backup og meta

ออกกำลังกาย อย่างไร...เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ออกกำลังกาย อย่างไร...เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การ ออกกำลังกาย เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง นั้นสามารถช่วยให้ปอดของคุณรับออกซิเจนได้มากขึ้น และขับไล่สิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองใดๆ ออกจากร่างกาย เมื่อเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะมีสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองติดอยู่ในปอดของคุณ ทำให้เกิดการอักเสบและความเสียหาย การออกกำลังกายสามารถช่วยให้คุณหายใจได้สะดวกขึ้น และทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นอีกด้วย และนี่คือสิ่งที่คุณควรจะรู้ก่อนออกกำลังกายเมื่อ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ออกกำลังกาย ดีต่อผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างไร

อาการที่พบได้บ่อยของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือการหายใจได้น้อย คุณแทบจะหายใจโดยไม่มีเสียงฮืดฮาดหรืออาการหอบได้เลย ดังนั้น การออกกำลังกายคือสิ่งที่คุณต้องทำ เพื่อพัฒนาการหายใจของตัวเอง เมื่อคุณออกกำลังกาย การไหลเวียนของเลือดไปสู่ปอดจะมากขึ้น สิ่งนี้มีข้อดีอยู่ 2 ประการ เพื่อช่วยให้คุณไปเอาเสมหะที่ปิดกั้นปอดของคุณออกมา และช่วยเพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือด

ออกกำลังกายประเภทใดได้บ้าง

การออกกำลังกายในแต่ละประเภทสามารถช่วยในเรื่องโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น

  • การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจ (คาร์ดิโอ) สามารถช่วยให้การหายใจของคุณดีขึ้น โดยการทำให้หัวใจและปอดของคุณแข็งแรงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจ (คาร์ดิโอ) สามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตของคุณลดลงได้ หัวใจของคุณไม่ต้องทำงานหนักในระหว่างการทำกิจกรรมทางร่างกายต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้การหายใจของคุณดีขึ้น
  • การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก กระตุ้นให้เกิดการทำลาย และสร้างใหม่ของกล้ามเนื้อ ด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อบ่อยๆ การออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักในช่วงบนของร่างกาย สามารถช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจของคุณ
  • การออกกำลังกายแบบยืดตัว และฝึกความยืดหยุ่นอย่างโยคะและพิลาทิส สามารถเพิ่มการประสานงานภายในและการหายใจได้

อย่างไรก็ตาม คุณยังต้องระวังเมื่อกระทำการออกกำลังกาย ปรึกษาแพทย์ก่อนการเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย แพทย์ของคุณสามารถแนะนำในเรื่องความปลอดภัยและประโยชน์ของมันได้

ควรออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน 

เมื่อออกกำลังกายโดยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วย สิ่งสำคัญคืออยากออกกำลังมากเกินไป คุณควรเริ่มด้วยท่าออกกำลังที่สั้นๆ และช้าๆ จากนั้นค่อยๆเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเริ่มชินกับจำนวนการออกกำลังกาย เมื่อเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กล้ามออกกำลังกายแบบเบาๆ สามารถทำให้หัวใจคุณเต้นได้มากเท่ากับคนปกติออกกำลังกายแบบความเข้มข้นปานกลาง

เริ่มต้นด้วยเป้าหมายการออกกำลังอย่างเบาๆ และค่อยๆเพิ่มขึ้นช้าๆเป็น 20 ถึง 30 นาทีต่อรอบ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ คุณสามารถลองออกกำลังโดยการเดิน หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือศิลปะการต่อสู้แบบช้ามากๆ ที่เรียกว่า ไทเก๊ก จำไว้ว่าให้หยุดออกกำลังกายแล้วพักหากคุณรู้สึกว่าหายใจไม่ทัน

คุณสามารถเพิ่มความอึดได้โดยการสลับเปลี่ยนระหว่างการออกกำลังกายแต่ละชนิด หรือระหว่างการออกกำลังกายแบบเข้มข้นมากและพักด้วยการออกกำลังกายแบบเข้มข้นน้อย ยกตัวอย่าง การออกกำลังกายอย่างเข้มข้น 30 วินาที ตามด้วยการออกกำลังกายเบาๆ 30 วินาทีเพื่อเป็นการพัก (หรือออกกำลังกายอย่างเข้มข้นเป็นเวลา 20 วินาทีแล้วพัก 40 วินาที)

ทำอย่างไรให้หายใจได้ง่ายขึ้นขณะออกกำลังกาย

เมื่อคุณออกกำลังกายในขณะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่าลืมที่จะหายใจ พยายามหายใจช้าๆ หายใจเอาอากาศที่อุ่นและชื้นเข้าผ่านจมูก และหายใจออกให้ยาวกว่าสัก 2 เท่าผ่านปาก การหายใจไม่ทันในระหว่างการออกกำลังกาย หมายถึงร่างกายคุณต้องการออกซิเจนมากขึ้น คุณสามารถนำออกซิเจนกลับเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจให้ช้าลง

คุณสามารถทำให้อากาศที่คุณหายใจเข้าไปชื้นและสะอาดอยู่เสมอ โดยการใช้เครื่องเพิ่มความชื้น หรือเครื่องกรองอากาศ เพื่อช่วยลดอัตราการหายใจในระหว่างการออกกำลังกาย พยายามให้การหายใจออกของคุณยาวเป็นสองเท่าของการหายใจเข้า ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณหายใจเข้าเป็นเวลา 2 วินาที ให้หายใจออกเป็นเวลา 4 วินาที อย่าอาบน้ำโดยทันทีหลังการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด หรือการซาวน่าหลังออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแย่ลง โดยการทำให้เนื้อเยื่อปอดบวมขึ้น หรือจำกัดการไหลของอากาศชั่วคราว หรือทำให้เนื้อเยื่อแข็งตัว

หากคุณไม่ทราบวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องหรือออกกำลังกายมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อปอดของคุณ ดังนั้น ให้แน่ใจว่าคุณทราบวิธีการออกกำลังกายอย่างถูกต้องก่อนที่จะเริ่ม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา