สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

วัคซีนบาดทะยัก ผู้ใหญ่ กี่เข็ม และเมื่อไหร่ถึงควรฉีด

เมื่อเกิดแผลบนร่างกายจนเลือดออก หลายคนจะนึกถึง โรคบาดทะยัก โดยเฉพาะตอนที่ถูกของมีคมซึ่งขึ้นสนิมบาดร่างกาย จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ วัคซีนบาดทะยัก เมื่อฉีดให้ผู้ใหญ่ ต้องฉีดวัคซีนกี่เข็ม  [embed-health-tool-bmi] โรคบาดทะยัก คืออะไร โรคบาดทะยัก (Tetanus) จัดว่าเป็นโรคติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ สาเหตุของโรคบาดทะยัก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Clostidium tetani ซึ่งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะผลิต Exotoxin มีพิษต่อเส้นประสาทซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เกิดเป็นอาการหดเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา อาการเริ่มแรกของโรคบาดทะยัก กล้ามเนื้อขากรรไกรจะเกร็ง จนอ้าปากไม่ได้ โรคบาดทะยัก จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคขากรรไกรแข็ง (Lockjaw) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคอแข็ง หลังแข็ง จากนั้นจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว และเสี่ยงต่ออาการชัก เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในรูปแบบของสปอร์ พบได้ในดินตามพื้นหญ้า ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์ และพบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แบ่งตัวและขับ Exotoxin ออกมา โดยเฉพาะในแผลลึกที่เชื้อจะเจริญแบ่งตัวได้ดี  เช่น  บาดแผลจากตะปูตำ  แผลไฟไหม้  แผลจากน้ำร้อนลวก  เกิดผิวหนังถลอกเป็นบริเวณกว้าง  เกิดบาดแผลในปาก ฟันผุ  เชื้อแบคทีเรียเข้าทางหูที่อักเสบ จากการใช้เศษไม้หรือต้นหญ้าที่มีเชื้อ มาแคะฟันหรือแยงในใบหู อาการของโรคบาดทะยัก ระยะจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ มีอาการคอแข็ง  หลังจากอาการแรก […]

สำรวจ สุขภาพ

ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

เครื่องเอคโม เครื่องมือช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด

ปอดและหัวใจ ถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนนำก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือด และช่วยสูบฉีดเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ แต่เมื่อใดที่อวัยวะทั้งสองมีการทำงานผิดปกติ เครื่องเอคโม (ECMO) ก็อาจเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยเข้ามาประคองการทำงาของปอดและหัวใจได้ มาทำความรู้จักกับเครื่องเอคโมได้ในบทความนี้ค่ะ เครื่องเอคโม คืออะไร เอคโม (Extracorporeal membrane oxygenation ; ECMO) หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า เครื่องให้ออกซิเจนเยื่อหุ้มเซลล์ภายนอก คือเครื่องมือที่ใช้ในการบายพาสหัวใจและปอด พร้อมช่วยกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงช่วยเติมออกซิเจนในเลือด เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย สำหรับการติดตั้งเครื่องเอคโคเพื่อช่วยปรับปรุงการทำงานของปอดและหัวใจนั้น จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อติดตั้งเครื่องมือภายในร่างกาย โดยแพทย์จะเริ่มจากการใช้ยาสลบหรือยาระงับความเจ็บปวด จากนั้นจึงค่อยสอดท่อขนาดเล็ก (Cannulas) ที่มีความยืดหยุ่นสูง เข้าไปในหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดดำให้อยู่ตรงตำแหน่งที่เหมาะสม ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องเอคโคเป็นเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ จากนั้นแพทย์จะทดสอบการทำงานของปอดและหัวใจ เพื่อดูว่าสามารถนำเครื่อง เอคโม ออกได้หรือยัง นอกจากนี้เครื่องเอคโมยังมีอีกรูปแบบหนึ่งในขนาดพกพา ที่เหมาะสำหรับการรักษาผู้ป่วยเบื้องต้นขณะนำส่งโรงพยาบาล ก่อนจะถูกส่งไปรักษาต่อโดยแพทย์อีกที ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่อาจสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้แทบทุกสถานการณ์เลยทีเดียว ใครบ้างที่เหมาะสมในการใช้ เครื่องเอคโม โดยส่วนใหญ่แพทย์มักเลือกใช้เครื่องเอคโมกับผู้ป่วยที่มีภาวะทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy decompensated) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) ภาวะช็อกจากสาเหตุหัวใจสูบฉีดเลือดไม่เพียงพอ ความดันโลหิตสูงในปอด ระบบหายใจล้มเหลว ไส้เลื่อนกระบังลม อาการสำลักน้ำคร่ำของทารกในครรภ์คุณแม่ โรคปอดบวมรุนแรง กลุ่มอาการหายใจลำบาก โรคปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ ผลกระทบจากไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อุบัติเหตุรุนแรง ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้เครื่อง เอคโม นี้ ควรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจจากแพทย์เท่านั้น เพราะอาจมีเทคนิคการรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามสภาวะของโรค หรือช่วยลดจากความเสี่ยงได้มากกว่าการใช้เครื่องเอคโมนั่นเอง ข้อเสียที่อาจได้รับจาก […]


ขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด

การฉีดยาเข้าลูกตา เทคนิคการรักษาปัญหาดวงตา โดยจักษุแพทย์

การฉีดยาเข้าลูกตา แม้ว่าอาจจะฟังดูแล้น่ากลัว แต่ก็เป็นกระบวนการ ที่อาจสามารถช่วยแก้ไขปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับดวงตาของเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับ การฉีดยาเข้าวุ้นตา ทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปประกอบการพิจารณาเป็นอีกตัวเลือกของการรักษาดวงตาค่ะ การฉีดยาเข้าลูกตา คืออะไร ฉีดยาเข้าลูกตา หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ฉีดยาเข้าวุ้นตา (Eye Injections) คือ การรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพตาโดยตรง เช่น อาการจอประสาทตาเสื่อม โรคเบาหวานขึ้นตา การอุดตันของเส้นเลือดในจอประสาทตา โดยใช้ยาในกลุ่ม anti-VEGF ซึ่งเป็นยาที่ใช้ยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดภาวะกระตุ้นการเจริญเติบโตของหลอดเลือด มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ Aflibercept (Eylea) Bevacizumab (Avastin®) Brolucizumab( Beovu ®) Ranibizumab(Lucentis®) แต่ถึงอย่างไร แพทย์อาจมีการวินิจฉัย และการตรวจสอบอย่างละเอียดเสียก่อน เพื่อหาวิธีรักษา และเลือกชนิดยาที่เหมาะสมกับสภาวะที่คุณเป็น หากจำเป็นต้องเข้ารับการ ฉีดยาเข้าวุ้นตา ขั้นตอนการฉีดยาเข้าลูกตา โดยแพทย์ แพทย์อาจให้คุณนั่งหรือนอนในท่าที่สบายและผ่อนคลาย จากนั้นจึงนำยาชาหยอดลงในลูกตา เพื่อให้คุณไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด พร้อมเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการฉีดยา ดังนี้ ทำความโดยรอบบริเวณเปลือกตา โดยปกติแพทย์อาจใช้เป็นโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone-iodine) ใช้อุปกรณ์ถ่างตา เพื่อเปิดเปลือกตาขึ้นเตรียมการฉีด ในระหว่างการฉีดยา แพทย์ให้คุณมองไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เพื่อฉีดเข้าสู่บริเวณตาขาว ขั้นตอนการ ฉีดยาเข้าวุ้นตา ทั้งหมดนี้มักใช้ระยะเวลาเพียง 10-15 นาที เท่านั้น ซึ่งแพทย์อาจมีการทำความสะอาดรอบดวงตาอีกรอบหลังจากการฉีดยาเสร็จสิ้น เพื่อให้ดวงตาคุณสะอาดปลอดจากเชื้อแบคทีเรียมากที่สุด ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังถูก ฉีดยาเข้าวุ้นตา การมองเห็นลดลง ดวงตาไวต่อแสง ปวดตา กระจกตาถลอก ความดันในตาเพิ่มขึ้น เรตินา […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะต่อมหมวกไตล้า ปัญหาที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง

ต่อมหมวกไต เป็นต่อมที่ผลิตฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายและสุขภาพหลายอย่าง ต่อมหมวกไตมีส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมัน เผาผลาญโปรตีน ควบคุมระดับน้ำตาล ควบคุมความดันโลหิต และการตอบสนองต่อความเครียด หาก ต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมนได้ไม่เพียงพออาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาวะต่อมหมวกไตล้า ปัญหาที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง จนส่งผลกระทบต่อร่างกายมาฝากกันค่ะ ภาวะต่อมหมวกไตล้า เกิดขึ้นจากอะไร ทฤษฎีต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Glands) เป็นทฤษฎีที่ถูกตั้งขึ้นโดย James Wilson ซึ่งเป็นแพทย์ทางเลือกและผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด เป็นทฤษฎีที่บอกว่าเมื่อร่างกายเกิดความเครียดสูงเป็นระยะยาวหรือเกิดความเครียดเรื้อรัง จนทำให้ต่อมหมวกไตทำงานหนัก จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ จึงถูกเรียกว่าภาวะต่อมหมวกไตล้า อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ได้แก่ เหนื่อยล้า นอนหลับยาก ตื่นยาก ต้องการของหวาน ต้องการคาเฟอีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถพบได้โดยทั่วไป บางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โรคโลหิตจาง หยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปัญหาเกี่ยวกับปอด การติดเชื้อ โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ดูแลรักษาตนเองอย่างไรเมื่อ ต่อมหมวกไตล้า การดูแลตนเองและใช้วิธีการบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติเป็นวิธีที่สามารถจัดการอาการที่เกิดจาก ต่อมหมวกไตล้า ได้ ดังนี้ อาหาร การรับประทานอาหารมีส่วนช่วยทำให้ ต่อมหมวกไตล้า ได้น้อยลง โดยควรเลือกรับประทานอาหารที่สมดุล โดยการเพิ่มการบริโภคอาหารเหล่านี้ อาหารโปรตีนสูง ธัญพืช ผัก นอกจากนี้ยังควรลดการบริโภคอาหารบางชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะน้ำตาล อาหารแปรรูป อาหารทอด คาเฟอีน ลดความเครียด ทฤษฎี ต่อมหมวกไตล้า มีพื้นฐานมาจากความเครียดระยายาวหรือการเกิดความเครียดเรื้อรัง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธีการแยงโม เปิดเรื่องลับของสาวประเภทสอง

สิ่งที่ปรารถนาและเป็นความสุขที่สุดในชีวิตของสาวประเภทสองหรือ “ผู้หญิงข้ามเพศ” คือ การได้เป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์แบบทั้งความรู้สึกและรูปลักษณ์ภายนอก ดังนั้น เมื่อมีโอกาสสำหรับการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง ข้อปฏิบัติลับ ๆ อย่างหนึ่งที่นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง นั่นก็คือการ แยงโม ที่เชื่อว่าทั้งสาวแท้และสาวเทียมย่อมอยากรู้กันอย่างแน่นอน วิธีการแยงโม คืออะไร หลังจากที่สาวประเภทสองได้รับการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง นอกจากดูแลเรื่องความสะอาดของแผลผ่าตัดแล้ว จะต้องทำการขยายช่องคลอดเทียมด้วยวิธีที่เรียกว่า “การแยงโม” เพื่อขยายช่องคลอดเทียมที่สร้างขึ้นทั้งด้านกว้างและด้านลึก โดยใช้แท่งขยายช่องคลอดเทียมที่มีลักษณะคล้ายกับอวัยวะเพศชาย ตั้งแต่ไซส์ S M และ L ช่วยป้องกันไม่ให้ช่องคลอดเทียมนั้นตีบและตัน ในช่วงครึ่งปีแรกจะต้องทำการแยงโมทุกเช้าเย็นครั้งละ 1 ชั่วโมง เมื่อถึงครึ่งปีหลังจึงค่อยลดเหลือวันละครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง โดยเปลี่ยนขนาดแท่งโมไปเรื่อย ๆ จนถึงไซส์ใหญ่สุด วิธีการแยงโม เจ็บหรือเสียวกันแน่ ข้อนี้น่าจะเป็นคำถามยอดฮิตที่ทุกคนอยากรู้แน่ ๆ ว่า เวลาแยงโมแล้วจะทำให้สาวประเภทสองรู้สึกเจ็บหรือเสียวมากกว่ากัน ซึ่งในช่วงแรกที่ผ่าตัดแปลงเพศเสร็จเรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่า การแยงโมเพื่อขยายช่องคลอดเทียม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตีบตันและเป็นการรักษาความลึก ต้องทำให้รู้สึกเจ็บอย่างแน่นอน โดยอาจจะต้องใช้เวลาตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ช่องคลอดเทียมจึงจะเริ่มเข้าที่มากขึ้น มีคำยืนยันจากผู้หญิงข้ามเพศที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศกล่าวว่า ช่วง 3 เดือนแรกหลังผ่าตัดจะต้องแยงโมทุกวันและแยงทุกไซส์คาไว้ให้ครบตามเวลาที่แพทย์กำหนด ทำให้รู้สึกเจ็บมากจนบางครั้งถึงกับน้ำตาไหล แต่ก็ต้องอดทนมากที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องผ่าตัดแก้ไขปัญหาช่องคลอดเทียมตีบตันในภายหลัง เปิดเรื่องลับของสาวประเภทสองกับวิธีการแยงโม สำหรับช่วงเวลากลางคืนที่นอนหลับพักผ่อนนั้น […]


อาการของโรค

ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ในแต่ละครั้งที่คุณปัสสาวะนั้นมีเลือดปะปนออกมา ไม่ว่าจะในปริมาณเล็กน้อย หรือปริมาณมาก ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีสัญญาณแรกเริ่มของอาการ ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) และจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาโดยด่วนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที คำจำกัดความปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คืออะไร ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คือภาวะสุขภาพบางอย่าง ที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อเนื่องจากโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เช่น โรคไต โรคมะเร็ง หากมีเลือดปนออกมาในปริมาณมากก็อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากมีเลือดปนมาในปริมาณน้อย อาจจำเป็นต้องตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ร่วมให้แน่ชัด ปัสสาวะเป็นเลือด สามารถพบได้บ่อยเพียงใด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป อาการอาการของปัสสาวะเป็นเลือด ผู้ที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือดนั้น มักสังเกตอาการได้จากเลือดที่ปะปนออกมาในปัสสาวะ จนอาจทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน สีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม รวมทั้งอาจมีอาการเจ็บแสบอวัยวะเพศร่วมด้วยขณะปัสสาวะ สาเหตุสาเหตุของการเกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โรคที่เกิดจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ การบาดเจ็บที่ไต ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่กระทบต่อไตโดยตรง นอกจากนี้ยังมียาบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) ยาเฮพาริน (Heparin) และยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่อาจส่งผลให้เกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด ได้อีกด้วย ดังนั้น หากคุณเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ โปรดระบุชนิดยาที่คุณรับประทานอยู่ปัจจุบันให้แพทย์ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการหาวิธีรักษาได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัสสาวะเป็นเลือด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิด ภาวะปัสสาวะเป็นเลือด มีดังต่อไปนี้ ประวัติทางภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคไต หรือนิ่วในไตของบุคคลในครอบครัว ผู้สูงอายุตั้งแต่ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions)

แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยมาก คือ รอยถลอกที่เกิดจากการที่ผิวหนังถูกับพื้นบนผิวหยาบ เช่น พื้นถนน โดยส่วนใหญ่รอยถลอกมักเกิดขึ้นกับ ข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า แขน เป็นต้น คำจำกัดความแผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions) คืออะไร แผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยมาก คือ รอยถลอกที่เกิดจากการที่ผิวหนังถูกับพื้นบนผิวหยาบ เช่น พื้นถนน โดยส่วนใหญ่รอยถลอกมักเกิดขึ้นกับ ข้อศอก หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า แขน เป็นต้น   พบได้บ่อยเพียงใด  แผลถลอกบนผิวหนังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาการอาการของแผลถลอกบนผิวหนัง (Skin Abrasions) โดยทั่วไปอาการของแผลถลอกบนผิวหนัง มักจะเกิดขึ้นบริเวณแขนและขา เมื่อผิวหนังถูกับพื้นผิวที่แข็งหรือหยาบ บริเวณต่าง ๆ ของร่างกายเช่น หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า และข้อศอก มีความเสี่ยงต่อการถลอกได้เช่นกัน  โดยลักษณะของแผลถลอกบนผิวหนังนั้นจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้ อาการของแผลถลอกบนผิวหนังระดับแรก  แผลถลอกบนผิวหนังชั้นนอกเป็นชั้นผิวหนังที่ตื้นที่สุด ถือว่าไม่มีอาการรุนแรง และไม่มีเลือดออก อาการของแผลถลอกบนผิวหนังระดับสอง ผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังแท้เกิดการถลอก อาจมีเลือดออกเล็กน้อย อาการของแผลถลอกบนผิวหนังระดับสาม การอาการถลอกบนผิวหนังชนิดรุนแรง […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ร่างกายปฏิเสธการเจาะ อีกเรื่องที่ควรรู้ก่อนเจาะร่างกาย

สำหรับบางคนแล้ว การเจาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายถือเป็นเรื่องของความสวยความงาม ทั้งยังถือว่าเป็นความชอบส่วนบุคคล แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเจาะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เหมือนกันหมด เพราะบางคนเมื่อเจาะแล้ว ร่างกายปฏิเสธการเจาะ ขึ้นมา ก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน ร่างกายปฏิเสธการเจาะ คืออะไร เมื่อเจาะร่างกายมาใหม่ ๆ ร่างกายของคุณจะพยายามรับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่บางครั้งร่างกายอาจจะปฏิเสธและพยายามดันสิ่งแปลกปลอมออก นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ร่างกายปฏิเสธการเจาะ” ในช่วงแรก เมื่อร่างกายปฏิเสธการเจาะ ผิวหนังของคุณจะพยายามดันสิ่งที่เจาะลงไปบนร่างกายออกไปจากผิวหนังของคุณ ภาวะที่ร่างกายปฏิเสธการเจาะนั้นไม่ได้พบได้บ่อยเหมือนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อ คีลอยด์ ผิวหนังอักเสบ โดยปกติแล้ว หากคุณเจาะร่างกายบริเวณเหล่านี้ อาจจะเกิดปฏิกิริยาร่างกายปฏิเสธการเจาะได้ คิ้ว สะดือ เจาะเซอร์เฟส (Surface Piercing) ซึ่งเป็นการเจาะผ่านผิวหนัง ต้นคอ สะโพก อาการเมื่อร่างกายปฏิเสธการเจาะ ร่างกายของเรานั้นมีหน้าที่ในการป้องกันตัวเองจากอันตรายต่าง ๆ ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เมื่อคุณทำร้ายตัวเอง ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มทำงานเพื่อรักษาร่างกายให้หายดีโดยเร็วที่สุด ซึ่งอาการของร่างกายที่ปฏิเสธการเจาะ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ร่างกายกำลังปกป้องตัวเองจากสิ่งที่เห็นว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม นั่นก็คือ เครื่องประดับ นั่นเอง เมื่อร่างกายปฏิเสธการเจาะ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เครื่องประดับจะเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิมอย่างเห็นได้ชัด ปริมาณเนื้อเยื่อตรงจุดที่ถูกเจาะจะน้อยลง ซึ่งความจริงแล้วควรมีเนื้อเยื่อระหว่างรูอย่างน้อย 1 ใน 4 นิ้ว รูที่เจาะเครื่องประดับลงไปจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เครื่องประดับเริ่มห้อยหรือยานลงมา ผิวหนังที่ถูกเจาะจะมีลักษณะ ผิวเป็นขุย ผิวลอก แดงหรืออักเสบ ผิวหนังบริเวณนั้นดูแข็ง หรือดูยากผิดปกติ ผิวหนังมีลักษณะเกือบใส ทำให้คุณสามารถมองเห็นเครื่องประดับผ่านผิวหนังได้ ร่างกายปฏิเสธการเจาะมักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์แรกและประมาณ […]


อาการของโรค

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) ภัยเงียบที่แฝงตัวมากับความ อ้วนลงพุง

ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปัจจัยเสี่ยง  5 ประการ นอกจากนี้ยังทำให้ อ้วนลงพุง อีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีรอบเอวที่มากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม รับประทานอาหารมากไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะเมแทบอลิก มาให้อ่านกันค่ะ ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) คืออะไร การเกิด ภาวะเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) เป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง 5 ประการ ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งปัจจัย 5 ประการมีดังนี้ ความดันโลหิตสูง (ความดันมากว่า 130/85 mmHg) ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีไขมันส่วนเกินรอบเอว ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ระดับคอเลสเตอรอลดี (HDL) ต่ำ การที่ร่างกายมีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่ามีภาวะเมแทบอลิก แต่อย่างไรก็ตามหากมีปัจจัยเสี่ยงเพียง 1 ปัจจัยก็สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยง 3 ปัจจัยขึ้นไปมีโอกาสในการเกิดภาวะเมแทบอลิกสูงมาก สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิก สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิก คือ อ้วนลงพุง มีไขมันส่วนเกินในร่างกาย และการต้านอินซูลิน ส่งผลทำให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้ยาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเมแทบอลิกได้อีก เช่น อายุ มีคนในครอบครัวเคยเกิดภาวะนี้ […]


สุขภาพ

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) เป็นภาวะระยาวที่เกิดจากการอุดตันของน้ำเหลือง (น้ำเหลืองไม่่สามารถระบายออกได้) ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ โดยส่วนใหญ่มักพบบริเวณ แขนทั้ง 2 ข้าง หรือ ขาทั้ง 2 ข้าง อาจได้รับผลกระทบ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมที่ศีรษะ อวัยวะเพศ หน้าอก เป็นต้น  คำจำกัดความภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) คืออะไร ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) เป็นภาวะระยาวที่เกิดจากการอุดตันของน้ำเหลือง (น้ำเหลืองไม่สามารถระบายออกได้) ส่งผลให้เกิดอาการบวมน้ำ โดยส่วนใหญ่มักพบในบริเวณ แขนทั้ง 2 ข้าง หรือ ขาทั้ง 2 ข้าง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมที่ศีรษะ อวัยวะเพศ หน้าอก เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม ภาวะบวมน้ำเหลืองไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถบรรเทาควบคุมอาการได้ พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะบวมน้ำเหลืองมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 34 ปี ขึ้นไป รวมถึงในผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน มีน้ำหนักเกิน โรคไขข้ออักเสบ หรือโรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น  อาการอาการของภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) อาการของภาวะบวมน้ำเหลือง มักเกิดขึ้นที่บริเวณแขนและขา โดยมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้  มีอาการบวมและรู้สึกหนักบริเวณแขนและขา มีอาการปวด รู้สึกตึงหรือผิวบริเวณที่มีอาการแข็ง  ปวดเมื่อย ไม่สบายตัว เคลื่อนไหวลำบาก  ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

รู้หรือไม่! ยิ่งหนาว ยิ่งตื่นเต้น ยิ่งทำให้รู้สึก ปวดปัสสาวะ

สงสัยกันบ้างไหมคะ! ยิ่งเวลาเรารู้วิตกกังวล ตื่นเต้น หรืออยู่สภาพอากาศหนาว ๆ ทีไร เราจะรู้สึก ปวดปัสสาวะ บ่อยมากขึ้น มันเป็นเพราะอะไร? จะส่งผลเสียต่อสุขขภาพหรือไม่? วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ ทำไมเราถึง ปวดปัสสาวะ บ่อย โดยปกติระบบการขับถ่ายปัสสาวะในวัยผู้ใหญ่จะปัสสาวะอยู่ประมาณ 4-6 ครั้ง ต่อวัน โดยมีปริมาณปัสสาวะเฉลี่ยระหว่าง 3 ถ้วย ถึง 3 ควอร์ต หากมีการปัสสาวะมากกว่า 4-6 ครั้ง ต่อวัน อาจเกิดจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัย ดังนี้ โรคเบาหวาน การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ การรับประทานอาหารบางชนิดและเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาหารรสเค็ม อาศัยอยู่ในที่มีบรรยากาศเย็น ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) อาการนอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ที่เกิดจากการสูญเสียแร่ธาตุและอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) ที่จำเป็นในปัสสาวะ ทำไมเราถึงรู้สึก ปวดปัสสาวะ เมื่อมีอาการตื่นเต้นหรือรู้สึกกังวล Dr. Tom Chi รองศาสตราจารย์ด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก (University of California, San Francisco) กล่าวว่า ในสถานการณ์ทั่วไป […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม