พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ

มื้อกลางวัน เป็นอีกหนึ่งมื้ออาหารที่สำคัญไม่แพ้มื้อไหน ๆ โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการเรียนในช่วงบ่าย ยิ่งหากจัดเตรียมข้าวกล่องไปเองจะยิ่งมั่นใจได้ว่าสามารถเลือกสรรค์วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับลูก บทความนี้จึงอยากจะมาแนะนำ เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม จากข้อแนะนำการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีแห่งสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ.ศ. 2563-2568 แนะนำว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบ ดังนี้ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืช  ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โปรตีนจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่าง ๆ ไขมันดี นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารดังต่อไปนี้ อาหารไขมันไม่ดีสูง เช่น ของทอด อาหารที่มีการเติมน้ำตาล เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารรสเค็มจัด ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนและสมวัย เหมาะสำหรับพัฒนาการของเด็กวัยเรียน 3 เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ 1. ไข่ยัดไส้ ส่วนผสม ไข่ไก่ 1 ฟอง หมูสับ (หรือไก่สับ)  […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กทารก

TTNB คือ ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด สาเหตุและการรักษา

TTNB คือ ภาวะหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด ทำให้ทารกหายใจเร็วกว่าปกติ หายใจเสียงดัง รูจมูกบาน หายใจลึกจนเห็นซี่โครง ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก มักเกิดในเด็กที่คลอดตามกำหนดหรือช้ากว่ากำหนดเล็กน้อยด้วยวิธีผ่าคลอด ทำให้ขาดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างการคลอดธรรมชาติ ส่งผลให้ของเหลวบางส่วนยังคั่งอยู่ในปอดและทารกต้องใช้เวลาในการดูดซึมของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกายหลังคลอด นอกจากนี้ยังอาจพบได้เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นหอบหืดหรือเบาหวาน โดยทั่วไป ภาวะ TTNB มักเกิดขึ้นนานไม่เกิน 3 วัน และไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว [embed-health-tool-child-growth-chart] TTNB คือ อะไร Transient Tachypnea of the Newborn หรือ TTNB คือภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด ทำให้ทารกหายใจเร็วชั่วขณะ ส่งผลให้มีปัญหาในการดูดหรือกลืนนม ทั้งยังอาจทำให้มีอาการกระสับกระส่าย หายใจเสียงดัง สีผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเนื่องจากขาดออกซิเจน TTNB เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว อาจพบได้ตั้งแต่คลอดหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด และจะมีอาการประมาณ 24-72 ชั่วโมง ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ทารกก็จะมีอาการดีขึ้นจนสามารถกลับบ้านได้และกินนมได้ตามปกติ และไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของทารก สาเหตุของ TTNB คืออะไร สาเหตุหลักของภาวะ TTNB คือ ทารกมีของเหลวหลงเหลืออยู่ในปอดมากกว่าปกติหลังคลอด ซึ่งเป็นของเหลวหรือน้ำคร่ำที่อยู่ในครรภ์กับทารกมาตลอดการตั้งครรภ์ ขณะอยู่ในครรภ์ทารกไม่จำเป็นต้องใช้ปอดในการหายใจเนื่องจากรับออกซิเจนผ่านทางรก ปอดจึงเต็มไปด้วยของเหลวที่จำเป็นต่อการพัฒนาอวัยวะให้สมบูรณ์ แต่ในช่วงใกล้คลอดปอดจะเริ่มดูดซับของเหลวและขับของเหลวบางส่วนออกเมื่อทารกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด จากนั้นเมื่อทารกแรกเกิดเริ่มร้องไห้และหายใจด้วยตัวเอง ปอดจะถูกเติมเต็มด้วยอากาศ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Bronchopulmonary Dysplasia หรือ BPD คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีปัญหาการหายใจหลังคลอด และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจนเป็นเวลานาน โดยอาจพิจารณาว่าเป็นโรค BPD เมื่อทารกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 28 วัน การรักษาสามารถทำได้ด้วยการประคับประคองอาการไปจนกว่าปอดของทารกจะทำงานได้ตามปกติ ส่วนใหญ่ทารกจะมีอาการดีขึ้นแต่อาจมีภาวะสุขภาพในภายหลัง เช่น โรคหอบหืด ปัญหาพัฒนาการล่าช้า ปัญหาการหายใจในวัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ จึงควรป้องกันด้วยการเข้ารับการฝากครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค BPD ในทารกแรกเกิด [embed-health-tool-child-growth-chart] โรค BPD คือ อะไร Bronchopulmonary Dysplasia หรือ โรค BPD คือโรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดที่เกิดจากพัฒนาการของเนื้อเยื่อปอดผิดปกติ มักพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเกิน 10 สัปดาห์ หรือในเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 900 กรัม ซึ่งปอดจะยังพัฒนาไม่เต็มที่และได้รับออกซิเจนเสริมหรือใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน เช่น เด็กที่มีกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) นอกจากนี้ยังอาจเกิดในทารกที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent Ductus Arteriosus หรือ PDA) ทารกที่ติดเชื้อในกระแสเลือด แม้ว่าจะคลอดตามกำหนดก็ตาม ทั้งนี้ โรค BPD ยังสามารถเกิดขึ้นในทารกที่ผ่านวัยแรกเกิดไปแล้วแต่มีพัฒนาการของปอดผิดปกติ มีการติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์ […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก มีอะไรบ้าง และวิธีรับมืออาการหอบหืดในเด็ก

ยา ขยาย หลอดลม เด็ก (Bronchodilators) เป็นยาที่ใช้โดยทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจอย่างโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ยาจะออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจและเปิดช่องให้อากาศไหลผ่านได้สะดวกขึ้น ยาขยายหลอดลมมี 2 ประเภท คือ ยาชนิดออกฤทธิ์สั้นที่ใช้รักษาอาการเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากทางเดินหายใจหดตัวหลังการสัมผัสสิ่งกระตุ้น และยาชนิดออกฤทธิ์ยาวที่ใช้ควบคุมอาการและลดความถี่การเกิดอาการใช้เป็นประจำทุกวัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ยา ขยาย หลอดลม เด็ก ใช้เพื่ออะไร ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในปอดและขยายทางเดินหายใจบริเวณหลอดลม ใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางเดินหายใจตีบแคบและอักเสบจนทำให้เด็กไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ เช่น โรคหอบหืด (Asthma) เป็นความผิดปกติของปอดที่เกิดจากทางเดินหายใจอักเสบ ทำให้เด็กมีอาการไอบ่อย หายใจถี่ หายใจออกมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก เป็นต้น อาการอาจแย่ลงในเวลากลางคืน เมื่อเป็นไข้หวัด สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเช่นอากาศเย็น ฝุ่นควัน หรือออกกำลังกาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) เป็นโรคในกลุ่มอาการปอดอักเสบเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อปอดได้รับความเสียหายในระยะยาว ส่งผลให้ผนังถุงลมปอดอ่อนแอ ทำให้เด็กมีอาการหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง ปอดติดเชื้อบ่อย หายใจมีเสียงหวีด เป็นต้น แต่พบได้น้อยมากในเด็ก ยา ขยาย หลอดลม เด็กมีอะไรบ้าง ยาขยายหลอดลมเด็กเป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการตีบตันและการอักเสบของทางเดินหายใจ มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น ของเหลวที่ใส่ในเครื่องพ่นละอองยา […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

แม่ตีลูก มีผลเสียต่อลูกอย่างไร และควรสอนลูกอย่างไรเมื่อทำผิด

การลงโทษลูกด้วยการตีอาจไม่ใช่วิธีที่ได้ผลดีเสมอไป หากพ่อหรือ แม่ตีลูก อาจส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับพ่อแม่แย่ลงหรือทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินกันได้ ทั้งยังอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกเหนื่อยหน่าย เครียด เป็นกังวล หรือรู้สึกผิดกับการขู่หรือการตีลูกเมื่อลูกทำผิด หากเปลี่ยนจากการที่แม่ตีลูกมาเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้กับลูกและเรียนรู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธีเมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาจช่วยให้ลูกมีพฤติกรรมดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง ไม่กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัว และลดผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] แม่ตีลูก มีผลเสียต่อลูกอย่างไร การลงโทษลูกด้วยการตีอาจทำให้ลูกรู้สึกกลัวได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่ไม่สามารถปรับปรุงพฤติกรรมของลูกให้ดีขึ้นในระยะยาวได้ นอกจากนี้ หากแม่ตีลูกเป็นประจำยังอาจทำให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัวตามมาเรื่อย ๆ กระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมฉุนเฉียว ท้าทาย ต่อต้าน ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้เป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการ ซึ่งอาจกระทบต่อพัฒนาการทางสมอง สุขภาพกายใจ และการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตของลูกด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Family Psychology เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ศึกษาเกี่ยวกับการตีเด็กและผลลัพธ์ที่ตามมา โดยการเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยจำนวน 111 ฉบับ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กจำนวน 160,927 คน พบว่า ยิ่งเด็กถูกผู้ปกครองสอนด้วยการตี เช่น ทุบหลัง ตีแขนหรือขา บ่อยเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งมีแนวโน้มต่อต้านหรือขัดขืนมากขึ้นเท่านั้น ทั้งยังอาจมีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม พฤติกรรมรุนแรง ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาด้านการคิดวิเคราะห์หรือการมีสมาธิจดจ่อ เพิ่มขึ้นด้วย วิธีสอนเมื่อลูกทำผิด และการรับมืออย่างเหมาะสม วิธีสอนเมื่อลูกทำผิดที่เหมาะสมอาจเริ่มจากการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline) หรือการจัดการให้ลูกปรับปรุงตัวเมื่อมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น […]


เด็กวัยเรียน

ท้องในวัยเรียน ความเสี่ยงต่อสุขภาพและการรับมืออย่างเหมาะสม

การ ท้องในวัยเรียน อาจทำให้วัยรุ่นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ เนื่องจากมักไม่ได้รับการดูแลครรภ์อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนและการดูแลจากผู้ปกครองหลังจากทราบว่าวัยรุ่นตั้งท้อง หรือหากวัยรุ่นเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับและไม่แจ้งให้ที่บ้านทราบ ก็อาจทำให้ไม่ได้ไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาล ฝากครรภ์ช้ากว่าที่ควร หรือฝากครรภ์แล้วไม่ยอมไปพบคุณหมอตามนัดหมาย จึงไม่ได้รับการตรวจสุขภาพและดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเสี่ยงขาดสารอาหารที่ควรได้รับขณะท้อง เช่น วิตามินคนท้อง กรดโฟลิก และอาจไม่ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] ความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อ ท้องในวัยเรียน โดยทั่วไป วัยรุ่นท้องที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีหรือท้องแล้วไม่ได้ไปฝากครรภ์จะมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะท้องและระหว่างคลอดสูงกว่าคนที่ท้องตอนอายุมากกว่าหรือเข้าฝากครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพของผู้ที่ ท้องในวัยเรียน อาจมีดังนี้ ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้ร่างกายมีปริมาณน้ำเลือดมากกว่าปริมาณเม็ดเลือดแดง ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อได้ง่าย และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in Pregnancy) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่เป็นอันตราย มักเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ ทำให้มีความดันโลหิตสูง มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ชัก หมดสติ และทำให้แม่และทารกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต เป็นภาวะที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากสูตินรีแพทย์ ภาวะตายคลอด (Stillbirth) ที่ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์จนถึงช่วงหลังคลอด ภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับกระดูกเชิงกราน (Cephalopelvic Disproportion หรือ CPD) […]


สุขภาพเด็ก

นมสำหรับเด็กท้องเสีย ควรกินอะไร

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กอาจมีความกังวลว่า เมื่อเด็กท้องเสียจะมี นมสำหรับเด็กท้องเสีย อะไรบ้าง ที่ช่วยบรรเทาอาการและใช้สำหรับทดแทนนมชนิดเดิมเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปนมแม่คือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก แต่หากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้นมผงสูตรอื่น ๆ เช่น นมผงสูตรไฮโปอัลเลอร์เจนิก (Hypoallergenic) สูตรปราศจากแลคโตส สูตรถั่วเหลือง สูตรย่อยง่าย ก็อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการบรรเทาอาการท้องเสียในเด็กได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] เด็กท้องเสียเกิดจากอะไร เด็กท้องเสียอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อปรสิต แพ้ยาปฏิชีวนะ ภาวะอาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุของอาการท้องเสียที่เกิดซ้ำได้ เช่น แพ้นมวัว อาจทำให้เด็กมีอุจจาระเหลว ลื่น และอาจมีเลือดปน ซึ่งจะเกิดขึ้นในเด็กที่อายุน้อย อาจน้อยกว่า 2 เดือน หากทำได้จึงควรหลีกเลี่ยงการให้เด็กกินนมผงสูตรนมวัวและดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวนานอย่างน้อย 4-6 เดือน แต่โดยรวมอาการท้องเสียไม่ใช่อาการที่พบบ่อยสำหรับภาวะนี้ ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ แลคโตส คือ น้ำตาลในนม ซึ่งเด็กบางคนร่างกายอาจไม่สามารถย่อยน้าตาลแลคโตสได้ปกติากขาดเอนไซม์ที่จำเป็น ส่งผลให้แบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนแลคโตสเป็นแก๊สจนทำให้มีแก๊สมาก อุจจาระเหลว และท้องอืด โดยจะเริ่มมีอาการในช่วงวัยเรียน (School-Age)และมักเป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม เมื่อเด็กท้องเสียอาจทำให้มีอาการต่าง ๆ เช่น อุจจาระเหลว มีเลือดปน มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน อารมณ์แปรปรวน […]


เด็กทารก

ทารกตัวเหลือง อาการ สาเหตุและการรักษา

ทารกตัวเหลือง (Jaundice) มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิด และทารกที่กินนมแม่ ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกมีระดับบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดมากเกินไป เนื่องจากร่างกายไม่สามารถขับบิลิรูบินออกได้หมด จึงส่งผลให้ทารกมีอาการตัวเหลือง [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ ทารกตัวเหลือง คืออะไร ทารกตัวเหลือง คือ ภาวะที่ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จนไม่สามารถขับสารบิลิรูบินในกระแสเลือดได้ ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด ทำให้มีบิลิรูบินในกระแสเลือดมากเกินไป ส่งผลให้ทารกมีอาการตัวเหลือง ซึ่งภาวะนี้มักพบในทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดประมาณ 2-3 วันหลังคลอด และทารกที่กินนมแม่ไม่เพียงพอ อาการ อาการของทารกตัวเหลือง อาการที่แสดงว่าทารกมีภาวะตัวเหลืองมักสังเกตเห็นได้ประมาณวันที่ 2-4 หลังคลอด โดยทารกจะมีผิวหนังบริเวณต่าง ๆ เริ่มจากใบหน้า หน้าอก ท้อง และขา รวมทั้งตาขาวเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ ทารกอาจมีอาการหหงุดหงิด ร้องไห้งอแง หรืออาจมีปัญหาในการกินอาหารร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าทารกเริ่มมีอาการป่วย ไม่กินอาหาร ง่วงนอนกว่าปกติ และอาการตัวเหลืองรุนแรงขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอทันที สาเหตุ สาหตุของทารกตัวเหลือง สาเหตุหลักของอาการตัวเหลืองในทารก คือ ในกระแสเลือดมีสารบิลิรูบินมากกว่าปกติ เนื่องจากตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จนไม่สามารถขับสารบิลิรูบินได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้สารบิลิรูบินสะสมในกระแสเลือดมากเกินไปและมีอาการตัวเหลืองเกิดขึ้น โดยเฉพาะร่างกายของทารกแรกเกิดประมาณ 2-3 วันแรก เนื่องจากร่างกายอาจผลิตสารบิลิรูบินมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งการผลิตสารบิลิรูบินที่มากอาจทำให้การสลายตัวของเม็ดเลือดมากตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทารกตัวเหลืองได้ ดังนี้ เลือดออกภายใน โดยเฉพาะใต้เยื่อหุ้มกระโหลกซึ่งเกิดจากภาวะบีบรัดขณะคลอดผ่านทางช่องคลอด […]


เด็กทารก

Tongue Tie คือ อะไร อาการและการรักษา

ภาวะลิ้นติดในทารก หรือ Tongue Tie คือ ภาวะที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด โดยภาวะนี้จะทำให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นได้เต็มที่ เนื่องจากการยึดตัวของพังผืดใต้ลิ้นที่มากเกินไป ส่งผลให้ทารกดูดนมแม่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และมีแนวโน้มที่ทารกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวน้อย ตัวเหลือง และอาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ [embed-health-tool-baby-poop-tool] คำจำกัดความ Tongue Tie คืออะไร Tongue Tie คือ ภาวะลิ้นติดในทารก โดยลิ้นจะมีลักษณะสั้น หนา และพังผืดใต้ลิ้นอาจยึดบริเวณพื้นปากกับปลายลิ้นมากเกินไป ส่งผลให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นได้เต็มที่ ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลต่อการดูดนมของทารก การกินอาหาร การพูด และการกลืนของเด็ก อาการ อาการ Tongue Tie อาการของภาวะลิ้นติดในทารก อาจมีดังนี้ ทารกจะขยับลิ้นขึ้นด้านบน หรือขยับลิ้นไปด้านข้างลำบาก ทารกอาจมีปัญหาในการแลบลิ้น เมื่อทารกแลบลิ้น ลิ้นอาจมีลักษณะหยักหรือคล้ายรูปหัวใจ อาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะลิ้นติดในทารก ดังนี้ ทารกอาจเคี้ยวหัวนมมากกว่าดูดนม ทารกน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น ทารกอาจต้องใช้เวลากินนมนาน และต้องป้อนนมหลายครั้ง ทารกหิวง่าย และร้องไห้งอแงบ่อย อาจมีเสียงจากปากทารกขณะป้อนนม หากอาการลิ้นติดในทารกส่งผลกระทบต่อการดูดนม การกินอาหารหรือการออกเสียง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา สาเหตุ สาเหตุของ Tongue Tie ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะลิ้นติดในทารก อาจเป็นไปได้ว่าภาวะลิ้นติดในทารกเกิดขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือจากปัญหาในขั้นตอนการสร้างหรือพัฒนาอวัยวะ ภาวะแทรกซ้อน ภาวะลิ้นติดในทารกอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในอนาคต เช่น ปัญหาการดูดนม ลิ้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดูดนม ทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะไม่สามารถใช้ลิ้นในการดูดนมได้สะดวกและทารกอาจเคี้ยวมากกว่าดูด ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดหัวนม นอกจากนี้ […]


สุขภาพเด็ก

ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ ปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจมีความกังวลเมื่อ ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ ตามร่างกาย ซึ่งอาการผื่นเม็ดเล็ก ๆ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นอันตรายก็ได้ ทั้งนี้ หากลูกมีอาการผื่นร่วมกับไข้ เจ็บปวด ไม่สบายตัว อ่อนแรง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและทำการรักษา [embed-health-tool-child-growth-chart] ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ เกิดจากอะไรได้บ้าง ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ เป็นปัญหาสภาพผิวที่พบได้บ่อยในทารกและเด็ก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ ผิวหนังอักเสบ ผื่นผ้าอ้อม พบไ้ด้บ่อยในทารก ซึ่งเกิดขึ้นจากความชื้นบริเวณผ้าอ้อมทำให้เกิดการระคายเคืองหรือการเจริญเติบโตของเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการผื่นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายผด แสบและคัน ผื่นไขมัน ไขบนหัวทารก หรือต่อมไขมันอักเสบ (Cradle Cap) อาจเกิดจากหนังศีรษะของทารกผลิตน้ำมันมากเกินไป ทำให้ผิวหนังเป็นสะเก็ดสีเหลืองล้อมรอบด้วยผื่นแดงบนหนังศีรษะ ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สภาพอากาศ การติดเชื้อ ผิวแห้ง ทำให้มีอาการระคายเคือง ผิวแห้ง คัน และแดง โรคผื่นผิวหนังจากการสัมผัส (Contact Dermatitis) เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองผ่านการสัมผัส เช่น น้ำหอม สบู่ […]


สุขภาพเด็ก

ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี เพื่อบรรเทาอาการ

อาการท้องเสียอาจมาพร้อมกับอาการขับถ่ายมาก ปวดท้อง ไม่สบายตัว และอ่อนแรง ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก และอาจมีข้อสงสัยว่า ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี ให้อาการดีขึ้น โดยทั่วไปอาหารอาจเป็นปัจจัยที่จะช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกกินของเหลวมากขึ้นเพื่อช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไปได้ พร้อมทั้งเสริมด้วยการกินอาหารอ่อนย่อยง่ายและรสจืด เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยเติมพลังงานและป้องกันภาวะขาดน้ำในเด็กได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี คุณพ่อคุณแม่ที่มีคำถามว่าลูกท้องเสียให้กินอะไรดี เพื่อช่วยให้ลูกมีอาการที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเมื่อลูกท้องเสียร่างกายอาจมีภาวะขาดน้ำและสูญเสียสารอาหารจากการขับถ่ายอุจจาระมากเกินไป ดังนั้น จึงควรให้ลูกกินอาหารที่ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ระบบย่อยอาหารไม่ทำงานหนัก และช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไป ดังนี้ เด็กทารก หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือนมผง ควรให้ลูกกินนมบ่อยขึ้นตามความเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อลูกถ่ายแต่ละครั้ง ให้ครั้งละ 5-10 นาที จะช่วยทดแทนน้ำที่สูญเสียไปได้ สำหรับนมผงควรเลือกนมผงสูตรที่ไม่มีแลคโตสหรือแลคโตสต่ำ เนื่องจากแลคโตสเป็นน้ำตาลในนมที่ย่อยยากอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักได้ โดยใช้ระยะสั้น เมื่อถ่ายดีแล้วให้กลับมากินนมสูตรปกติได้ หากลูกมีอาการท้องเสียรุนแรง สามารถให้เกลือแร่ละลายน้ำควบคู่ระหว่างกินนมไปด้วย เด็กเล็กหรือเด็กโตที่สามารถกินอาหารแข็งได้แล้ว ของเหลวเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับอาการท้องเสีย ไม่ควรบังคับให้ลูกกินอาหารแข็งในระหว่างที่ท้องเสีย แต่ควรให้ลูกกินของเหลวมากขึ้น เช่น น้ำเปล่า น้ำเกลือแร่ นมถั่วเหลือง สำหรับเด็กเล็กที่ยังต้องกินนมผงหรือนมแม่ควบคู่ไปกับอาหารแข็ง ควรให้เด็กกินนมต่อไปและให้เด็กกินนมบ่อยขึ้นทุก ๆ 4 ชั่วโมง ประมาณครั้งละ 5-10 นาที โดยสามารถกินควบคู่ไปกับอาหารแข็ง เช่น กล้วยบด ข้าวต้มบด มันบด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม