โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

อาหารสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยควรกินอย่างไร ให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ โรคนี้เกิดจากการเสียดสีกันของกระดูกใต้ผิวข้อเข่า หรือผิวข้อเข่าสึกหรอ จนส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่า เดินได้ไม่ปกติ ข้อเข่าผิดรูป ใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่สะดวก และอาจทำให้ทุพพลภาพได้ด้วย การรักษาโรคข้อเข่าอักเสบ นอกจากการใช้ยา การควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม การออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อต้นขา และเปลี่ยนท่านั่งแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินก็สำคัญไม่แพ้กัน แล้ว อาหารสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม ที่ผู้ป่วยควรกินและควรเลี่ยงเพื่อให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้นจะมีอะไรบ้าง Hello คุณหมอ จะพาไปดูกัน อาหารสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม อาหารที่ควรกิน นมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัว นมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ต คือแหล่งแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น อีกทั้งในนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวยังมีโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วย เมื่อกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าแข็งแรง อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมก็จะลดลง แต่สำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนัก แนะนำว่า ควรเลือกนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมชนิดไขมันต่ำ จะดีต่อการควบคุมน้ำหนักมากกว่า ผักใบเขียว ผักใบเขียวเข้ม เช่น ปวยเล้ง ผักโขม คะน้า ผักกาด เป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินดี ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ในผักใบเขียวยังมีสารพฤกษเคมี (Phytochemical) และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชัน ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งผลเสียต่อโรคข้อเข่าอักเสบ บร็อคโคลี่ ในบร็อคโคลี่มีสารประกอบที่ชื่อว่า ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าสามารถชะลอการพัฒนาของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ อีกทั้งบร็อคโคลี่ยังอุดมไปด้วยวิตามินซี […]


โภชนาการพิเศษ

รู้ให้ชัวร์! ทานเจ กับ ทานมังสวิรัติ แตกต่างกันอย่างไร

ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่หันมา ทานเจ และ ทานมังสวิรัติ ละเว้นการทานเนื้อสัตว์กันเยอะมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบว่าการทานเจและการทานมังสวิรัตินั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบ มาให้ทุกคนค่ะ ทำความรู้จักกับเจ (Vegan food) และมังสวิรัติ (Vegetarian food) เจ (Vegan food) คือการงดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด ผักที่มีกลิ่นฉุน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสัตว์ทุกชนิด เช่น เจลาติน น้ำผึ้ง น้ำปลา รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ เช่น หนัง ผ้าไหม เป็นต้น มังสวิรัติ (Vegetarian food) คือการงดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ แต่จะไม่เคร่งครัดเท่าการกินเจ สามารถรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมจากสัตว์ได้ เช่น ไข่ น้ำผึ้ง นม เนยแข็ง โยเกิร์ต โดยประเภทของมังสวิรัติที่พบมากที่สุด 4 ประเภท  มีดังนี้ มังสวิรัตินมและไข่ (Lacto-ovo vegetarian) หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากจากนมและไข่ได้ มังสวิรัตินม (Lacto vegetarian) หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์และไข่ […]


โภชนาการพิเศษ

โภชนาการสำหรับ ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ กินอะไรดีต่อโรค

ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมเซลล์ และการเผาผลาญ สำหรับผู้ที่มีปัญหาไทรอยด์ทำงานต่ำ อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย ผมร่วง น้ำหนักขึ้น ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารให้มีความเหมาะสม มีส่วนช่วยฟื้นฟูการทำงานของต่อมไทรอยด์และช่วยลดอาการของโรคได้ แม้อาหารจะไม่ใช้ปัจจัยเดียวที่ช่วยรักษาภาวะไฮโปไทรอยด์ได้ก็ตาม วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับ ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ ว่าควรเลือกรับประทานอย่างไรดี มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คืออะไร ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ฐานคอ มีรูปร่างคล้ายกับผีเสื้อ ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ในการสร้างและเก็บฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมที่มีผลต่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์ในร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ได้รับสัญญาณที่เรียกว่า ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-Stimulating Hormone; TSH) ก็จะปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือด สัญญาณนี้ถูกส่งมาจากต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นต่อมเล็ก ๆ เมื่อพบว่าระดับฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในระดับต่ำ แต่บางครั้งต่อมไทรอยด์ก็จะไม่ปล่อยฮอร์โมนนี้ออกมาแม้ว่าจะเกิดการกระตุ้นแล้วก็ตาม ทำให้ร่างกายเกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นอีกมากมายที่ทำให้เกิด ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน เช่น ขาดไอโอดีน ความผิดปกติทางพันธุกรรม การรับประทานยาบางชนิด และการผ่าตัดเอาไทรอยด์ออกบางส่วน ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญกับร่างกายเป็นอย่างมาก มีหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ และช่วยในการเผาผลาญ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารสำหรับคนผิวมัน ไม่อยากหน้ามัน เป็นสิวง่าย ควรกินอะไรดี

ในประเทศไทยที่มีแดดร้อนจัดแบบนี้ ปัญหาผิวมัน หน้าเยิ้ม เป็นสิวง่าย คงจะเป็นปัญหาที่คอยกวนใจใครหลายๆ คน ครั้นจะลงแป้ง แต่งหน้า ควบคุมความมัน ก็กลัวว่าจะอุดตัน จนทำให้สิวยิ่งเห่อขึ้นไปกันใหญ่ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำ อาหารสำหรับคนผิวมัน เพื่อการดูแลตัวเองให้สวยจากภายใน ไร้ผิวมันเยิ้มกันค่ะ อาหาร ส่งผลต่อสภาพผิวอย่างไร ‘You are what you eat’ การรับประทานอาหาร มีอิทธิพลอย่างมากต่อสภาพร่างกายของเรา ไม่เว้นแม้กระทั่งต่อสภาพผิว เมื่อเรากินอาหาร อาหารจะถูกย่อยและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของเราจะเพิ่มสูงขึ้น กระบวนการนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน (Insulin-like growth factor 1; IGF-1) ออกมาเพื่อจัดการกับน้ำตาล มีงานวิจัยที่พบว่า ฮอร์โมน IGF-1 นี้ อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตไขมัน ทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามากขึ้น ส่งผลผิวเกิดความมันเยิ้ม และอุดตันในรูขุมขน นอกจากนี้ อาหารบางชนิดก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการอักเสบได้มากกว่าปกติ ทำให้เรามีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดปัญหาผิว เช่น สิวอุดตัน หรือสิวอักเสบนั่นเอง ในทางกลับกัน การรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม และสมดุล จะทำให้เราได้รับสารอาหาร วิตามิน […]


โภชนาการพิเศษ

วีแกนมือใหม่ ควรเลือกกินอย่างไร และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบใดบ้าง

อาหารแบบวีแกน ถือว่ามีหลายประเภท แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเน้นการรับประทานพืช ผัก ผลไม้และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ การรับประทานอาหารแบบวีแกนนั้น หากรับประทานอย่างถูกวิธี ถือว่าเป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่สูง มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง และยังช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลดี ๆ สำหรับผู้ที่เป็น วีแกนมือใหม่ ที่เริ่มต้นการรับประทานอาหารแบบวีแกน ว่าควรเลือกรับประทานอาหารแบบใด และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแบบใด ไปดูกันเลยค่ะ การรับประทานอาหารแบบวีแกน คืออะไร การรับประทานอาหารแบบวีแกน (Vegan Diet) เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่รับประทานแต่พืชเท่านั้น ผู้ที่เป็นชาววีแกนจะหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ทั้งหมด สำหรับชาววีแกนบางคนก็หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมจากน้ำผึ้งด้วย สำหรับบางคน การเป็นวีแกนเป็นทางเลือกในการรับประทานอาหาร แต่สำหรับบางคนถือเป็นทางเลือกในการดำเนินชีวิต ทำให้ชาววีแกนบางคนเลือกที่จะไม่ใช้เสื้อผ้า สบู่และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ใช้หรือมีส่วนประกอบของสัตว์ เช่น หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือใช้สัตว์ในการทดลองเครื่องสำอาง แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่รับประทานอาหารแบบวีแกน ควรมีการวางแผนการรับประทานอาหารให้ดี เพื่อที่จะได้รับสารอาหารให้ครบ เช่นสารอาหารเหล่านี้ ได้แก่ ธาตุเหล็ก โปรตีน แคลเซียม วิตามินบี 12 และวิตามินดี ประโยชน์ของการรับประทานอาหารแบบ วีแกน ที่ วีแกนมือใหม่ ควรรู้ ช่วยลดน้ำหนัก การรับประทานอาหารแบบวีแกนนั้นมีแนวโน้มที่จะช่วยลดน้ำหนักได้ และช่วยลดค่าดัชนีมวลกาย […]


โภชนาการพิเศษ

เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร ความดันถึงจะกลับมาปกติ

ภาวะความดันโลหิตต่ำ แม้ว่าจะอาจจะดูไม่รุนแรงเท่ากับโรคความดันโลหิตสูง แต่ภาวะความดันต่ำนี้ก็อาจสร้างความทรมานให้กับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอาการปวดหัวทุกครั้ง เวลาจะลุกนั่ง หรือตื่นนอน วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำว่า เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร และควรเลี่ยงอาหารอะไร มาดูกันเถอะค่ะว่าเราควรกินอะไรกันดี [embed-health-tool-bmi] เป็นความดันต่ำ ต้อง กิน อะไร ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ สามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ การเปลี่ยนมานั่งไขว้ขา หรือการรับประทานอาหารบางอย่าง ก็สามารถช่วยเพิ่มระดับของความดันโลหิต ให้กลับมาเป็นปกติได้เช่นกัน อาหารเหล่านี้ได้แก่ ดื่มน้ำ การดื่มน้ำเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยเพิ่มระดับของความดันโลหิตได้ เพราะเมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ จะทำให้ปริมาณของเลือดในร่างกายลดลง ทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง จนอาจส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ ดังนั้น หากคุณเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า อาจลองใช้วิธีการดื่มน้ำสักแก้ว เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น และช่วยให้ระดับความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย อาหารที่มีรสเค็ม เป็นที่รู้กันดีว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือใส่เกลือมาก เพราะเกลือสามารถเพิ่มระดับความดันโลหิตได้ แต่กับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ อาหารเค็ม ๆ นั้นเป็นทางเลือกในการเพิ่มความดันโลหิตอย่างรวดเร็ว และหาได้ง่ายที่สุด ลองเปิดซองมันฝรั่งทอด หรืออาหารกระป๋องมากินดูสิ แต่พยายามอย่ากินเยอะ เพราะอาจจะกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพแทน อาหารที่มีวิตามินบี […]


โภชนาการพิเศษ

“Plant Paradox Diet” งดอาหารที่มีเลคติน เพื่อลดการอักเสบของร่างกาย

Plant Paradox Diet เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารเลคติน (Lectin) และอาหารไนท์เฉด ใครที่อ่านแล้วสงสัยว่ารูปแบบการรับประทานแบบนี้นั้นคืออะไร มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมความน่าสนใจของการรับประทานอาหารแบบPlant Paradox Diet มาให้อ่านกันค่ะ Plant Paradox Diet คืออะไร การรับประทานอาหารแบบPlant Paradox Diet ถูกคิดค้นและตีพิมพ์เป็นหนังสือโดย สเตเวน กันดี้ อดีตศัลย์แพทย์และแพทย์อายุรกรรมPlant Paradox Dietหรือเรียกได้อีกชื่อ การรับประทานอาหารที่ปราศจากเลคติน เป็นรูปแบบ การรับประทานอาหารที่ปราศจากอาหารที่มีเลคติน (Lectin) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นอาหารจำพวกถั่ว พืชตระกูลถั่ว เมล็ดธัญพืช และผักบางชนิด นายแพทย์สเตเวน กันดี้ มีความเชื่อว่าเลคตินซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในพืชนั้น เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ช่วยเพิ่มน้ำหนัก และอาจทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ทำความรู้จักกับ เลคติน ให้มากขึ้น เลคติน (Lectins) เป็นโปรตีนที่สามารถพบได้ในอาหารหลายๆ ชนิด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักพบในพืชถั่ว พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช และผักไนท์เฉด (Nightshade vegetables) ซึ่งเป็นพืชในกลุ่มวงศ์ Solanaceae หรือกลุ่มพืชผักในวงศ์มะเขือ […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำกับคนเป็นเบาหวาน กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

นอกจากการออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การใช้ยาและรักษาตามแพทย์สั่งแล้ว อาหารการกินก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้น และอาหารรูปแบบหนึ่งที่ Hello คุณหมอ อยากแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ลองบริโภค ก็คือ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำนั่นเอง ว่าแต่ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำกับคนเป็นเบาหวาน  สัมพันธ์กันยังไง เราไปหาคำตอบจากบทความนี้กันเลย คาร์โบไฮเดรต… น้ำตาลในเลือด และเบาหวาน… โดยปกติแล้ว เวลาที่เรากินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเข้าไป ร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นกลูโคส (Glucose) ซึ่งก็คือน้ำตาลในเลือดนั่นเอง เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน (ฮอร์โมนที่นำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าสู่เซลล์) ก็ต้องทำงานหนักขึ้นตามไปด้วย สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงมาก ผิดกับคนที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งระดับน้ำตาลจะค่อนข้างแปรปรวน และการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลายด้านเลยทีเดียว อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำดีต่อคนเป็นเบาหวานยังไง งานศึกษาวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้น โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่กินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า พวกเขาสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในแต่ละวัน ก็มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจด้วยเช่นกัน คนเป็นเบาหวานควรกินคาร์โบไฮเดรตเท่าไหร่ สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association; ADA) ระบุว่า ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล บางคนอาจควรกินคาร์โบไฮเดรตไม่เกินวันละ 20 กรัม ในขณะที่บางคนควรกินคาร์โบไฮเดรตวันละ 70-90 กรัม […]


โภชนาการพิเศษ

ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ควรกินอาหารแบบไหนถึงจะดี

การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ และเหมาะสมถูกต้องกับสุขภาพกาย นั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยในการฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย ให้สามารถต่อสู้กับโรคได้ดียิ่งขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอ อาหารสำหรับผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง ที่ควรรับประทาน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อม สำหรับการต่อสู้กับโรคร้าย อาหารสำคัญอย่างไรต่อผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สมดุล และมีคุณค่าทางโภชนาการนั้นมีความสำคัญมาก เมื่อคุณป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง เพราะการรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือโรคร้ายและผลข้างเคียงจะการรักษาได้ดีมากขึ้น เนื่องจาก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรง และมีพลังกายมากขึ้น ช่วยควบคุมและรักษาระดับของน้ำหนักตัว ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ไม่น้อยหรือมากจนเกินไป ทำให้ผู้ป่วยได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ช่วยบรรเทาอาการและผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง เช่น อาการเบื่ออาหาร อาการท้องเสีย หรืออาการคลื่นไส้อาเจียน อาจทำให้ร่างกายผู้ป่วยสูญเสียน้ำและสารอาหารจำนวนมากได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการจัดการกับอาการข้างเคียงให้เหมาะสม และรับประทานอาหารที่จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ ทำให้ตัวผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง สามารถดูแลและบำรุงร่างกายให้แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับโรคร้ายต่อไป อาหารสำหรับผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง ที่ควรรับประทาน หากจะว่ากันตามตรง ในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัว หรืออาหารที่เฉพาะเจาะจง ว่าผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองควรรับประทาน แต่ในระหว่างการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ไม่ว่าจะเป็นการให้ยา การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงได้ ดังนั้นแนวทางในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง จึงมุ่งเน้นไปที่การจัดการกับผลข้างเคียงของการรักษาต่างๆ ดังต่อไปนี้ อาการท้องผูก อาการท้องผูกนั้นเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดในการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง อีกทั้งผู้ป่วยหลายคนยังรู้สึกอายเกินกว่าที่จะปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัญหานี้ อาการท้องผูกนั้นนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัวแล้ว ยังอาจส่งผลต่อความอยากอาหาร หรือนำไปสู่การเกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือโรคมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย อาหารที่ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองควรรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการท้องผูกนั้น คืออาหารที่มีน้ำและมีใยอาหารสูง […]


โภชนาการพิเศษ

โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis) เป็นแล้วควรดูแลอาหารการกินยังไงดี

การกินอาหารนั้นสำคัญต่อสุขภาพมาก เราต้องเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ และเหมาะสมกับสภาวะร่างกายของตัวเอง ยิ่งหากคุณมีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคใด ๆ อยู่ ก็ยิ่งต้องเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ ด้วย จะได้ช่วยให้คุณควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากพาคุณไปรู้จักกับอาหารที่เหมาะสมกับโรคหายากอย่าง โรคพังผืดในไขกระดูก ว่าควรกินยังไงถึงจะเหมาะสมกับโรคนี้ที่สุด เผื่อวันหนึ่ง คุณต้องดูแลผู้ป่วยโรคนี้ จะได้สามารถจัดเตรียมอาหารการกินให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ทำความรู้จักกับ โรคพังผืดในไขกระดูก โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis หรือ MF) เป็นโรคมะเร็งไขกระดูกชนิดหายาก จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งโลหิตวิทยา หรือมะเร็งเม็ดเลือด (Blood Cancers) ที่เรียกว่า กลุ่มโรคเม็ดเลือดสูง หรือกลุ่มโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ (Myeloproliferative neoplasm หรือ MPN) เมื่อเซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดพังผืด ทำให้ผู้ป่วยมีโลหิตจางรุนแรง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ม้ามและไตโตขึ้น โรคพังผืดในไขกระดูกนี้ หากเกิดขึ้นเองจะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกปฐมภูมิ (Primary Myelofibrosis) แต่หากเป็นผลมาจากโรคอื่น จะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกชนิดทุติยภูมิ (Secondary Myelofibrosis) โดยโรคที่ทำให้เกิดโรคพังผืดในไขกระดูกชนิดทุติยภูมิได้ เช่น โรคเลือดข้น (Polycythemia […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม