูดผิดก็พูดแก้ไขคำเดิมเรื่อย ๆ จากนั้นให้ขยายไปเป็นคำอื่น ๆ มากขึ้น พูดอธิบายและแสดงความคิดเห็นในที่สิ่งที่ตัวเองหรือลูกกำลังทำ ตั้งใจฟังเมื่อลูกพูด และอดทนเมื่อลูกพูดช้าหรือพูดผิด […]


วัยรุ่น

สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทํา กับลูกวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

วัยรุ่น เป็นวัยที่ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนและหงุดหงิดง่าย นอกจากนั้น ยังอาจเริ่มมีสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ รวมทั้งกิจกรรมใหม่ ๆ ที่พ่อแม่อาจไม่คุ้นเคยและเริ่มตั้งคำถามหรือต้องการที่จะควบคุมพฤติกรรมของลูก จนอาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ทั้งนี้ พ่อแม่ควรทำความเข้าใจว่า สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทำกับ ลูกวัยรุ่น มีอะไรบ้าง [embed-health-tool-ovulation] พฤติกรรมของวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ต้องการความเข้าใจและความรักเช่นเดียวกับวัยอื่น ๆ เพียงแต่พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ระดับฮอร์โมน อารมณ์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นความหงุดหงิด ไม่สบายตัว นอกจากนี้ ความต้องการในชีวิตเองก็เริ่มเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ต้องการอยู่กับเพื่อน มีความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องการการควบคุม อยากรู้อยากเห็น เริ่มทดลองสิ่งต่าง ๆ และอาจเริ่มทำตัวท้าทายพ่อแม่ เริ่มมีความลับ อย่างไรก็ตาม แม้ลูกวัยรุ่นจะแสดงออกว่าพวกเขาไม่ต้องการพ่อแม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขายังต้องการกำลังใจ ความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจจากพ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่ อาจจะต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน และแสดงออกอย่างพอดีให้ลูกวัยรุ่นทราบว่า รักและเป็นห่วง แต่ให้อิสระในการตัดสินใจ หากลูกมีปัญหาก็พร้อมจะอยู่เคียงข้าง นอกจากนั้น พ่อแม่ควรทราบว่า สิ่งที่ พ่อ แม่ไม่ควร ทํา กับลูกวัยรุ่น […]


วัยรุ่น

พัฒนาการของวัยรุ่น ด้านต่าง ๆ มีอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

พัฒนาการของวัยรุ่น จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 10-14 ปีสำหรับเด็กผู้หญิง ในขณะที่เด็กผู้ชายจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างอายุ 12-16 ปี โดยเป็นช่วงวัยที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความต้องการทางเพศ รวมทั้งพฤติกรรมการเข้าสังคม หากเข้าใจและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้จะทำให้วัยรุ่นและคนครอบครัวก้าวข้ามช่วงเวลาสำคัญนี้ไปได้ด้วยความเข้าใจอันดีและมีความสุข [embed-health-tool-ovulation] พัฒนาการของวัยรุ่น ด้านร่างกายและระบบสืบพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในวัยรุ่นนั้นรวมไปถึงกระบวนการพัฒนาของระบบสืบพันธ์ ซึ่งในช่วงนี้ร่างกายจะเริ่มผลิตฮอร์โมนเพศที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ ทำให้น้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการมีกลิ่นตัว มีสิวขึ้น และเริ่มมีขนขึ้นตามร่างกายและอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น รักแร้ อวัยวะเพศ หน้าแข้ง หน้าอก การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นเพศหญิง ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ หน้าอกจะเริ่มขยาย เริ่มมีเต้านม มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ มีประจำเดือนซึ่งหมายถึงร่างกายพร้อมที่จะสืบพันธุ์หรือมีลูกได้นั่นเอง การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นเพศชาย ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ เสียงเริ่มแตกและแหบพร่า อวัยวะเพศหรือองคชาตจะมีขนาดใหญ่ขึ้น อวัยวะเพศเริ่มมีการแข็งตัวเมื่อมีความต้องการทางเพศ มีการหลั่งน้ำอสุจิเมื่อถึงจุดสุดยอด ฝันเปียก ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย มักเกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์และความต้องการทางเพศ วัยรุ่นจะเริ่มสำรวจตนเองและเริ่มมีความต้องการทางเพศ ผู้ปกครองจึงควรให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการรู้จักใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของวัยรุ่น ในด้านร่างกายนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางรายอาจจะมีพัฒนาการเร็ว ในขณะที่บางรายอาจมีพัฒนาการช้า ซึ่งอาจทำให้เกิดความกดดันหรือความเครียดได้หากพบว่าตนเองมีพัฒนาการที่แตกต่างจากกลุ่มเพื่อน ผู้ปกครองจึงมีส่วนสำคัญในการอธิบายให้ลูกวัยรุ่นเข้าใจในจุดนี้ พัฒนาการของวัยรุ่น ด้านสมองและความคิด ระดับฮอร์โมนและพัฒนาการด้านสมองล้วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอารมณ์ เนื่องจากก่อให้เกิดพัฒนาการในด้านการใช้เหตุผล […]


วัยรุ่น

โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควร คืออะไร รักษาอย่างไร

โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควร หมายถึง ภาวะที่ร่างกายของเด็กผู้หญิงเติบโตสู่ภาวะเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ หรือเร็วกว่าค่าอายุเฉลี่ยของเด็กในวัยเดียวกัน โดยจะพิจารณาว่าเด็กคนไหนเป็น โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควรเมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงก่อนอายุ 8 ปี นอกจากนี้ อาจพบได้ในเด็กผู้ชายเช่นกัน เรียกว่า โรคเป็นหนุ่มก่อนวัยอันควร โดยร่างกายจะเป็นหนุ่มก่อนอายุ 9 ปีในเด็กผู้ชาย [embed-health-tool-ovulation] โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควร คืออะไร โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควร (Precocious puberty) หมายถึง ภาวะที่เด็กเปลี่ยนผ่านไปสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าค่าเฉลี่ย โดยปกติ เด็กผู้หญิงจะเริ่มเป็นสาวเมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 10 ปี และเด็กผู้ชายจะเริ่มเป็นหนุ่มเมื่ออายุเฉลี่ยประมาณ 11 ปี โดยเด็กผู้หญิงที่เรียกว่าเป็น โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควร จะมีสัญญาณเตือนของภาวะเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 8 ปี และเด็กผู้ชาย อาจเป็นโรคเป็นหนุ่มก่อนวัยอันควร เมื่อมีสัญญาณเตือนภาวะเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 9 ปี อาการ โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควร อาการ โรคเป็นสาวก่อนวัยอันควร สามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ดังนี้ เริ่มมีขนขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา รักแร้ และขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ร่างกายสูงขึ้นหรือน้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ หน้าอกเริ่มขยาย สะโพกผาย เริ่มมีส่วนเว้าส่วนโค้ง มีสิวขึ้นตามใบหน้า หรือบริเวณแผ่นหลัง […]


เด็กวัยเรียน

เรียนออนไลน์ มีข้อดีและข้อเสียต่อเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง

เรียนออนไลน์ กลายเป็นรูปแบบการเรียนที่สำคัญสำหรับการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต นับเป็นทางเลือกใหม่นอกเหนือไปจากการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนหรือเวลาใด สามารถเลือกเรียนออนไลน์และหาความรู้ใหม่ ๆ ได้เสมอ อย่างไรก็ตาม เรียนออนไลน์ ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อเด็ก ๆ ที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ [embed-health-tool-bmi] เรียนออนไลน์ คืออะไร การเรียนออนไลน์ หมายถึง การเรียนที่ผู้เรียนและผู้สอน เชื่อมต่อบทเรียนผ่านอินเทอร์เนต โดยมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือและสื่อกลางในการเรียนรู้ ทำให้แม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะอยู่ไกลกันก็สามารถสร้างบทเรียนได้ ในปัจจุบันนี้ รูปแบบการเรียนออนไลน์ แบ่งได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ Synchronous Classes รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอนนัดผู้เรียนทุกคนมาเรียนพร้อมกันในเวลาเดียวกันผ่านระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่มากมาย โดยถ่ายทอดสดผ่าน Live-Streaming เช่น Zoom, Google Meet, Microsoft Team Asynchronous Classes รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าเรียนพร้อมกันตามตาราง โดยผู้สอนจะอัดคลิปวิดีโอแล้วอัพโหลดคลิปเข้าสู่ไดร์ฟหรือส่งลิงค์สำหรับดาวน์โหลดคลิปให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการฝึกทำข้อสอบออนไลน์ Hybrid Classes รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ทั้งแบบการเรียนออนไลน์พร้อมกัน การถ่ายทอดสดจากคลาสผ่าน Live-streaming หรือการเข้าเรียนในห้องเรียนแบบเจอตัว ข้อดีของการ เรียนออนไลน์ เครื่องมือหลากหลาย ในการเรียนออนไลน์ มีเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย ทั้งภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ เสียงเพลง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ปัญหา ครอบครัว เกิดจากอะไร และควรแก้ปัญหาอย่างไร

ปัญหา ครอบครัว เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากและอาจเป็นเรื่องยากที่จะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากแต่ละครอบครัวมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งแต่ละคนก็ยังมีความคิดและนิสัยที่แตกต่างกันไป จึงส่งผลให้ปัญหาครอบครัวคลี่คลายได้ยาก แต่หากคนในครอบครัวหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยถึงปัญหา และทำความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ก็อาจช่วยลดความตึงเครียดภายในครอบครัวและช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ลงได้ [embed-health-tool-due-date] ปัญหา ครอบครัว เกิดจากอะไร ปัญหาครอบครัวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยและกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว อาจมีดังนี้ ปัญหาทางการเงิน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีค่าครองชีพสูง การหาเงินเลี้ยงครอบครัวให้อยู่รอดจึงอาจทำให้บุคคลที่ต้องแบกรับภาระนี้เกิดความเครียด โดยเฉพาะครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงินอย่างหนักอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ความรุนแรง เสพยา ขโมยของ เพื่อระบายความเครียดและหาเงินมาประทังชีวิต จนทำให้เกิดปัญหาภายในครอบครัวที่บานปลายเกินจะควบคุม หย่าร้าง เป็นปัญหาระหว่างคู่รักที่แต่งงานกัน ซึ่งอาจเกิดจากความไม่ลงรอยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น นิสัย ความเป็นอยู่ การเลี้ยงลูก มีชู้ จนเกิดการทะเลาะกันมากขึ้นและนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุด ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนนิสัยคนได้ ซึ่งอาจเปลี่ยนให้คุณพ่อที่น่ารักกลายเป็นคนที่ชอบใช้ความรุนแรงกับครอบครัว หรือเปลี่ยนคุณแม่ที่ขยันทำงานให้กลายเป็นคนขี้เกียจและปากร้าย จนก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะกันและอาจทำให้เกิดบาดแผลภายในจิตใจของลูกได้ด้วย คนในครอบครัวเสียชีวิต ความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาจทำให้บรรยากาศภายในครอบครัวเศร้าหมองตามไปด้วย ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของทุกคน ความไม่ซื่อสัตย์ระหว่างคู่รัก เป็นสาเหตุของปัญหาครอบครัวที่พบได้บ่อยอีกเรื่องหนึ่ง และยังเป็นปัจจัยหลักที่อาจนำไปสู่การหย่าร้างและสร้างบาดแผลภายในใจของลูก ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ เป็นความสัมพันธ์ที่คนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คนใช้อารมณ์หรือใช้พฤติกรรมที่นำไปสู่ปัญหา […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกพูดช้า ปัญหาพัฒนาการเด็กที่ไม่ควรมองข้าม

โดยทั่วไป เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำได้ตอนอายุประมาณ 1 ปี แต่หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูก พูด ช้า พัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามวัย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น บกพร่องทางการได้ยิน บกพร่องทางสติปัญญา สมองพิการ แต่เด็กบางคนก็อาจแค่ยังไม่ต้องการพูดในตอนนี้ และจะยอมพูดเองเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ หากสังเกตว่าลูกพูดช้า หรือมีปัญหาด้านพัฒนาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เรียกแล้วไม่หัน ไม่แสดงท่าทางตกใจเมื่อมีเสียงดัง ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย [embed-health-tool-child-growth-chart] ภาวะพูดช้า (Delayed Speech) คืออะไร ภาวะพูดช้า คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาและการพูดไม่เป็นไปตามวัย มักพบในวัยก่อนวัยเรียน แต่พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป จึงอาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กบางคนเริ่มพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน โดยทั่วไป เด็กอาจมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 1 ปี : พัฒนาจากการพูดอ้อแอ้ไม่เป็นภาษามาเป็นคำพูดง่าย ๆ อายุ 2 ปี : พูดคำที่มีความหมายติดกัน 2 คำ อายุ 3 ปี : พูดเป็นประโยคสั้น ๆ ระบุส่วนต่าง […]


การดูแลทารก

6 ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสมกับคุณแม่และลูก

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจกำลังศึกษา ท่า อุ้ม เด็ก ที่เหมาะสม เพื่อให้ดีต่อร่างกายของเด็กและช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายตัวมากขึ้น เนื่องจากการอุ้มมีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจและสมองของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็กอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ประโยชน์ของการอุ้มเด็ก การอุ้มเด็กมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และระบบประสาทของเด็ก ทั้งยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้อุ้มกับเด็ก และยังช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ การใช้ท่าอุ้มเด็กที่เหมาะสมยังมีประโยชน์ต่อเด็กในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ช่วยควบคุมอุณหภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และการเจริญเติบโตทางร่างกายและอารมณ์ของเด็ก ช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กพัฒนาในรูปทรงที่ดี ไม่คดงอเมื่อโตขึ้น เพราะการอุ้มเด็กในท่าทางที่ถูกต้องจะช่วยให้กระดูกสันหลังของเด็กที่ยังอ่อนอยู่ตั้งตรงในตำแหน่งที่ดี แต่หากอุ้มในท่าที่เด็กจะต้องเอียงตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง อาจเสี่ยงที่เด็กจะมีกระดูกสันหลังคดงอได้ ช่วยลดอาการร้องไห้งอแงในเด็กได้ เพราะเด็กจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อถูกอุ้ม อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการเข้าสังคม เพราะในระหว่างอุ้มเด็กจะได้ยินเสียงอย่างใกล้ชิด และสามารถตอบสนองต่อการสื่อสารได้ง่ายขึ้น 6 ท่า อุ้ม เด็ก มีอะไรบ้าง ท่าอุ้มเด็กต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายมากขึ้น และยังช่วยให้เด็กปลอดภัยอีกด้วย ท่าที่ 1 ท่าอุ้มรับทารกแรกเกิด ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะและคอของทารกแรกเกิดไว้ และอีกมือหนึ่งอยู่ใต้ก้นของทารก งอเข่าเล็กน้อยระหว่างยกตัวทารกเพื่อป้องกันอาการปวดหลัง เมื่อยกตัวทารกขึ้นมาแล้วให้อุ้มทารกไว้แนบอก จากนั้นเลื่อนมือที่อยู่ด้านล่างของทารกขึ้นมารองรับคอของทารก ค่อย ๆ เคลื่อนศีรษะของทารกไปที่ข้อพับแขน โดยยังคงประคองคอของทารกไว้ แล้วย้ายมืออีกข้างมาไว้ใต้ก้นทารก ท่าที่ 2 ท่าอุ้มช่วยให้แขนและมือเด็กอยู่นิ่ง คุณแม่นั่งในท่าที่สบาย จากนั้นให้เด็กนั่งบนตักหั่นหน้าไปด้านข้างหรือหันออกห่างจากตัวแม่ โดยให้อกเด็กชิดกับอกแม่ ให้ขาของเด็กกางออกอยู่ระหว่างเอวทั้ง […]


โภชนาการสำหรับทารก

นมผง เด็ก 1 ขวบ และอาหารเสริมที่ควรกิน

โดยทั่วไป เด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปสามารถกินอาหารแข็งหรือนมชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่ และนมผงได้แล้ว จึงสามารถหย่านมได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มให้เด็กปรับมากินอาหารอื่น ๆ และดื่มนมวัวหรือนมชนิดอื่นแทน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้นมวัวหรืนมชนิดอื่นเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของเด็กปรับตัว แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังต้องการให้ลูกกินนมผง ควรเลือกนมที่ระบุว่าเป็น นมผง เด็ก 1 ขวบ หรือเลือกนมผงที่มีสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง [embed-health-tool-bmi] นมผง เด็ก 1 ขวบ มีประโยชน์อย่างไร โดยทั่วไปเด็กอายุ 1 ขวบ สามารถกินอาหารแข็งได้มากขึ้น และกำลังอยู่ในช่วงหย่านมแม่และนมผง เพราะเด็กสามารถดื่มนมวัว นมถั่วเหลือง หรืออาหารอื่น ๆ ได้แล้ว นมผงจึงอาจไม่จำเป็นสำหรับเด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปมากนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกดื่มนมผงอยู่ อาจเลือกนมผงสำหรับเด็ก 1 ขวบที่เสริมสารอาหารเหล่านี้ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสายยาว (Long Chain Polyunsaturated Fatty Acids หรือ LCPs) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือไม่ได้กินนมแม่ เบต้าแคโรทีน เป็นแหล่งของวิตามินเอและสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็ก พรีไบโอติก […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร และควรป้องกันอย่างไร

ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกโรงเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยที่ทำให้เด็กใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู เพื่อน สังคม สภาพแวดล้อม ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีของเด็กในอนาคต [embed-health-tool-bmi] ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร ความรุนแรงในโรงเรียน คือ พฤติกรรมความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นภายในโรงเรียน ระหว่างการเดินไปและกลับจากโรงเรียน หรือการไปทัศนศึกษากับโรงเรียน เช่น การพูดจาก้าวร้าว การทำร้ายร่างกาย การใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น รวมไปถึงการทำความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโรงเรียน โดยสัญญาณเตือนของนักเรียนที่อาจมีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน คุณครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนอาจสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้ นักเรียนพูดคุยหรือเล่นกับอาวุธทุกชนิด นักเรียนมีพฤติกรรมทำร้ายสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่น ๆ นักเรียนมีพฤติกรรมข่มขู่หรือกลั่นแกล้งผู้อื่น นักเรียนพูดถึงความรุนแรง ดูหนังที่มีความรุนแรง หรือชอบเล่นเกมที่มีความรุนแรง นักเรียนพูดหรือแสดงท่าทีก้าวร้าวทั้งต่อเพื่อนและผู้ใหญ่ สาเหตุของ ความรุนแรงในโรงเรียน อาจไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในโรงเรียน แต่อาจเป็นไปได้ว่าเด็กที่เป็นผู้ใช้ความรุนแรงอาจถูกครอบครัวหรือสังคมกดดันในด้านต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม ผลการเรียนตกต่ำ พฤติกรรม บุคลิกภาพ ฐานะครอบครัว ภาวะสุขภาพ การใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยอยากรู้อยากลอง ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะในการตัดสินใจมากพอ แสดงพฤติกรรมหรือลงมือทำความรุนแรงต่อผู้อื่น ๆ ได้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม