ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

อากาศในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้บ่อย ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงส่งผลให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดง่ายและรวดเร็ว การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังต้องระมัดระวังโรคที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออากาศเปลี่ยน [embed-health-tool-heart-rate] อากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ อากาศมักจะเปลี่ยนแปลงจากร้อนมากไปอากาศหนาว หรือมีฝนตกแบบฉับพลัน อาจมีหลายสภาพอากาศในหนึ่งวันสำหรับบางพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ เช่น ช่วงเวลากลางวัน อากาศร้อนอบอ้าว แต่เมื่อฝนตกอากาศเย็นและเปียกชื้น หากร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และหัด  โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง  โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด  โรคจากความร้อน โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก วิธีดูแลสุขภาพแต่ละช่วงวัย ในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังสุขภาพมากเป็นพิเศษในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยมีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ ดังนี้ กลุ่มทารก : ทารกควรกินนมแม่เป็นประจำ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยเฉพาะทารกแรกเกิด-6 เดือน  กลุ่มเด็กเล็ก : เด็กเล็กสามารถกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนอายุครบ 2 ปี เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน : ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัย เลือกอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ พยายามลดความเครียดลง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงได้ กลุ่มผู้สูงอายุ […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ฮอร์โมนเกรลิน ฮอร์โมนแห่งความหิว ที่เราควรรู้จัก

ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่หลักคือการควบคุมความอยากอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยต่อมใต้สมองในการควบคุมอินซูลิน (Insulin) และช่วยปกป้องสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับฮอร์โมนเกรลิน ว่ามีหน้าที่ทำอะไร และส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง การทำงานของ ฮอร์โมนเกรลิน ฮอร์โมนเกรลินเป็นฮอร์โมนที่รู้จักกันดีในชื่อ “ฮอร์โมนแห่งความหิว” ซึ่งมีหน้าที่หลายอย่างในร่างกาย แต่หน้าที่ของฮอร์โมนเกรลินที่ถูกพูดถึงมากคือ กระตุ้นความอยากอาหารและทำให้ร่างกายรู้สึกหิว การผลิตและการปล่อยฮอร์โมนเกรลินนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังสมอง ทำให้สมองสั่งการให้ร่างกายรู้สึกหิวและอยากอาหาร หน้าที่หลัก ๆ ของฮอร์โมนเกรลินคือการเพิ่มความอยากอาหารทำให้รับประทานอาหารมากขึ้น เมื่อร่างกายได้รับอาหารมากก็จะได้รับแคลอรี่และมีไขมันกักเก็บได้มากตามไปด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก หากมีการหลั่งฮอร์โมนเกรลินมากเกินไปก็จะเป็นอุปสรรคที่ทำให้ลดน้ำหนักได้ยาก สาเหตุที่ทำให้ ฮอร์โมนต์เกรลิน เพิ่มสูงขึ้น ฮอร์โมนแห่งความหิว เกรลิน เป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาจากกระเพาะอาหารเมื่อเราท้องว่าง ช่วยกระตุ้นทำให้เรารู้สึกหิว แต่สำหรับบางคนที่รู้สึกหิวบ่อย ๆ หิวง่าย หรือแม้กระทั่งรู้สึกหิวแม้จะจะเพิ่งรับประทานอาหารเข้าไป อาจเป็นเพราะว่าฮอร์โมนเกรลินหลั่งมากขึ้น ซึ่งตัวการที่ทำให้ฮอร์โมนชนิดนี้เพิ่มขึ้นคือความเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอ ความวิตกกังวล ควบคุม ฮอร์โมนแห่งความหิว อย่างไรให้สมดุล และปกติ ฮอร์โมนเกรลินเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญกับความหิวและความอิ่ม การลดระดับฮอร์โมนเกรลินอาจทำให้ร่างกายรู้สึกอยากอาหารน้อยลงและส่งผลทำให้น้ำหนักนั้นลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเกรลินเพียงอย่างเดียว อาจไม่ช่วยตัวชี้วัดการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักได้ เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำหนัก แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดระดับฮอร์โมนเกรลินลงนั้นสามารถทำได้ด้วยวิธีธรรมชาติเหล่านี้ ลดการบริโภคฟรุกโตส การบริโภคอาหารที่มีปริมาณฟรุกโตส (Fructose) สูง อาจทำให้ฮอร์โมนเกรลินนั้นเพิ่มขึ้น เมื่อระดับฮอร์โมนเกรลินที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้รับประทานอาหารมากขึ้นในระหว่างมื้ออาหารหรือรู้สึกหิวหลังรับประทานอาหารได้ไม่นาน รับประทานอาหารบางอย่างมากขึ้น การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น และยังมีส่วนช่วยในการยับยั้งฮอร์โมนเกรลินได้ ออกกำลังกาย ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า การออกกำลังกายนั้นสามารถลดหรือเพิ่มระดับฮอร์โมนเกรลินในร่างกายได้หรือไม่ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

สุขก็ทะเล เศร้าก็ทะเล รู้ไหม ไปทะเล ดีต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

หนึ่งในสถานที่พักผ่อนยอดฮิต ที่เมื่อวางแผนวันหยุดยาวเมื่อไหร่ ก็จะต้องมีที่แห่งนี้หลุดโผเข้ามาเป็นตัวเลือกอยู่เสมอ ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึงการเที่ยวไปทะเล แต่รู้หรือไม่ว่าการไปเที่ยวทะเล ไม่ได้เป็นเพียงการไปพักผ่อนจากความเหนื่อยล้าในการทำงานและการใช้ชีวิตเท่านั้น เพราะการไปพักผ่อนริมชายหาด ดื่มด่ำกับน้ำ ทะเล สัมผัสสายลมและแสงแดดมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด วันนี้ Hello คุณหมอ มีประโยชน์ดี ๆ ของการ ไปทะเล มาฝากค่ะ ไปทะเล ดียังไง ประโยชน์จากวิตามินดี วิตามินดี เป็นหนึ่งในวิตามินสำคัญที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ในชั้นผิวหนัง และได้รับเพิ่มจากการรับประทานอาหารและอาหารเสริมวิตามินดี เพื่อให้ร่างกายมีระดับของวิตามินดีอย่างเพียงพอ มากไปกว่านั้นการออกไปรับแสงแดด ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเสริมวิตามินดีให้แก่ร่างกายได้เช่นกัน เมื่อผิวหนังได้สัมผัสกับแสงแดด ชั้นผิวหนังก็จะสร้างวิตามินดีขึ้น ซึ่งวิตามินดีนี้จะไปช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง จากผลการศึกษายังพบอีกว่าผู้ที่มีภาวะขาดแคลนวิตามินดี มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ดังนั้นการไปตากแดดบ้างเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีมากขึ้น ก็จะช่วยป้องกันทั้งความเสี่ยงของภาวะขาดแคลนวิตามินดีและโรคซึมเศร้า อีกทั้งวิตามินดียังมีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตเอนดอร์ฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย บรรเทาความเครียด มีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์วิชาการ Sciencedirect พบว่าการออกกำลังกายกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายท่ามกลางธรรมชาติ อย่างการว่ายน้ำในทะเลมีส่วนบรรเทาความเครียด และลดอาการซึมเศร้าได้ เนื่องจากขณะที่ว่ายน้ำหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งแบบใกล้ชิดธรรมชาตินั้น ระดับคอร์ติซอล (Cortisol) หรือ “ฮอร์โมนแห่งความเครียด” ในร่างกายจะลดลง ซึ่งฮอร์โมนนี้หากอยู่ในระดับปกติ จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมความดันโลหิต ลดการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนหลับได้ดีขึ้น การว่ายน้ำใน ทะเล […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

วิธีกระตุ้นการขับถ่าย เมื่อขับถ่ายคล่อง สุขภาพก็แข็งแรงขึ้นด้วย

การ ขับถ่าย อุจจาระ เป็นหนึ่งในกิจวัตรที่เราทุกคนควรทำให้ได้ทุกวัน แต่บางคนก็อาจประสบปัญหาท้องผูก ขับถ่ายยาก บางครั้งอาจต้องนั่งนานเกินครึ่งชั่วโมงกว่าจะถ่ายออก ซึ่งปัญหาขับถ่ายยากนี้ นอกจากจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้คุณเสียความมั่นใจได้แล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ เลยมี วิธีกระตุ้นการขับถ่าย มาฝาก รับรองว่าทำแล้ว คุณจะขับถ่ายได้คล่องขึ้น แถมยังช่วยให้สุขภาพดีขึ้นด้วย วิธีกระตุ้นการขับถ่าย ที่ทำได้เองง่าย ๆ ดื่มน้ำให้มาก ๆ การดื่มน้ำถือเป็นวิธีกระตุ้นการ ขับถ่าย ที่ทำได้ง่ายที่สุด หากคุณดื่มน้ำได้วันละ 8 แก้ว หรือให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากจะช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ภาวะขาดน้ำ ภาวะบวมน้ำ หากใครกลัวว่าจะดื่มน้ำเปล่าได้ไม่เพียงพอ ก็อาจเลือกกินผักหรือผลไม้ฉ่ำน้ำเสริมได้ เช่น แตงกวา ผักกาดแก้ว แคนตาลูป แตงโม มะเขือเทศ มะพร้าว ชมพู่ เสาวรส สาลี่ งดหรือลดอาหารและเครื่องดื่มบางชนิด อาหารและเครื่องดื่มที่คุณบริโภคเข้าไปในแต่ละวัน สามารถส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของคุณได้โดยตรง ให้คุณลองสังเกตและจดบันทึกไว้ว่า อาหารและเครื่องดื่มชนิดใดบ้างที่กินแล้วมีปัญหาขับถ่ายไม่สะดวก และเมื่อรู้แล้วก็ควรงดหรือลดการบริโภคอาหารเหล่านั้น ปัญหาในการ ขับถ่าย ของคุณก็จะทุเลาลง อาหารและเครื่องดื่มที่มักก่อให้เกิดปัญหาท้องผูก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาสีฟันแต้มสิว ปลอดภัยหรือไม่ ใช้แล้วได้ผลจริงหรือ?

หากคุณเคยได้ยินมาว่าการใช้ ยาสีฟันแต้มสิว แทนยาปฏิชีวนะ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้โดยไม่มีอันตรายแล้วละก็ โปรดลองอ่านบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนวันนี้เสียก่อน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาว่าคุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรักษาสิวด้วยยาสีฟันหรือไม่ การใช้ ยาสีฟันทาสิว อาจส่งผลเสียได้มากกว่าที่คุณคิด สาเหตุที่ผู้คนคิดว่าการใช้ ยาสีฟันแต้มสิว นั้น อาจช่วยรักษาสิวให้หายได้ก็เพราะ ยาสีฟันมีสารที่ชื่อว่าไตรโคลซาน (Triclosan) ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างไรการที่คุณจะนำมาใช้กับผิวหนังโดยเฉพาะกับใบหน้าของเราอาจไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากยาสีฟันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH ในระดับที่สามารถสร้างความระคายเคืองต่อสุขภาพผิวของคุณ อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เข้าไปกระตุ้นการผลิตน้ำมันส่วนเกินออกมาจนทำให้สิวเดิมมีอาการแย่ลง หรือทำให้มีสิวใหม่เกิดขึ้น จนบางครั้งคุณอาจรู้สึกเหมือนมีอาการแสบหน้า ใบหน้าแดง และมีผดผื่นตามมาได้ ส่วนประกอบในยาสีฟัน ที่ไม่เหมาะสมแก่การนำมาใช้กับผิวหน้า ส่วนประกอบในยาสีฟันส่วนใหญ่มีสารประกอบมากมายหลายชนิดด้วยกัน เพื่อตอบสนองในการรักษาสุขภาพฟันของเราให้แข็งแรง และพร้อมชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียภายในช่องปาก ซึ่งยาสีฟันนั้นมักประกอบด้วยสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ กลีเซอรีน (Glycerin) ซอร์บิทอล (Sorbitol) แคลเซียมคาร์บอเนต ( Calcium carbonate) โซเดียมลอริลซัลเฟต (SodiumLaurylSulfate;SLS)  โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) สารข้างต้นที่กล่าวมานั้น ล้วนอาจมีความรุนแรงเกินกว่าจะนำไปใช้กับผิวที่บอบบางของเรา จึงทำให้เป็นเหตุผลที่ไม่ควรอย่างมากในการนำไปแต้มสิว ทางที่ดีคุณควรอาจจำเป็นต้องเข้าขอรับการปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังโดยตรง เพื่อรับการตรวจถึงปัญหาผิวหน้า และการรักษาให้หายไปได้อย่างตรงจุด ผลิตภัณฑ์รักษาสิว ที่อาจเหมาะกับผิวคุณ เมื่อเกิดปัญหาสิวที่อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง คุณอาจจำเป็นต้องทำการหาผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารเหล่านี้ในการทำความสะอาดและบำรุงผิวหน้า โดยสามารถอ่านได้จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์ หรือใบประกอบการใช้ร่วม กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) เตรทติโนอิน (Tretinoin) นอกจากยาชนิดแบบทาแล้ว แพทย์ผิวหนังอาจให้คุณมีการรับประทานยาที่ประกอบด้วย คลินดามัยซิน (Clindamycin) […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

แคะขี้มูก อันตรายจริงไหม ยิ่งใช้นิ้วมือแคะยิ่งอันตรายจริงหรือเปล่า

สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทั้งอากาศร้อน ชื้น หนาว มีผลต่อสุขภาพของเราทั้งสิ้น บางคนอาจเป็นหวัด บางคนอาจมีไข้ และบางคนอาจมีขี้มูกมากเนื่องจากเป็นหวัด ซึ่งเมื่อ ขี้มูก ก่อตัวจนอัดแน่นเต็มจมูก จนทำให้เรามักจะรู้สึกรำคาญ คัดจมูก หรือหายใจไม่ออก และในท้ายที่สุดเราจึงตัดปัญหาด้วยเอาเอานิ้วแหย่เข้าไปข้างในรูจมูกเพื่อ แคะขี้มูก ออกมา ฟังดูก็เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำกัน แต่…การใช้นิ้วแคะขี้มูกเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการทำความสะอาดขี้มูกแล้วจริง ๆ หรือ? [embed-health-tool-bmi] ขี้มูก คืออะไร ร่างกายของเราสร้างขี้มูกขึ้นมาเพื่อปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกที่เราหายใจหรือสูดดมเข้าไปทุกวัน โดยแรกเริ่มขี้มูกจะมีลักษณะเป็นเมือกเพื่อดักจับเอาเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไว้ ป้องกันไม่ให้หลุดลอดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ เมื่อดักจับสิ่งต่าง ๆ ได้พักหนึ่งแล้วขนเล็ก ๆ ในจมูกก็จะเคลื่อนย้ายเอาเมือกที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ไปยังด้านหน้าของจมูก ก่อนที่เมือกเหล่านั้นจะค่อย ๆ แห้งและกลายเป็น ขี้มูก ในที่สุด ทำไมเราถึง แคะขี้มูก เราแคะขี้มูก ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ดังนี้ ขี้มูกตันจมูกจนปิดกั้นระบบทางเดินหายใจ ทำให้รู้สึกอัดอัดที่จมูก หายใจไม่สะดวก ส่งผลให้หายใจไม่ค่อยออก เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งเมื่อเกิดอาการแพ้ขึ้นจะทำให้เกิดเมือกในจมูกเพิ่มมากขึ้นและสุดท้ายก็จะแห้งกลายเป็นขี้มูกจำนวนมากจนอุดกั้นการหายใจ หรือทำให้หายใจไม่ออก โครงสร้างกะบังของจมูกที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีกะบังจมูกที่เบี่ยงเบน จากที่ปกติกระดูกอ่อนจะอยู่กึ่งกลางระหว่างโพรงจมูกทั้งสองข้าง แต่กลับมีกระดูกอ่อนเบี่ยงเบนออกมาที่ข้างใดข้างหนึ่งมากจนเกินไป จนอาจทำให้หายใจไม่สะดวก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไขข้อสงสัย ยิ่งเหงื่อออกมาก เท่ากับ ยิ่งเผาผลาญมาก จริงเหรอ

หลายคนน่าจะเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า เวลาออกกำลังกาย จะต้องออกให้มีเหงื่อเยอะ ๆ เพราะถ้าไม่มีเหงื่อ ก็ไม่ได้เผาผลาญ เหมือนกับไม่ได้ออกกำลังกาย แต่การที่เราออกกำลังกายจนมี เหงื่อออกมาก จะเท่ากับ เผาผลาญมาก จริงหรือเปล่า มาลองหาคำตอบร่วมกัน กับ Hello คุณหมอ กันเลยค่ะ เหงื่อ เกิดขึ้นได้อย่างไร เหงื่อ นั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการขับของเสียตามธรรมชาติของร่างกาย เพื่อช่วยระบายความร้อนภายในร่างกายออกไป ทำให้ร่างกายเย็นลง เหงื่อนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนในร่างกาย แต่จะพบได้มากในบริเวณรักแร้ ใบหน้า ฝ่ามือ ข้อศอก และฝ่าเท้า ร่างกายของเรานั้นจะจะมีต่อมเหงื่ออยู่มากกว่า 3 ล้านต่อม ทั่วร่างกาย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ต่อม Eccrine sweat gland และต่อม Apocrine sweat gland Eccrine sweat gland ต่อมเหงื่อประเภทนี้จะอยู่ทั่วทุกส่วนในร่างกาย แต่จะพบได้มากในบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหน้ามัก หน้าที่หลักของต่อมเหงื่อนี้คือขับเหงื่อเพื่อช่วยควบคุมระดับอุณหภูมิของร่างกาย เหงื่อที่มาจากต่อมเหงื่อนี้จะไม่มีกลิ่น Apocrine sweat gland ต่อมเหงื่อชนิดนี้จะพบได้บริเวณที่มีรูขุมขนมาก เช่น รักแร้ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ควันไฟป่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรรับมือหรือป้องกันอย่างไร

เมื่อเกิดไฟไหม้ป่าที่มีบริเวณกว้าง ก็จะนำพามาซึ่ง ควันไฟป่า ซึ่งเมื่อหากมีการสูดดมเข้าไปมาก ๆ ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายของคุณได้ ดังนั้น เมื่อเกิดควันไฟป่า จะต้องดูแลและป้องกันตัวเองและคนในครอบครัวอย่างไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน ควันไฟป่า คืออะไร และส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร ควันไฟป่าเป็นส่วนผสมของก๊าซและอนุภาคขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาไหม้ของพืช วัสดุก่อสร้าง และวัสดุอื่น ๆ โดยที่ควันไฟป่าสามารถทำให้ทุกคนป่วยได้ แม้แต่คนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงก็สามารถเจ็บป่วยได้ หากมีควันในอากาศมากเกินไป มากไปกว่านั้น การหายใจเอาควันเข้าไปยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ทันที ซึ่งผลกระทบจากควันไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ ไอ หายใจไม่ปกติ แสบตา คันคอ อาการน้ำมูกไหล รูจมูกระคายเคือง หายใจไม่ออกและหายใจถี่ เจ็บหน้าอก ปวดหัว โรคหอบหืด เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว สำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เด็ก และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและหัวใจอยู่แล้ว อาจมีแนวโน้มที่จะป่วยได้ หากสูดดมควันไฟป่าเข้าไป สาเหตุที่ทำให้ ควันไฟป่า เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อพูดถึงคุณภาพอากาศ หลายคนคงนึกถึงการวันที่เรียกว่า “PM2.5” ซึ่งมันสามารถทำให้ทราบได้ว่าอนุภาคขนาด 2.5 ไมครอนและขนาดเล็กกว่า ลอยอยู่ในอากาศจำนวนเท่าใด Colleen Reid ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์แห่ง University of Colorado Boulder สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมื่อคุณมองเห็นควันสีดำที่ลอยออกมาจากกองไฟ คุณจะเห็นอนุภาคเล็ก ๆ ที่สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศและไม่ตกลงสู่พื้นได้ เมื่อรูปแบบลมเปลี่ยนไป ควันไฟที่มีอนุภาคเล็ก ๆ ก็จะกระจายไปยังทิศทางอื่นได้เช่นกัน ความจริงแล้วอนุภาคขนาดเล็ก นอกจากจะเป็นอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศแล้ว มันยังเป็นสิ่งที่สามารถเข้าไปในปอดได้ลึกมากและทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบของสุขภาพในร่างกายได้อีกด้วย ยิ่งระดับ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria)

ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่หายาก เกิดจากความบกพร่องของยีนที่ช่วยสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส ทำให้ร่างกายไม่สามารถสลายฟีนิลอะลานีนได้ คำจำกัดความฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) คืออะไร โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่หายาก เกิดจากความบกพร่องของยีนที่ช่วยสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส (Phenylalanine hydroxylase) ทำให้ร่างกายไม่สามารถสลายฟีนิลอะลานีนได้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้ระดับฟีนิลอะลานีนสะสมในร่างกายมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาและเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา พบได้บ่อยแค่ไหน โรคฟีนิลคีโตนูเรียพบได้บ่อยในทารกช่วง 1-3 เดือนแรกหลังคลอด อาการอาการของโรคฟีนิลคีโตนู โรคฟีนิลคีโตนูเรียอาจมีอาการแสดงออกตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงมีอาการรุนแรง โดยมีอาการแสดงออก ดังนี้ อาการชัก อาการสั่น เจริญเติบโตช้า สมาธิสั้น ผื่นผิวหนัง (กลาก) ลมหายใจเหม็น ความพิการทางสติปัญญา ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย โรคฟีนิลคีโตนูเรียเป็นภาวะที่สืบทอดจากความบกพร่องของยีนที่ไม่สามารถสร้างเอนไซม์ฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ทำลายฟีนิลอะลานีน ส่งผลให้ฟีนิลอะลานีนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากมีการสะสมฟีนิลอะลานีนในร่างกายมากเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้  โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ และเนื้อสัตว์ (ยีนที่เกิดความบกพร่องนั้นต้องเกิดจากยีนที่ผิดปกติของทั้งพ่อและแม่ แต่หากเกิดขึ้นจากพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว อาจไม่ส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์) ปัจจัยเสี่ยงของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย พ่อและแม่มียีนที่บกพร่องทั้งคู่ที่ทำให้เกิดโรคฟีนิลคีโตนูเรีย มีเชื้อสายอเมริกัน แอฟริกัน การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการคัดกรองทารกแรกเกิดสำหรับทารกที่มีสัญญาณของโรคฟีนิลคีโตนูเรีย โดยการเจาะเลือดมาทดสอบหาความผิดปกติทางพันธุกรรม รวมถึงวิธีการทดสอบอื่น ๆ เช่น ทดสอบการกลายพันธุ์ของยีน การทดสอบทางพันธุกรรม เป็นต้น การรักษาโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ผู้ป่วยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย สามารถบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้โดยการเลือกรับประทานอาหารและการใช้ยา ดังนี้ การควบคุมอาหาร จำกัดอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ ชีส ถั่ว นม ไก่ เนื้อวัว […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ภาวะขาดเหงื่อ (Anhidrosis)

ภาวะขาดเหงื่อ (Anhidrosis) หมายถึงอาการที่ไม่มีเหงื่อออก หรือมีเหงื่อน้อยกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน หรือออกกำลังกายอย่างหนักแล้วก็ตาม [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ ภาวะขาดเหงื่อ คืออะไร ภาวะขาดเหงื่อ (Anhidrosis) หมายถึงอาการที่ไม่มีเหงื่อออก หรือมีเหงื่อน้อยกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน หรือออกกำลังกายอย่างหนักแล้วก็ตาม การที่เราไม่มีเหงื่อ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถถ่ายเทความร้อน และลดอุณภูมิของร่างกายลงได้ ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป จนอาจส่งผลให้เกิดสภาวะที่เป็นอันตราย เช่น ตะคริว เพลียแดด หรือลมแดด เป็นต้น ภาวะขาดเหงื่อนั้นอาจมีตั้งแต่ในระดับเบา มีเหงื่อออกน้อย ไปจนถึงระดับรุนแรง ที่ไม่มีเหงื่อออกเลย และอาจเกิดขึ้นแค่เพียงบางส่วนของร่างกาย จึงทำให้ยากต่อการสังเกตและการวินิจฉัย บ่อยครั้งที่ภาวะขาดเหงื่อนั้นอาจจะส่งผลแค่กับบางบริเวณของร่างกาย แต่ส่วนอื่นยังคงมีเหงื่อออกตามปกติ ทำให้ร่างกายสามารถคลายความร้อนได้ และไม่เป็นอันตรายใด ๆ ภาวะขาดเหงื่อ พบบ่อยแค่ไหน เนื่องจากภาวะขาดเหงื่อนั้นค่อนข้างจะสังเกตยาก หากไม่ได้เกิดขึ้นทั่วทั้งร่างกาย ดังนั้นจึงไม่สามารถทราบได้ว่า มีคนมากน้อยแค่ไหน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะขาดเหงื่อนี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดสอบถามแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ อาการ อาการของภาวะขาดเหงื่อ สัญญาณและอาการของภาวะขาดเหงื่อ ได้แก่ ไม่มีเหงื่อออก หรือมีเหงื่อออกน้อย วิงเวียน ร้อนวูบวาบ ตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยล้า รู้สึกร้อนมากเกินไป บริเวณที่ไม่มีเหงื่อนั้น อาจจะเกิดขึ้นกับบางส่วนของร่างกาย หรือเกิดขึ้นทั่วทั้งร่างกาย หากคุณมีภาวะขาดเหงื่อในบางส่วน ส่วนที่สามารถขับเหงื่อได้ ก็อาจจะพยายามขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ เพื่อชดเชยส่วนที่ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณสังเกตพบว่าตัวเองมีเหงื่อออกน้อย หรือไม่มีเหงื่อออกเลย แม้ว่าจะออกกำลังกาย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง กับเคล็ดลับการใช้ชีวิตร่วมกับโรคได้อย่างเป็นสุข

เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ท้องเสีย เป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ เป็นแผล หรือยิ่งหากเป็นโรครุนแรงหรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ก็ยิ่งแล้วใหญ่ เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย ใช้เวลารักษาไม่นานก็คงหาย แต่หาก ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดไม่ได้ และคุณต้องอยู่กับโรคนั้นไปตลอดชีวิต โรคเรื้อรังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ จนทำให้คุณเครียด กังวล และไม่รู้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับดี ๆ ในการใช้ชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างเป็นสุขมาฝากคุณแล้ว ทำความเข้าใจ โรคเรื้อรัง ให้กระจ่างขึ้น โรคเรื้อรัง คืออะไร โรคเรื้อรัง (Chronic diseases) หมายถึง โรคที่เป็นแล้วจะมีอาการ หรือต้องรักษาติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต และโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการไม่ให้รุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ตัวอย่าง โรคเรื้อรัง ตัวอย่างโรคเรื้อรังที่พบบ่อย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคข้ออักเสบ โรคหืด โรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม โรคลมชัก การติดเชื้อเอชไอวี โรคพาร์กินสัน โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์สองขั้ว โรคไบโพลาร์ชนิดอ่อน (Cyclothymic disorder หรือ Cyclothymia) เมื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพยิ่งแย่ลง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ ทั้งการเรียน การทำงาน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม