backup og meta

วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/07/2023

    วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง

    อาการปวดหัวขณะเป็นประจำเดือนเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนทำให้มีอาการปวดหัวตุบ ๆ คลื่นไส้ เหนื่อยล้า เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในทุกเดือน ๆ  วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง อาจทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดมากเกินไป ปรับขนาดยาคุมกำเนิด กินยาบรรเทาอาการเช่น ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs)

    อาการปวดหัว ประจำเดือน คืออะไร

    อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนหรือไมเกรนขณะมีประจำเดือน เป็นอาการปวดหัวจากฮอร์โมน (Hormone headache) ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนเป็นประจำเดือนหรือขณะเป็นประจำเดือน และอาจเกิดขึ้นได้ทุก ๆ เดือน หลายคนอาจมีอาการปวดหัวที่มักเกิดก่อนประจำเดือนมาประมาณ 2 วันและปวดต่อเนื่องไปอีกประมาณ 3 วัน ซึ่งอาการอาจแย่ลงได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว แสง กลิ่น หรือเสียง โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือบางคนก็อาจปวดหัวนานเป็นวัน

    สาเหตุที่ เป็นประจําเดือนแล้วปวดหัว เวียนหัว 

    อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนเกิดจากการเปลี่ยนแแปลงของฮอร์โมนในช่วงเป็นประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้แก่ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ผลิตมาจากรังไข่ และทำหน้าที่สร้างลักษณะทางกายภาพของผู้หญิง ช่วยในการสืบพันธุ์ ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมการมีประจำเดือน รักษาสุขภาพกระดูก หัวใจ ผิวหนัง กระดูก สมอง และเนื้อเยื่ออื่น ๆ 

    ตามปกติแล้วร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณสูงสุดในช่วงกลางของรอบเดือน และจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำสุดในช่วงเป็นประจำเดือน เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงก็จะทำให้เกิดอาการปวดหัวนั่นเอง

    นอกจากนี้ ช่วงเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น

  • การใช้ยาคุมกำเนิด การกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive) ซึ่งเป็นยาคุมที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนในเม็ดเดียว อาจทำให้มีอาการปวดหัวได้ บางคนอาจมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงสัปดาห์ปลอดยา ซึ่งร่างกายจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
    • วัยหมดประจำเดือน อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนอาจรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากประจำเดือนมาบ่อยขึ้นและส่วนหนึ่งเกิดจากรอบเดือนตามปกติมีการเปลี่ยนแปลง
    • การตั้งครรภ์ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์หลังตั้งครรภ์ อาการปวดหัวอาจเกิดขึ้นบ่อยเนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นอย่างมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นเมื่อผ่านอายุครรภ์ 6 เดือนไปแล้ว

    อาการปวดหัว ประจำเดือน

    อาการปวดหัว ประจำเดือนที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้

    • อาการปวดหัวตุบ ๆ ที่อาจมีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง
    • รู้สึกร้อนผ่าว เหงื่อออก ตัวสั่น
    • ไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นบางอย่าง
    • ตึงบริเวณหนังหัว
    • วิงเวียน สายตาพร่ามัว
    • ตัวซีด
    • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง ปวดท้อง

    วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน

    วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง อาจทำได้ดังนี้

    • กินยาบรรเทาอาการกลุ่มเอ็นเสด เช่น นาพรอกเซน (Naproxen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) คีโตโพรเฟน (Ketoprofen) นาบูเมโทน (Nabumetone) หรือยากลุ่มทริปแทน (Triptan) ที่ออกฤทธิ์เร็วอย่างซูมาทริปแทน (Sumatriptan) ริซาทริปแทน (Rizatriptan) โซลมิทริปแทน (Zolmitriptan)
    • สำหรับผู้ที่ปวดหัวในช่วงที่ไม่ได้กินยาคุมกำเนิด อาจใช้วิธีกินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการลดลงอย่างกะทันหันของฮอร์โมน โดยควรไปปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนปรับยาด้วยตัวเอง
    • แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ และกินอาหารว่างเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ต่ำเกินไป และการงดมื้ออาหารบางมื้อก็อาจทำให้อาการกำเริบอีกได้ จึงไม่ควรอดอาหารหรือไม่กินมื้อเช้า
    • พักผ่อนให้เพียงพอและเข้านอนให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการนอนน้อยเกินไปหรือมากเกินไป
    • พยายามทำใจให้สบาย ไม่เครียดกับเรื่องต่าง ๆ มากเกินไป หากมีเรื่องกระทบจิตใจไม่ควรเก็บไว้คนเดียว อาจไปปรึกษาหรือระบายกับคนรอบตัวอย่างครอบครัว เพื่อน คนรัก หรือรับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างนักจิตบำบัด จิตแพทย์ เป็นต้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา