ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น เช่น การจัดการกับความโกรธ เทคนิครับมือกับความเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวต่าง ๆ หาคำตอบได้ที่นี่เลย!

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ตรวจโรคซึมเศร้า มีวิธีอะไรบ้าง

ตรวจโรคซึมเศร้า เป็นวิธีการตรวจโดยจิตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ โดยคุณหมอจะรับฟัง และให้ผู้ป่วยเล่าถึงอารมณ์ความรู้สึกในแต่ละวัน พฤติกรรมในอดีต รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน นอกจากนั้น อาจให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม รวมทั้งการตรวจสุขภาพร่างกาย เช่น การตรวจเลือด การตรวจค่าตับและไต การตรวจสารพิษและสารเสพติด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจสมองร่วมด้วย [embed-health-tool-ovulation] โรคซึมเศร้า คืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ สารเคมีในสมองเกิดความไม่สมดุล ระดับฮอร์โมนเพศแปรปรวนเมื่อมีประจำเดือน คลอดบุตร หรือเข้าสู่วัยทอง หรืออาจเคยมีประสบการณ์ที่เลวร้าย หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ หรือการติดสารเสพติดรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการโศกเศร้า เบื่อหน่าย สิ้นหวัง หมดกำลังใจ และอาจมีอาการปวดศีรษะและลำตัวร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ซึ่งหากพบสัญญาณของโรคซึมเศร้า ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีรักษาโดยเร็วที่สุด อาการ โรคซึมเศร้า หากเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการ ดังต่อไปนี้ หมดความสนใจต่อกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุข โศกเศร้า วิตกกังวล รู้สึกสิ้นหวัง ว่างเปล่า ไร้ค่า ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ หมดแรง อ่อนกำลัง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

เครียดจากงาน ระวัง! จะลุกลามเป็นโรคอื่นที่รุนแรง

ทุกคนย่อมมีวันแย่ ๆ กันทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติหากจะรู้สึกเครียดบ้างในที่ทำงาน โดยเฉพาะตอนนี้มีงานที่ต้องทำให้ทันเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม หากคุณมีวันแย่บ่อย ๆ หรือแค่คิดว่าต้องกลับไปทำงานก็แย่อยู่แล้ว คุณอาจกำลังทุกข์ทรมานกับความ เครียดจากงาน ก็เป็นได้ คำว่า “ความเครียด” ถูกใช้ครั้งแรกโดย ฮานส์ เซลย์ (Hans Selye) ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อชาวฮังการี หลังจากที่ฝึกงานด้านการแพทย์เสร็จในปี 1920 เขาเสนอว่า คำว่า “ความเครียด” เป็นอาการเครียดทางร่างกายประเภทหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย อันเป็นผลมาจากการปล่อยฮอร์โมนเครียดภายในร่างกาย (เซลย์, 1977) ความเครียดจากทำงาน หรือเครียดงาน (Work Stress) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานหนักเกินความสามารถและเกินที่จะทน ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนที่งานที่อยู่ภายใต้ภาวะเครียดเท่านั้น ความเครียดจากงานยังทำให้ผลิตภาพขององค์กรลดลงอีกด้วย ตัวกระตุ้นความเครียดจากงาน ตัวกระตุ้นความเครียดจากงานที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารงานไม่ดี งานหนัก สภาพที่ทำงาน ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน การไม่ได้รับความช่วยเหลือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายผู้บริหาร การทำงานไม่ตรงกับหน้าที่ ภาวะบาดเจ็บ ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง ระยะเวลาในการส่งงานที่กระชั้น มีการกำกับงานจากหัวหน้างานมากเกิน เครื่องมือและทรัพยากรอำนวยความสะดวกในการทำงานไม่เพียงพอ โอกาสในการเลื่อนขั้นมีน้อยมาก การข่มขู่ คุกคาม หากแบ่งตัวกระตุ้นความเครียดจากงานตามปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านองค์กร จะแบ่งได้ดังนี้ ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ทักษะในการทำงานของแต่ละคน สุขภาพด้านจิตวิทยา สุขภาพร่างกาย กลไกการรับมือกับความเครียด ปัจจัยด้านองค์กร เช่น คำสั่งจากฝ่ายบริหาร วัฒนธรรมองค์กร ชั่วโมงทำงาน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเองและองค์กรด้วยเช่นกัน สัญญาณความ เครียดจากงาน ที่เห็นได้ในที่ทำงาน มีความขัดแย้งภายในกลุ่ม พนักงานลาออกบ่อยมาก พนักงานร้องเรียนบ่อยมาก พนักงานลาป่วยบ่อยขึ้น ผลการปฏิบัติงานของพนักงานลดลง ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับผลผลิต การหาพนักงานใหม่ ๆ มาทดแทนก็ยากขึ้น วิธีสังเกตภาวะเครียดจากงานในตัวเอง รู้สึกหดหู่ หรือมีแต่ความคิดแง่ลบ แต่ละคนแสดงความรู้สึกหดหู่ หรือความคิดแง่ลบเพราะเครียดจากงานไม่เหมือนกัน บางคนอาจรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตัวเองเมื่อไม่สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

burn out คือ อะไร มีสัญญาณเตือนและวิธีรับมืออย่างไร

สำหรับคนวัยทำงานในปัจจุบัน หนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ ปัญหา หมดไฟในการทำงาน  ก็คือ ในชีวิตการทำงาน แม้คุณจะได้ทำงานที่ฝัน ได้ทำงานที่ดีที่สุด ก็ยังอาจจะประสบปัญหา หมดไฟในการทำงาน ได้ โดยเฉพาะเมื่องานของคุณหนักขึ้น ทำให้คุณเครียด หดหู่กับงาน จนในที่สุดก็รู้สึกหมดไฟ ไม่อยากคุณจะคิดวนอยู่แต่เรื่องนี้บ่อยๆ และนี่อาจเป็นสัญญาณของ “โรคเบิร์นเอาท์” ที่ทาง Hello คุณหมอ ขอนำมาฝากกันในบทความนี้ โรคเบิร์นเอาท์ คืออะไร โรคเบิร์นเอาท์ (Burnout syndrome) หรือ ภาวะหมดไฟหรือหมดไฟในการทำงาน จะทำให้คุณรู้สึกว่า คุณทำอะไรไม่ได้เลย หากเป็นโรคนี้อย่างเรื้อรัง จะส่งผลถึงเรื่องสุขภาพจิต ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายในเวลาต่อมา ก่อนที่คุณจะจัดการกับโรคเบิร์นเอาท์ หรือป้องกันไม่ให้ตัวเองเป็นโรคนี้ได้นั้น คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า สัญญาณเตือนภัยของโรคนี้ มีอะไรบ้าง สัญญาณเตือนว่าคุณอาจมีอาการของ โรคเบิร์นเอาท์ (Burnout syndrome) ปัญหาสุขภาพ โรคเบิร์นเอาท์ มีผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ หากคุณกำลังมีอาการปวดหลัง อาการซึมเศร้า เป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน หรืออาจจะมีอาการป่วยบ่อยขึ้น และคุณรู้สึกว่า งานเป็นสาเหตุ ที่ทำให้สุขภาพของคุณแย่ลง ตอนนั้นเองที่จะทำให้คุณรู้ว่า โรคเบิร์นเอาท์กำลังทำลายสุขภาพของคุณอยู่ จากนั้น คุณควรพิจารณาว่า […]


ปัญหาสุขภาพจิตแบบอื่น

จิตหมกมุ่น จมกับ ความเสียใจ รับมืออย่างไรไม่ให้ทำร้ายสุขภาพ

ทุกคนย่อมเคยมีช่วงเวลาหนึ่ง ที่ตัวเองเอาแต่จมอยู่กับความผิดหวัง หรือมัวแต่นั่งเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ยอมปล่อยวาง ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นเผยว่า ความเจ็บปวดและความเสียใจ คือตัวการหนึ่งที่ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพใจย่ำแย่ลง Hello คุณหมอ จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความเสียใจ และวิธีรับมือที่ทำได้ไม่ยาก เพื่อชีวิตที่มีความสุขขึ้น ความเสียใจ เป็นเรื่องปกติ ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่า ความเสียใจเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเผชิญกับความเสียใจมาแล้วทั้งสิ้น แต่ก็ใช่ว่า เราจะต้องจมปลักอยู่กับอดีต และปล่อยให้ความเสียใจทำลายความสุขในปัจจุบันที่ควรมี เราต้องรับมือกับความเสียใจของตัวเองให้ได้ และควรรีบทำให้ตัวเองหลุดจากวังวนของความโศกเศร้าโดยเร็ว ชีวิตจะได้มีความสุขมากขึ้น คนเรามีความสามารถในการรับมือกับปัญหาและสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนอาจต้องใช้เวลาในการขจัดความเศร้าโศกเสียใจนานกว่าคนอื่น ฉะนั้น หากคุณยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับความเสียใจอย่างไร ก็อย่าเพิ่งหมดหวังหรือท้อแท้ เพราะทุกคนมีศักยภาพมากพอที่จะทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความโศกเศร้า ขอเพียงแค่คุณกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งเคยทำ และยอมรับความผิดพลาดที่ซ่อนไว้ใต้ความเสียใจนั้นให้ได้โดยเร็วที่สุด ยอมรับความเจ็บปวดที่เกิดจาก ความเสียใจ ไม่ว่าคุณจะเสียใจและเจ็บปวดเพราะได้ทำ หรือไม่ได้ทำสิ่งใดในอดีต คุณก็ต้องรีบยอมรับมันให้ได้ เพราะไม่ว่าใครต่างก็เคยทำผิดพลาดด้วยกันทั้งนั้น ทุกคนต่างก็มีข้อเสีย ไม่ได้สมบูรณ์แบบไปทุกอย่าง บางครั้งคุณอาจใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล จนทำให้กระทำการใดลงไปแล้วมาเสียใจภายหลัง แต่แม้ความผิดพลาดนั้นจะทำให้คุณเสียใจและเจ็บปวด จนไม่กล้าเผชิญความจริงแค่ไหน คุณก็ต้องเผชิญความจริงและยอมรับความผิดพลาดของตัวเองให้ได้ เพราะนั่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณหายจากความเจ็บปวดและความเสียใจได้เร็วขึ้น เสียใจไม่ว่า แต่ต้องรับตัวเองให้ได้  บางคนให้อภัยคนอื่นได้ แต่ให้อภัยตัวเองไม่ได้ คุณต้องหัดยอมรับตัวเอง เหมือนที่ยอมรับคนอื่น อย่าใส่ใจกับเรื่องความไม่สมบูรณ์แบบ คุณควรเข้าใจว่า ความผิดพลาดไม่ใช่ตราบาปของชีวิต และไม่ได้หมายความว่าชีวิตคุณล้มเหลว แต่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าคุณคือมนุษย์คนหนึ่งต่างหาก เสียใจวนเวียน รับมือยังไงดี การรับมือกับความเสียใจไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องรู้สึกโล่งใจตลอดเวลา หรือลืมเรื่องที่ทำให้เสียใจไปโดยสิ้นเชิง คุณอาจยังอารมณ์เสีย รู้สึกเศร้า […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม