ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัว หลังร้องไห้ เกิดจากอะไรกันแน่

การร้องไห้เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่ออารมณ์ ไม่ว่าเราจะเสียใจ ทุกข์ใจ แม้กระทั่งดีใจ ก็สามารถทำให้เราร้องไห้ได้ แต่หากเราร้องไห้อย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมา วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปดูว่าทำไมนะ การร้องไห้ถึงเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว แล้วเราจะจัดการกับอาการ ปวดหัว หลังร้องไห้ ที่เกิดขึ้นอย่างไรดี ปวดหัวหลังร้องไห้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร หลายๆ คนคงเคยร้องไห้ แล้วมีอาการปวดหัวหลังจากที่ร้องไห้เสร็จ นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามทำความเข้าใจ และหาความเชื่อมโยงระหว่างการร้องไห้และอาการปวดหัว การร้องไห้บางครั้งเกิดขึ้นจากการตอบสนองของร่างกาย ต่อความเศร้า ที่เกิดจากการสูญเสียของรัก การปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งความเศร้าที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เป็นตัวการทำให้เกิดความเครียด ซึ่งส่งผลให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนออกมา เช่น ฮอร์โมนต์คอร์ติซอล ที่เป็นฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนที่หลั่งออกมานี้จะกระตุ้นสารสื่อประสาทในสมองที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางกายภาพ ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น จะกระตุ้นกระบวนการในสมอง ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหัว นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Fiona Gupta ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากโรงเรียนแพทย์ Icahn แห่ง Mount Sinai กล่าวว่า การร้องไห้สามารถทำให้เกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณที่หัวและคอเหตุนี้จึงนำไปสู่อาการปวดหัวได้   View this post on Instagram   พฤติกรรมอะไร กระตุ้นไมเกรนกำเริบ มาดูกันเลย . #Hellokhunmor #Migraine […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

10 พฤติกรรมทำลายสมอง ที่ควรหลีกเลี่ยงโดยด่วน

คนเราต่างก็มีกิจวัตรประจำวัน หรือกิจกรรมที่ชอบทำแตกต่างกันไป บางคนชอบนอนดึก บางคนเป็นนักดื่ม บางคนเป็นสายกิน แต่จะมีใครรู้บ้างว่า กิจวัตรประจำวัน หรือพฤติกรรมบางอย่างที่คุณทำนั้น หากทำบ่อยๆ เข้า อาจส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้สมองบกพร่องได้ และหากใครอยากให้ร่างกายแข็งแรง สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็ควรหลีกเลี่ยง พฤติกรรมทำลายสมอง เหล่านี้โดยด่วน พฤติกรรมทำลายสมอง ที่ควรเลี่ยง 1. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนน้อย หรืออดนอน นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง อารมณ์แปรปรวนง่ายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้คุณไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออกด้วย ยิ่งถ้าคุณนอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งส่งผลต่อสมองได้ในระยะยาว โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ และอาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์ ได้ด้วย ฉะนั้น หากคุณอยากให้สมองแข็งแรง ก็ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนนอนควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดคาเฟอีน พักสายตาจากหน้าจอมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ แล้วหันมาทำกิจกรรมผ่อนคลาย ช่วยให้หลับง่ายขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ แทน 2. อยู่คนเดียวมากเกินไป มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม จึงควรหาเวลาพบปะสังสรรค์กับเพื่อนหรือคนรู้จักบ้าง ไม่ใช่แค่ติดต่อกันผ่านโซเชียลมีเดีย ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การใช้เวลาอยู่กับคนในครอบครัว เพื่อน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในโลกจริงจะช่วยให้คุณมีความสุขมากขึ้น ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมถอยได้ด้วย […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

สัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง มีเนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองเป็นฝันร้ายของหลายๆคน เพราะเนื้องอกนั้นอาจจะกลายเป็นมะเร็ง และแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ได้ แต่เราสามารถลดโอกาสการลุกลามของเนื้องอกได้ หากเราสังเกตเห็นสัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมอง และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที วันนี้ Hello คุณหมอจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ สัญญาณเนื้องอกในสมอง สัญญาณเนื้องอกในสมอง ที่ควรสังเกต สัญญาณและอาการของเนื้องอกในสมองนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน โดยขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และจุดที่มีเนื้องอกในสมอง สัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้ อาการชา หากคุณมีเนื้องอกในสมองที่ในบริเวณก้านสมอง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสมองและกระดูกสันหลัง เนื้องอกนี้จะทำให้คุณสูญเสียความรู้สึกในบางส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดอาการชาที่แขนและขา อาการอาจจะเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายของคุณกำลังพยายามต่อสู้กับเนื้องอก ปวดหัว อาการปวดหัวอย่างรุนแรงนั้นเป็นอาการของเนื้องอกที่พบได้มาก เกิดขึ้นกับผู้ที่มีเนื้องอกในสมองมากกว่า 50% เนื้องอกในสมองนั้นจะเพิ่มความดันในเส้นประสาทและหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว หรือทำให้อาการปวดหัวที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น หรือเปลี่ยนรูปแบบไป เช่น คุณอาจจะมีอาการปวดหัวเรื้อรัง แต่ไม่เหมือนกับอาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวอย่างหนักในตอนตื่นนอน อาจตามด้วยอาการอาเจียน อาการปวดหัวจะรุนแรงขึ้นหากคุณออกกำลังกาย ไอ หรือเปลี่ยนท่าทางการนั่งหรือนอน ยาแก้ปวดตามร้านขายยาไม่สามารถรักษาอาการปวดหัวนี้ได้ แม้ว่าอาการปวดหัวที่เปลี่ยนไป อาจจะเป็นสัญญาณของเนื้องอกในสมองได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาการปวดหัวทุกชนิดจะต้องหมายความว่าคุณเป็นเนื้องอกในสมองเท่านั้น หากคุณสังเกตเห็นอาการปวดหัวที่ผิดปกติไป ควรรีบติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจในทันที อาการชัก เนื้องอกนั้นจะดันและไปกดเส้นประสาทภายในสมอง ทำให้ส่งผลกระทบต่อกระแสไฟฟ้าในสมอง แล้วทำให้เกิดอาการชักได้ อาการชักนั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคเนื้องอกในสมอง ผู้ที่มีเนื้องอกในสมองกว่า 50% อาจจะเคยมีอาการชัก อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง การเคลื่อนไหวผิดปกติ คุณอาจจะมีอาการซุ่มซ่ามมากขึ้น เดี๋ยวก็หกล้ม เดี๋ยวก็ทำของหล่น เดี๋ยวก็ไขกุญแจห้องไม่ได้สักที อาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการที่แขน ขา หรือมือทำงานผิดปกติ เนื่องจากการส่งสัญญาณในสมอง นอกจากนี้คุณยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด การกลืน หรือการควบคุมการแสดงอารมณ์บนใบหน้า อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในสมองและควรรับการตรวจโดยเร็วที่สุด คลื่นไส้และอาเจียน ในช่วงระยะแรกของการมีเนื้องอกในสมอง คุณอาจจะรู้สึกว่ามีอาการคลื่นไส้และอาเจียน เนื่องจากฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล อารมณ์แปรปรวน เนื้องอกในสมองการส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

รับมืออย่างไร เมื่อรู้ว่าตัวเอง เป็นโรคเนื้องอกในสมอง

การได้รับผลวินิจฉัยว่าตัวคุณเป็น โรคเนื้องอกในสมอง นั้นนับได้ว่าเป็นข่าวร้าย ที่ไม่ว่าใครต่างก็ไม่อยากจะพบเจอกันทั้งนั้น เนื้องอกในสมองเป็นความผิดปกติของเซลล์ในสมอง ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้เป็นอัมพาต และอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ การ รับมือ เมื่อต้องรับรู้ว่าตัวเองเป็น เนื้องอกในสมอง นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราสามารถทำได้บทความนี้ Hello คุณหมอ นำว่ารับมือกับตนเอง เมื่อเป็น โรคเนื้องอกในสมอง มาฝากกันค่ะ รับมือ เมื่อรู้ว่าตัวเองเป็น เนื้องอกในสมอง ได้อย่างไร รับมือกับความรู้สึกของตัวเอง การได้รับข่าวร้ายว่าคุณมีเนื้องอกในสมองนั้นอาจทำให้คุณรู้สึกช็อค หวาดกลัว และกังวลใจ บางครั้งความรู้สึกหวาดกลัวนั้นอาจจะล้นหลามจนทำให้คุณสับสน งุนงง และทำอะไรไม่ถูก บ้างก็อาจจะเสียใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล โกรธเกรี้ยว และตั้งคำถามว่าทำไมเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นกับตัวเอง คุณอาจจะมีความรู้สึกที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น หรืออาจจะรู้สึกอย่างอื่นไปเลย คนเราแต่ละคนมีปฏิกิริยาตอบสนองกับข่าวร้ายนี้แตกต่างกัน บางคนอาจจะเกิดความคิดบวก หาหนทางรักษา หรือพยายามใช้ชีวิตต่อไปอย่างเต็มที่ แต่บางคนก็อาจจะปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง หรือรู้สึกสิ้นหวังอย่างรุนแรง จนไม่ยอมทำอะไร การมีความรู้สึกเหล่านี้นับว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่ว่าใครต่างก็คงไม่อยากที่จะต้องพบเจอกับเรื่องเหล่านี้กันทั้งนั้น แต่สิ่งที่สำคัญ ที่ผู้ป่วยเป็น โรคเนื้องอกในสมอง ทุกคนควรจะทำ คือการยอมรับความจริง จัดการกับความรู้สึกเหล่านี้ และก้าวต่อไป บ่อยครั้งที่ความรู้สึกวิตกกังวลซึมต่อเนื้องอกในสมองและต่อการรักษาที่จะเกิดขึ้นนั้น อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าได้ แม้ว่าอาการนี้จะเป็นเรื่องปกติ แต่ความรู้สึกเหล่านี้ก็อาจเพิ่มความตึงเครียด และอาจกลายเป็นอุปสรรคในการรักษาได้ ทางที่ดีคุณจึงควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษาและจัดการกับอารมณ์เหล่านี้ของคุณอย่างถูกต้อง รับมือกับผลข้างเคียงของการรักษา การรักษา […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ

ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ ภาวะสมองขาดเลือด (stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองแบบฉับพลัน ส่งผลต่อหลอดเลือดใหญ่ที่นำไปสู่และอยู่ภายในสมอง โรคหลอดเลือดสมองมีสองประเภทที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน (Ischemic stroke) ตามปกติเกิดจากการตีบตันของการส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ภาวะเลือดออกในสมอง (hemorrhagic strokes) เกิดขึ้นเมื่อเลือดไหลจากหลอดเลือดที่แตกเข้าสู่สมอง ในวัยผู้ใหญ่ โรคหลอดเลือดสมอง 80% จะเกิดจากการตีบตัน และ 20% เกิดจากเลือดไหลในสมอง วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) คืออะไร Cerebral amyloid angiopathy (CAA) หมายถึงส่วนประกอบของความผิดปกติประเภทหนึ่ง ที่อะมีลอยด์ (amyloid) เกิดตกตะกอนในสมอง และมักจะพบในสมองของผู้ป่วยสูงอายุที่มีระบบประสาทและสมองแข็งแรงดี อย่างไรก็ตาม CAA อาจนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม ภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ (intracranial hemorrhage, ICH) สาเหตุของ ภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะ (Amyloid Angiopathy) นี้ยังไม่ถูกค้นพบ แต่มีข้อสังเกตว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมในครอบครัว ภาวะเลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage, ICH) คืออะไร เส้นเลือดขนาดเล็กที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนลึกเข้าภายในเนื้อสมอง ความดันเลือดสูง (hypertension) อาจทำให้เส้นเลือดฝอยเล็กๆ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

5 วิธีรับมือกับ กล้ามเนื้อหดเกร็ง จากโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดแล้วสามารถรอดชีวิตมาได้นั้น มักเกิดภาวะที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหดเกร็ง (muscle spasticity) ซึ่งทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ หรือเคลื่อนไหวไม่สะดวกเหมือนเดิม แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไป เพราะมีวิธีการรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาเป็นปกติได้ ด้วยแนวทางต่างๆ ดังต่อไปนี้ แนวทางการรับมือกับอาการ กล้ามเนื้อหดเกร็ง มีอะไรบ้าง การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นส่วนสำคัญในการรักษากล้ามเนื้อหดเกร็ง หลังจากเกิดภาวะสมองขาดเลือด แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณเข้าพบนักกายภาพบำบัด เพื่อเริ่มการฟื้นฟูร่างกาย นักกายภาพบำบัดจะช่วยให้คุณเริ่มต้นเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายอีกครั้ง พร้อมทั้งฟื้นฟูการทำงานของร่างกายเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวและป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหดแบบถาวร โดยคุณสามารถออกกำลังกายได้ด้วยตัวเอง ด้วยความช่วยเหลือจากนักกายภาพบำบัดหรือการใช้อุปกรณ์พิเศษ ในบางกรณี นักกายภาพบำบัดของคุณอาจแนะนำให้ประคบเย็นหรือใช้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหายดียิ่งขึ้น ใช้อุปกรณ์ช่วยต่างๆ คณสามารถใช้อุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องพยุงหลัง เครื่องพยุงขา ช่วยพยุงให้กล้ามเนื้ออยู่ในตำแหน่งปกติ ในขณะที่ เฝือกหล่อและเครื่องดามต่างๆ สามารถช่วยเหยียดกล้ามเนื้อและป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ ยารักษา ยาอาจเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาภาวะกลามเนื้อหดเกร็ง โดยแพทย์อาจให้คุณใช้ยาเพื่อคลายกล้ามเนื้อประเภทต่างๆ เช่น Baclofen (Lioresal) จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง ยาประเภทนี้สามารถช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งและความตึง รวมทั้งบรรเทาความเจ็บปวดและเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้ก็มีหลายประการ ได้แก่ การเสียความสามารถในการประสานงานของกล้ามเนื้อ การเกิดภาพหลอน กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดย Baclofen เป็นยาที่แพทย์สั่งเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งบ่อยที่สุด Tizanidine hydrochloride (Zanaflex) ออกฤทธิ์ต่อทำงานของคลื่นประสาท (nerve impulses) ยาประเภทนี้สามารถลดความหดเกร็งได้ อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ของ tizanidine อยู่ได้ไม่นาน […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เทคนิคการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม

โรคหลอดเลือดสมอง ถือเป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย และเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการทำให้เกิดภาวะพิการบางส่วน หรือทั้งหมดของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในดำเนินการชีวิตตามปกติ จำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความเข้าใจในภาวะดังกล่าว รวมถึงต้องเข้าใจสภาพจิตใจ และความรู้สึกของผู้ป่วยด้วย บทความนี้จึงขอนำเสนอเทคนิคดีๆ ขั้นพื้นฐาน ของการ ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งทางร่างกายและสภาพจิตใจ โรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อร่างกายอย่างไร หนึ่งในประเภทของโรคหลอดเลือดในสมอง คือ ภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของสมอง เกิดการติดขัด หรือลดลงอย่างรุนแรง โดยส่งผลให้เซลล์สมองในบริเวณนั้นตายลง หลัง 2-3 นาทีผ่านไป เพราะขาดออกซิเจนและสารอาหาร ดังนั้น การที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จึงมีความสำคัญมากในการลดความเสียหายที่เกิดกับสมอง และอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ หนึ่งในอาการแทรกซ้อนที่สำคัญของภาวะสมองขาดเลือด คือ การสูญเสียการควบคุมร่างกายบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น คนที่มีอาการสมองซีกซ้ายเป็นอัมพาตอาจมองไปทางด้านขวาได้ลำบาก ในคนที่มีอาการอัมพาตบางส่วน โดยไม่ใช้งานเป็นประจำ ร่างกายส่วนนั้นอาจมี ภาวะละเลย (neglect) ต่อไปนี้ คือ สัญญาณที่แสดงว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะสมองขาดเลือดนั้นกำลังเผชิญกับ ภาวะละเลย (neglect) ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้รักษาหรือผู้ดูแลเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและหาวิธีรักษาหรือป้องกันได้ทันเวลา โดยสัญญาณของ ภาวะละเลย มักพบในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยใช้เพียงมือหรือเท้าของซีกที่มีอาการเท่านั้น ผู้ป่วยใช้สายตาด้านที่ไม่เกิดอาการเท่านั้น ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำบุคคลที่เข้าหาทางด้านที่เกิดอาการ ผู้ป่วยตอบสนองกับวัตถุที่เห็นได้ตามปกติเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เช่นรับประทานอาหารในจานจากเพียงซีกเดียวเท่านั้น ผู้ป่วยสับสนระหว่างมือและเท้าของตัวเองและผู้อื่น ผู้ป่วยไม่สามารถกะระยะของวัตถุสิ่งของที่อยู่บริเวณด้านที่เกิดอาการได้อย่างถูกต้อง อาจเห็นว่าวัตถุนั้นๆ อยู่ใกล้หรือไกลกว่าความเป็นจริง โดยอาจไปสัมผัสกับวัตถุโดยบังเอิญ และเกิดการบาดเจ็บได้ วิธีการ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ถอดรหัส อาการเตือน สมองขาดเลือด

ผู้ป่วยที่เกิดภาวะ สมองขาดเลือด หลายรายเปิดเผยว่า พวกเขามีความรู้สึกแปลกๆ ก่อนที่จะเกิดอาการ ความรู้สึกในทำนองนี้มักจะถูกเรียกว่า อาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งบางครั้งสัญญาณเตือนล่วงหน้าเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้ 2-3 วัน ก่อนเกิดภาวะสมองขาดเลือด มาถึงตรงนี้ คุณอาจมีคำถามว่าอาการเตือนล่วงหน้าสมองขาดเลือด นั้นน่าเชื่อถือจริงหรือ? จริงๆ แล้ว มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์หลายประการที่ระบุว่า อาการเตือนล่วงหน้าบางอย่าง อาจนำไปสู่เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ ซึ่งหากเรารู้ทันสัญญาณต่างๆ เหล่านี้ ก็จะสามารถป้องกันหรือรับมือกับภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างทันทท่วงที และลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นให้ได้น้อยที่สุด อาการเตือน สมองขาดเลือด เชื่อได้จริงหรือ? อาการเตือนล่วงหน้า สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึกที่ชัดเจน ว่าบางสิ่งกำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับอาการไม่สบายต่างๆ ในบางกรณี มีสัญญาณที่แสดงอาการเริ่มแรกของโรคที่คุณสามารถสังเกตได้ ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบางรายเล่าว่าพวกเขาเกิดอาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในระยะสั้นๆ ในระหว่างการพักฟื้นจากภาวะสมองขาดเลือด ผู้ป่วยมักจำจดความรู้สึกหรืออาการเตือนก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ได้ โดยสามารถบอกได้ว่า ‘ฉันรู้ว่าสิ่งผิดปกติกำลังจะเกิดขึ้น’ หรือ ‘ฉันมีความรู้สึกแปลกๆ’ สัญญาณที่แสดงออกมา มักจะเป็นความรู้สึกเหน็บชา ไม่ได้ยินเสียง มองเห็นภาพผิดปกติเป็นพักๆ วิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ สับสน งุ่มง่าม หรือพูดไม่ชัด อาการเตือนภาวะสมองขาดเลือดค่อนข้างพบได้บ่อย เห็นได้จากการศึกษาเกี่ยวกับอาการเตือนล่วงหน้าในผู้ป่วย 16 ราย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Neurology, […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

รวมเทคนิค และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด ในนาทีฉุกเฉิน

ภาวะสมองขาดเลือด (Stroke) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เมื่อคุณมาถึงโรงพยาบาล แพทย์จะตรวจวินิจฉัยอาการของคุณเพื่อดูว่าพวกเขาจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนและความพิการให้เหลือน้อยที่สุด โดยปัจจุบัน มีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์หลายประเภทที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาวะฉุกเฉิน แพทย์จะมี วิธีวินิจฉัย และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด อย่างไรบ้าง เราจะมาดูรายละเอียดกัน วิธีวินิจฉัย และ วิธีรักษาภาวะสมองขาดเลือด มีอะไรบ้าง การซักประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย แพทย์จะสอบถามคุณ (ถ้าคุณยังรู้สึกตัวดีและตื่นอยู่) หรือสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับอาการของคุณ อาการเริ่มเกิดเมื่อไร และสมาชิกในครอบครัวทำอย่างไรกับอาการเหล่านั้น แพทย์จะสอบถามว่ามีปัจจัยเสี่ยงของภาวะสมองขาดเลือดหรือไม่ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การสูบบุหรี่ ประวัติทางการแพทย์และประวัติการเป็นโรคหัวใจ หรือภาวะสมองขาดเลือดของคนในครอบครัว รวมทั้งยาที่คุณกำลังรับประทานอยู่ด้วย ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจความดันโลหิตของคุณ ความตื่นตัว การทรงตัว และการทำงานประสานกันของอวัยวะต่างๆ แพทย์จะตรวจว่าคุณมีอาการอ่อนแรงที่บริเวณใบหน้า แขน ขา มีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน การพูดหรือการมองเห็นเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจฟังชีพจรที่หลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่เลี้ยงสมองส่วนหน้า (carotid artery) เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่หลอดเลือดใหญ่นี้ด้วย การตรวจเลือด สามารถใช้การตรวจเลือดเพื่อดูว่าลิ่มเลือดของคุณแข็งตัวเร็วเพียงใด ตรวจวัดจำนวนเกล็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ (สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป) ความไม่สมดุลของสารเคมีในเลือดระดับวิกฤติ หรือการติดเชื้อ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้เกิดอาการคล้ายภาวะสมองขาดเลือดได้ จำนวนเกล็ดเลือดที่ผิดปกติก็อาจเป็นสัญญาณแสดงการเกิดเลือดออกในสมองหรือความผิดปกติจากหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombotic) การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ ซีทีสแกน จะแสดงภาพสมองของคุณอย่างละเอียด เป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดด้วยการใช้การเอ็กซเรย์หลายครั้ง นอกจากนี้ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH)

เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH) คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง เป็นภาวะที่มีเลือดออกในเนื้อสมองอย่างกะทันหัน ทำให้มีเลือดคั่งอยู่ภายในสมอง และสร้างความเสียหายให้แก่สมองโดยรวม คำจำกัดความเลือดคั่งในสมอง คืออะไร เลือดคั่งในสมอง (Intracerebral Hemorrhage: ICH) คือ โรคหลอดเลือดสมองชนิดหนึ่ง เป็นภาวะที่มีเลือดออกอย่างกะทันหันในเนื้อสมอง ทำให้มีเลือดคั่งอยู่ภายในสมอง และสร้างความเสียหายให้แก่สมองโดยรวม เลือดที่ไหลออกมาจะสร้างความระคายเคืองต่อเนื้อสมอง ส่งผลให้เกิดการบวม ซึ่งเรียกอาการดังกล่าวว่า สมองบวม (Cerebral Edema) โดยเลือดที่ไหลออกมาจะรวมตัวจับเป็นก้อน สภาวะเหล่านี้จะเพิ่มแรงกดบนเนื้อเยื่อสมองโดยรอบ และฆ่าเซลล์สมองในที่สุด การเกิดเลือดออกในสมองสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายบริเวณ เช่น เลือดออกระหว่างตัวเนื้อสมองกับเยื่อหุ้มสมอง ระหว่างชั้นของเยื่อหุ้มสมอง หรือระหว่างกะโหลกศีรษะกับเยื่อหุ้มสมอง เลือดออกในสมองเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที คนส่วนใหญ่ต้องพิการตลอดชีวิต เพราะรักษาไม่ทัน แต่คนไข้บางรายก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ โรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ประกอบไปด้วย โรคหลอดเลือดสมอง สมองทำงานบกพร่อง รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับยาหรือการรักษา ผู้มีอาการอาจถึงขั้นเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว แม้จะได้รับการรักษาทางการแพทย์แล้วก็ตาม เลือดคั่งในสมอง พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะเลือดคั่งในสมอง พบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของภาวะ เลือดคั่งในสมอง อาการโดยทั่วไปของ ภาวะเลือดคั่งในสมอง ได้แก่ ปวดหัวหนักอย่างกะทันหัน แขนขารู้สึกอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ความตื่นตัวลดน้อยลง พูดลำบากหรือพูดเข้าใจยาก มีปัญหาในการพูด กลืนน้ำลายลําบาก มีปัญหาการมองเห็นในดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สูญเสียการทรงตัว การประสานงานของร่างกาย วิงเวียนศีรษะ เหม่อลอย เซื่องซึม […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม