การทดสอบทางการแพทย์

เมื่อคุณอยากรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร การทดสอบทางการแพทย์ คืออีกหนึ่งช่องทางที่จะให้คำตอบแก่คุณได้ แต่การทดสอบทางการแพทย์มีอะไรบ้าง ต้องมาติดตามกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนล้วนต้องตระหนัก โดยเฉพาะการตรวจสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยเชื่อมกับระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในเอาไว้ด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย ที่เป็นอีกเทคนิคทางการแพทย์ ช่วยวัดประสิทธิภาพของหัวใจ มาฝากกันค่ะ การ ทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย คืออะไร การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST) เป็นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจของคุณว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีอาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่ แต่ในการทดสอบนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น วิ่ง เดินลู่วิ่ง ใช้เครื่องปั่นจักรยาน ประมาณ 10-15 นาทีด้วยกัน โดยอาจมีพัก 3 นาที เพื่อตรวจสอบการหายใจ ในช่วงที่คุณออกกำลังกายเพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย แพทย์จะติดอุปกรณ์ทดสอบที่เรียกกว่า แผ่นอิเล็กโทรดที่เชื่อมโยงกับหน้าจอแสดงผล ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา หน้าอก เพื่อให้เห็นอัตราการเต้นของหัวใจ และบันทึกกราฟ หรือตัวเลขเอาไว้ให้เป็นข้อมูล […]

สำรวจ การทดสอบทางการแพทย์

การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Home Blood Glucose Test)

ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (Home Blood Glucose Test) เป็นการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านหรือที่ใดๆ ก็ตาม โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา   ข้อมูลพื้นฐานการ ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน คืออะไร ตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน (home blood glucose test) เป็นการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยสามารถตรวจได้ที่บ้านหรือที่ใด ๆ ก็ตาม โดยใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา การตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน สามารถใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความถี่ในการตรวจ ซึ่งความถี่ของการตรวจขึ้นอยู่กับว่าการรักษาโรคเบาหวานมีการควบคุมได้ดีเพียงใด รวมทั้งปัจจัยสุขภาพโดยรวมด้วย สำหรับผู้ที่ใช้อินซูลินเพื่อควบคุมโรคเบาหวานอาจจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ใช้อินซูลินหรือไม่ใช้เลย การทดสอบน้ำตาลในเลือดอาจมีประโยชน์สำหรับการทดสอบว่าร่างกายของเรามีปฏิกิริยาต่ออาหาร อาการเจ็บป่วย ความเครียด การออกกำลังกาย ยา และกิจกรรมอื่นๆ ได้ดีเพียงใด โดยการทดสอบก่อนและหลังรับประทานอาหารจะช่วยให้เราปรับการรับประทานอาหารให้เหมาะสมได้ เครื่องตรวจน้ำตาลบางประเภทสามารถบันทึกค่าน้ำตาลในเลือดได้นับร้อยค่า ทำให้สามารถศึกษาค่าน้ำตาลในเลือดที่บันทึกไว้เมื่อเวลาผ่านไป และสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในช่วงเวลาต่าง ๆ ของวัน อีกทั้งยังสามารถหาความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ระบบเหล่านี้สามารถบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแปลงข้อมูลเป็นกราฟหรือรูปแบบอื่น เพื่อให้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น ปัจจุบัน เครื่องตรวจน้ำตาลรุ่นใหม่ ๆ สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องอินซูลินปั๊ม ซึ่งเป็นเครื่องปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายในระหว่างวัน เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยกำหนดปริมาณอินซูลินที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดตามที่ตั้งค่าไว้ ความจำเป็นในการตรวจน้ำตาลในเลือดที่บ้าน แพทย์จะแนะนำเกี่ยวกับความถี่ที่ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเบาหวานและแผนในการรักษา โรคเบาหวานชนิดที่ 1 แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 4-8 ครั้งต่อวัน และอาจจำเป็นต้องตรวจก่อนรับประทานอาหารและอาหารว่าง ก่อนและหลังออกกำลังกาย ก่อนนอน และในบางครั้งในตอนกลางคืน ทั้งยังอาจจำเป็นต้องตรวจบ่อยขึ้นหากมีอาการป่วย […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด (Carbon Monoxide Blood Test)

ข้อมูลพื้นฐานการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด คืออะไร การตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด (Carbon Monoxide Blood Test) ใช้เพื่อตรวจจับความเป็นพิษจากการหายใจเอาคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เข้าไป ซึ่งก๊าซชนิดนี้ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีพิษ การตรวจนี้ช่วยวัดปริมาณฮีโมโกลบินที่จับตัวกับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด ออกมาเป็นค่าวัดผลที่เรียกว่า “ระดับคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน” (carboxyhemoglobin level) เมื่อคนหนึ่งหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะรวมกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้ออกซิเจนในเลือดถูกแทนที่ด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ การลำเลียงออกซิเจนไปยังสมองและเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกายจึงมีปริมาณน้อยลง โดยคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำให้เกิดความเป็นพิษรุนแรงที่อันตรายต่อชีวิตได้ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดขึ้นระหว่างการเผาไหม้ เมื่อไม่มีออกซิเจนที่เพียงพอสำหรับการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ แหล่งที่มาหลักของคาร์บอนมอนอกไซด์ คือ ควันจากเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เรือ การเผาไหม้จากไฟที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดี เช่น เครื่องทำความร้อน เตาทำอาหารภายในบ้าน โรงงาน รวมถึงการสูบบุหรี่ด้วย ความจำเป็นในการ ตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด ผู้ที่อาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจนี้ คือผู้ที่สงสัยว่าได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โดยจะปรากฏอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ท้องร่วง ผิวหนังและริมฝีปาก “มีสีแดง” ความเป็นพิษที่รุนแรงสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆ เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น อาการชัก อาการโคม่า อาการของการได้รับพิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเด็กเล็กมากระบุได้ยากกว่าในผู้ใหญ่ เช่น เด็กอาจมีเพียงอาการโวยวายและ ไม่ยอมรับประทานอาหาร นอกจากนี้ผู้ที่จำเป็นเข้ารับการตรวจนี้ คือ ผู้ที่สัมผัสก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสูดควันในระหว่างไฟไหม้ หรืออยู่ใกล้รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ทำงานในพื้นที่ปิดเป็นเวลานาน ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด ผู้ที่มีอาการต่างๆ และมีการสัมผัสกับคาร์บอนมอนอกไซด์ เช่น ผู้ที่อาศัยในบ้านที่มีระบบทำความร้อนที่เก่าและมีอาการปวดศีรษะอยู่แล้ว ควรเข้ารับการตรวจความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ผู้ที่อาจมีความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ควรออกจากสถานที่ที่มีการสัมผัสคาร์บอนมอนอกไซด์ และควรได้รับออกซิเจนเพื่อหายใจก่อนเข้ารับการตรวจ หากสงสัยว่ามีความเป็นพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ ควรเข้ารับการทดสอบอื่น ๆ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test)

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test) เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ในซีรั่ม เพื่อวินิจฉัยว่า คุณมีอาการแพ้หรือไม่ ข้อมูลพื้นฐานการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด คืออะไร การตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test) เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ในซีรั่ม การตรวจด้วยวิธีนี้ เป็นการทดสอบที่มีประสิทธิภาพ ในการวินิจฉัยว่า คุณมีอาการแพ้หรือไม่ และสามารถหาสารก่อภูมิแพ้ ที่เป็นสาเหตุของอาการได้ ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ จะมีปริมาณอิมมูโนโกลบูลินอีในซีรั่มสูงขึ้น เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ อาหาร ละอองเกสร ฝุ่น เชื้อรา พิษของแมลง ยา สารที่ปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น ความจำเป็นในการ ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด คุณควรเข้ารับการตรวจเลือด เพื่อหาอาการภูมิแพ้ หากเกิดสัญญาณหรืออาการที่บ่งชี้ถึงอาการแพ้ เมื่อสัมผัสกับสารใดสารหนึ่ง อาการต่างๆ ประกอบด้วย ผื่นแพ้ทางผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ตาแดง คันตา ไอ แน่นจมูก และมีน้ำมูก อาการหอบหืด คันและชาในปาก ปวดท้อง อาเจียน และท้องร่วง ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด ไม่ควรเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด หากมีภาวะหรือโรดต่างๆ ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้หลายชนิด ไม่สามารถรวมข้อมูลได้ หากผลการตรวจไม่สามารถระบุสารก่อภูมิแพ้ที่แน่นอนได้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทดสอบภูมิแพ้ด้วยการตรวจเลือด ได้แก่ โรคที่เพิ่มปริมาณอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันในรูปโปรตีนในร่างกาย ยาที่เพิ่มความเข้มข้นของอิมมูโนโกลบูลินอี และ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ขั้นตอนการตรวจการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด คุณไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษก่อนเข้ารับการตรวจ […]


การทดสอบทางการแพทย์

ทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน (Clonidine Suppression Test)

ข้อมูลพื้นฐานการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน คืออะไร การทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน (Clonidine Suppression Test) เป็นการทดสอบประเภทหนึ่ง เพื่อทดลองและคัดแยกการวินิจฉัยเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (phaeochromocytoma) ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง และมีความเปลี่ยนแปลงก้ำกึ่งในเมตาโบไลท์พลาสมาแคทีโคลามีน (plasma catecholamines metabolites) หรือยูรินารีแคททีโคลามีน (urinary catecholamine metabolites) ยาโคลนิดีน (Clonidine) เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ทำงานที่สมองโดยลดการทำงานของระบบประสาท (sympathetic tone) ซึ่งเป็นความรุนแรงของสัญญาณระบบประสาทไปยังต่อมหมวกไตส่วนใน (Adrenal medulla) ความจำเป็นในการ ทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน เหตุผลในการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน มีดังนี้ เพื่อหาดูว่า ค่าระดับเริ่มต้นของพลาสมาแคทีโคลามีนที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากอะดรีเนอร์จิกมีมากเกินไปโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic hyperadrenergic state) หรือเพราะโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา ค่าของพลาสมาเมทาเนฟรีน (plasma metanephrines) และ/หรือพลาสมาแคทีโคลามีน ที่เพิ่มสูงขึ้นน้อยกว่า 4 เท่า ของขีดจำกัดสูงสุดของค่าปกติของการทดสอบที่กำหนด ในผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็นโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา หรือชนิดพาราแกงกลิโอมา (paraganglioma) การทดสอบนี้ไม่ได้บ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีค่าผลการตรวจทางชีวเคมีของพลาสมา หรือปัสสาวะเป็นบวกอย่างชัดเจน สำหรับโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (แคททีโคลามีน หรือเมทาเนฟรีน หรือกรดวานิลลีแมนเดลิค [VMA]) การทดสอบนี้ไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีค่าเริ่มต้นเมทาเนฟรีน และนอร์เมทาเนฟรีน (แยกจากโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา) ที่ปราศจากพลาสมาเป็นปกติ ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีน ไม่ควรพิจารณาการทดสอบกดการทำงานของโคลนิดีนเป็นมาตรฐานสูงสุดสำหรับการวินิจฉัยโรค การทดสอบนี้เป็นแค่วิธีหนึ่งที่ช่วยวินิจฉัยโรคเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมาเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ผลของการทดสอบนี้อาจสร้างความสับสนได้เช่นกัน […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy)

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy) เป็นกระบวนการที่ได้รับการแนะนำจากผู้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อเต้านมชิ้นส่วนเล็กๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินผลบริเวณที่ต้องสงสัยของเต้านม ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ ข้อมูลพื้นฐานตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ คืออะไร ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy) เป็นกระบวนการที่ได้รับการแนะนำจากผู้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อเต้านมชิ้นส่วนเล็กๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินผลบริเวณที่ต้องสงสัยของเต้านม ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยกระบวนการตัดชิ้นเนื้อเต้านมเพื่อส่งตรวจนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น การใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (Core Needle Biopsy) การเจาะดูดเซลล์ (Fine Needle Aspiration หรือ FNA) การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อทั้งก้อนออกไปตรวจ (Excisional Biopsy) การตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจจะให้ตัวอย่างของเนื้อเยื่อเต้านม ที่แพทย์สามารถใช้เพื่อระบุและวินิจฉัยความผิดปกติในเซลล์ที่ทำให้เกิดก้อนในเต้านม ความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม ข้อสงสัยหรือข้อกังวลที่พบจากการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) โดยผลจากการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมจะช่วยให้แพทย์บ่งชี้ได้ว่า จำเป็นต้องมีการผ่าตัดหรือการรักษาอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ ความจำเป็นในการ ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ สาเหตุของการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ มีดังนี้ คุณหรือแพทย์รู้สึกได้ถึงก้อนเนื้อในเต้านม และแพทย์สงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งเต้านม ผลการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม แสดงให้เห็นบริเวณที่น่าสงสัยในเต้านม สแกนด้วยอัลตราซาวด์แล้วพบสิ่งต้องสงสัย ตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) ที่เต้านมแล้วพบสิ่งต้องสงสัย มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบริเวณหัวนม หรือรอบหัวนม ทั้งตกสะเก็ด ลอก มีรอบบุ๋ม หรือมีสารคัดหลั่งเป็นเลือด ข้อควรรู้ก่อนตรวจข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการ ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ ข้อมูลทั่วไปที่คุณควรทราบก่อนเข้ารับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตรวจชิ้นเนื้อเต้านม […]


การทดสอบทางการแพทย์

ตรวจกรดยูริกในเลือด ข้อมูลพื้นฐาน และข้อควรรู้

ตรวจกรดยูริค หรือ การตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid Bolld Test) เป็นการระบุปริมาณของกรดยูริกที่มีอยู่ในตัวอย่างเลือด ซึ่งอาจช่วยในการประเมินสุขภาพร่างกาย อาการของโรค รวมไปถึงเพื่อช่วยในการควบคุมระดับของกรดยูริคในเลือดสำหรับผู้ที่มีภาวะบางอย่าง เช่น เกาต์ นิ่ว หรือกำลังรับการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง [embed-health-tool-bmi] ข้อมูลพื้นฐาน การตรวจกรดยูริกในเลือด คืออะไร การตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid Bolld Test) เป็นการระบุปริมาณของกรดยูริกที่มีอยู่ในตัวอย่างเลือด อาหารที่คุณรับประทาน และกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ เป็นวิธีทั่วไปในการสังเคราะห์กรดยูริก ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการกรองกรดยูริก ตามปกติแล้ว กรดยูริกจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ หรืออาจผ่านทางอุจจาระในบางกรณี บางครั้ง ระดับของกรดยูริกในเลือดจะเพิ่มขึ้นเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือผลิตกรดยูริกออกมากเกินไป ผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายมากเกินไป มักจะต้องทรมานกับอาการที่มีผลึกแข็งเกิดขึ้นภายในข้อต่อ อาการปวดแบบนี้มักเรียกว่าโรคเกาต์ (gout) หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ผลึกกรดยูริกเหล่านี้อาจจะสมในข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบข้าง ทำให้เกิดเป็นก้อนแข็งเรียกว่าโทฟี (tophi) ระดับกรดยูริกสูงยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไต หรือไตวายได้ ความจำเป็นในการ ตรวจกรดยูริกในเลือด ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีระดับของกรดยูริกสูง หรือสงสัยว่าอาจมีอาการของโรคเกาต์ มักได้รับคำแนะนำให้เข้ารับการตรวจกรดยูริกในเลือด นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังทำเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีบำบัด ก็มักจะต้องเข้ารับการตรวจนี้เช่นกัน เพื่อรักษาระดับของกรดยูริกให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ในบางกรณี สำหรับผู้ที่มีอาการนิ่วในไตกำเริบ หรือเป็นโรคเกาต์ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจกรดยูริกในเลือด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการเกิดนิ่ว ข้อควรรู้ก่อนตรวจ ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจกรดยูริกในเลือด การตรวจกรดยูริกในเลือด เป็นขั้นตอนเพื่อทำให้แน่ใจว่า บุคคลนั้นเป็นโรคเกาต์หรือไม่ เพราะถึงแม้จะมีระดับของกรดยูริกสูง และมีอาการปวดข้อ ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับโรคเกาต์เสมอไป นอกจากนี้ ยังอาจมีการวัดระดับของกรดยูริกในปัสสาวะ […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการเสียวฟัน กับสาเหตุที่คุณนึกไม่ถึง และวิธีดีๆ ในการรับมือ

หากคุณมี อาการเสียวฟัน คุณจะมีอาการปวดฟัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่ฟันสัมผัสกับสารหรืออุณหภูมิหนึ่งๆ เคลือบฟันเป็นปราการด่านแรกของฟันของคุณ หากเคลือบฟันเสียหาย ปลายเส้นประสาทจะเปิดออก ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด อาการเสียวฟัน มักเป็นผลมาจากเคลือบฟันที่ถูกทำลาย วันนี้…เราจะลองมาหาค้นหาสาเหตุ เพื่อป้องกันอาการเสียวฟันและดูแลรักษาฟันกัน สาเหตุของ อาการเสียวฟัน นิสัยการแปรงฟัน หากคุณแปรงฟันแรงเกินไป หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแข็ง เคลือบฟันของคุณอาจถูกทำลายลงได้ ทำให้เนื้อฟันเปิดออก และเกิดอาการเหงือกร่น เหงือกร่น ผู้ที่เป็นโรคปริทันต์ มักมีอาการเหงือกร่น และเนื้อฟันเปิดออก เหงือกอักเสบ อาการเหงือกอักเสบอาจทำให้รากฟันเปิดออกได้ ฟันร้าว แบคทีเรียจากคราบพลัค อาจแทรกตัวเข้าไปตามรอยร้าวของฟันและทำให้เนื้อฟันอักเสบ ผู้ป่วยบางรายอาจมีโพรงหนองและแม้กระทั่งมีอาการติดเชื้อได้ การบดฟันหรือการกัดฟัน นิสัยดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อฟันได้ ผลิตภัณฑ์ทำให้ฟันขาว ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้สารเคมีที่รุนแรง เพื่อกำจัดรอยคราบบนฟัน อย่างไรก็ดี สารเคมีดังกล่าวยังอาจทำลายเคลือบฟันได้อีกด้วย พลัค การก่อตัวของคราบพลัคที่ฟัน การใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นเวลานาน กรดชนิดต่างๆ ที่พบได้ในน้ำยาบ้วนปากจำนวนมากที่วางจำหน่ายทั่วไป กรดเหล่านี้ทำให้อาการเสียวฟันที่เป็นอยู่แย่ลง และทำให้เนื้อฟันเสียหายมากยิ่งขึ้น หากคุณต้องการใช้น้ำยาบ้วนปาก ให้เลือกใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณที่พอเหมาะ อาหารที่มีกรด อาหารดังกล่าวสามารถทำลายเคลือบฟันได้ทีละน้อย กระบวนการทันตกรรม กระบวนการทันตกรรมบางประการ เช่น การขูดหินปูน การรักษารากฟัน การครอบฟัน และกระบวนการรักษาฟันประเภทอื่นๆ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการเสียวฟันได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการเสียวฟันจะหายไปเองหลังจาก 4 ถึง 6 สัปดาห์ การรับมือกับอาการเสียวฟัน ปฏิบัติต่อฟันของคุณอย่างอ่อนโยน ห้ามแปรงฟันแรงเกินไป ไม่เช่นนั้นคุณอาจมีความเสี่ยงในการทำลายสารเคลือบฟันของคุณได้ การแปรงฟันไปๆ มาๆ ตามแนวขวางของฟัน […]


การทดสอบทางการแพทย์

บาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal Cord Injury)

คำจำกัดความการบาดเจ็บไขสันหลัง คืออะไร การบาดเจ็บไขสันหลัง หรือไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury) คือ อาการที่บริเวณไขสันหลัง รวมถึงรากประสาทในโพรงกระดูกสันหลังเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจเป็นอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งอาการบาดเจ็บอาจร้ายแรง จนส่งผลให้เป็นอัมพาต หรือกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันไปยาวนานเลยทีเดียว ไขสันหลังนั้นมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก และยังมีเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่กระดูกสันหลังทำหน้าที่ปกป้องอยู่ด้วย กระดูกสันหลังคือส่วนกระดูกที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เป็นแนวสันหลัง ประกอบไปด้วยเส้นประสาทที่ต่อตรงมาจากฐานสมอง ลงมาถึงส่วนหลังใกล้บั้นท้าย ไขสันหลังทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณจากสมองไปสู่จุดอื่นๆ ในร่างกาย และส่งสัญญาณจากร่างกายไปสู่สมอง การที่เราสามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวด หรือขยับแขนขาได้นั้น ก็เป็นเพราะสัญญาณที่ส่งผ่านไขสันหลัง ถ้าหากไขสันหลังบาดเจ็บ สัญญาณบางส่วนหรือทั้งหมด อาจไม่สามารถส่งผ่านไปได้ ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึก หรือการเคลื่อนไหว หากกระดูกสันหลังบริเวณใกล้คอได้รับบาดเจ็บ จะทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นอัมพาต ได้มากกว่าการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว การบาดเจ็บไขสันหลังพบบ่อยแค่ไหน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม อาการอาการ บาดเจ็บไขสันหลัง อาการทั่วไปของไขสันหลังบาดเจ็บ มีดังนี้ การเดินมีปัญหา ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ได้ ไม่สามารถขยับแขนหรือขาได้ มีอาการเหน็บชาที่แขนขา หมดสติ ปวดศีรษะ รู้สึกปวด และเมื่อยล้าบริเวณหลังหรือคอ มีอาการช็อก ศีรษะอยู่ในตำแหน่งต่างไปจากเดิม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณคิดว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการบาดเจ็บไขสันหลัง ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ โทรเรียกหน่วยฉุกเฉินในทันที ยิ่งได้รับการช่วยเหลือเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี อย่าเคลื่อนย้าย หรือรบกวนผู้ป่วยถ้าไม่จำเป็น และไม่ควรขยับศีรษะของผู้ป่วย พยายามให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสามารถลุกขึ้น หรือเดินได้เอง หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) โดยไม่ต้องหมุนคอกลับมา เมื่อผู้ป่วยไปถึงโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและระบบประสาทเพื่อหาว่า มีอาการบาดเจ็บไขสันหลังหรือไม่ และในบริเวณไหน วิธีที่แพทย์จะใช้เพื่อวินิจฉัยโรค มีดังนี้ การทำซีทีสแกน (CT scans) การทำเอ็มอาร์ไอ (MRIs) ตรวจเอ็กซเรย์ที่กระดูกสันหลัง การตรวจการตอบสนองของระบบประสาทตาต่อการกระตุ้น (Evoked potential […]


การทดสอบทางการแพทย์

อาการบ้านหมุน หรือเวียนหัว บอกได้ยังไงว่าอาการเราร้ายแรงแค่ไหน

อยู่ๆ ก็ เวียนหัว แบบไม่ทราบสาเหตุ หรือบางครั้งก็รู้สึกเหมือน บ้านหมุน จนต้องกุมขมับ คุณรู้หรือไม่ว่าอาการเวียนหัวและบ้านหมุน เป็นอาการที่แตกต่างกัน และมีอันตรายต่างกัน เนื่องจากอาการวิงเวียนศีรษะเป็นเพียง “อาการ” ของโรค แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าบ้านหมุน นั่นคือคุณกำลัง “ป่วยเป็นโรค” รีบเช็ค เพื่อรู้จักความแตกต่างของ อาการบ้านหมุน หรือเวียนหัว จะได้รีบไปพบหมอ อาการบ้านหมุน หรือเวียนหัว อาการเวียนศีรษะ มีอาการมึนศีรษะไปจนถึงอาการวิงเวียนศีรษะ เดินเซ โคลง ทรงตัวได้ไม่ค่อยดี อาการบ้านหมุน มีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมหมุนรอบตัวเองหรือตัวเองหมุน รู้สึกโคลงเคลงทั้งๆ ที่ตัวเองอยู่กับที่หรือไม่มีการเคลื่อนไหว ในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หูอื้อ การได้ยินลดลง หรือมีเสียงในหูร่วมด้วยได้ สาเหตุการเกิดอาการ อาการมึนเวียนศีรษะ (dizziness) หมายรวมตั้งแต่อาการมึนศีรษะไปจนถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการไม่เฉพาะเจาะจง เกิดได้จากโรคต่างๆ เช่น โรคทางระบบไหลเวียนเลือด โรคทางระบบประสาท ภาวะโลหิตจาง  อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (vertigo) เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติ ของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คอยรับการทรงตัวสมดุลของร่างกายในท่าทางต่างๆ เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นจึงทำให้มีอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน ซึ่งมีสาเหตุการเกิดมาจากสองส่วน คือ โรคทางระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอันตรายและรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการของระบบประสาทส่วนกลางที่ผิดปกติร่วมด้วย เช่น พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ปากเบี้ยว ใบหน้าเบี้ยว หรือแขนขาอ่อนแรงสองข้างไม่เท่ากัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอาการบ่งชี้ว่า อาจจะมีปัญหาหลอดเลือดสมอง […]


การทดสอบทางการแพทย์

การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน อีกหนึ่งการ วินิจฉัย มะเร็งเต้านม ที่ควรรู้จัก

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในเต้านมมีการเจริญเติบโตแบบผิดปกติ แท้จริงแล้ว มะเร็งเต้านมประมาณ ร้อยละ 85-90 เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่เป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีมะเร็งเพียงร้อยละ 5-10 ซึ่งเกิดจากลักษณะผิดปกติที่สืบทอดในครอบครัว โรคดังกล่าวไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพจิตของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความสามารถในการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และสมรรถภาพทางเพศ การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมทำได้ด้วยการใช้แมมโมแกรม อัลตราซาวด์ การตรวจชิ้นเนื้อที่เต้านม แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักการตรวจแบบ การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน การตรวจตัวรับสัญญาณฮอร์โมน คืออะไร ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างมีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน แต่ฮอร์โมนทั้งสองชนิดมีหน้าที่สำคัญต่อรอบเดือน และพัฒนาการทางเพศของผู้หญิง ตัวรับสัญญาณเอสโตรเจน (Estrogen receptor : ER) และตัวรับสัญญาณโปรเจสเตอโรน (PR) เป็นโปรตีนที่สำคัญ อาจพบในเซลล์มะเร็งเต้านม ตัวรับสัญญาณฮอร์โมนเหล่านี้จะรับข้อมูลจากสารต่าง ๆ ในกระแสเลือด แล้วส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในผู้หญิง เช่น การขยายของหน้าอก เช่นเดียวกับเซลล์ดีอื่น ๆ เซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน และตอบสนองต่อสัญญาณฮอร์โมนเหล่านั้น การทราบว่าเซลล์มะเร็งเต้านมมีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน หรือไม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดวิธีการรักษา การตรวจหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน การตรวจหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เป็นพื้นฐานของการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม วิธีที่ใช้กันทั่วไปที่สุดในปัจจุบันก็คือ การตรวจเนื้องอก เพื่อหาตัวรับสัญญาณเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ที่เรียกกันว่า การใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมิสทรี (Immunohistochemistry : […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม