backup og meta

น้ำผึ้ง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

น้ำผึ้ง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค

น้ำผึ้ง เป็นของเหลวสีเหลืองใส ลักษณะข้นเหนียวและมีรสหวาน ซึ่งผึ้งผลิตจากน้ำหวานของดอกไม้ หรือน้ำหวานที่แมลงบางชนิดหลั่งออกมา โดยทั่วไป กลิ่น รสชาติ และความเข้มอ่อนของสีเหลืองของน้ำผึ้งมักแตกต่างกันไปตามชนิดดอกไม้ที่ผึ้งไปเอาน้ำหวานมา ทั้งนี้ การบริโภคน้ำผึ้งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น อาจช่วยบรรเทาอาการไอ ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ลดไขมันในเลือด ป้องกันโรคอ้วน

คุณค่าทางโภชนาการของ น้ำผึ้ง

น้ำผึ้ง 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 304 กิโลแคลอรี่ รวมถึงสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้

  • คาร์โบไฮเดรต 82.4 กรัม
  • โปรตีน 0.3 กรัม
  • โพแทสเซียม 52 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 6 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 4 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 2 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 0.5 มิลลิกรัม
  • ฟลูออรีน 7 ไมโครกรัม
  • นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ซีลีเนียม (Selenium) ทองแดง สังกะสี กับวิตามินอื่น ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 โฟเลต (Folate)

    ประโยชน์ของน้ำผึ้งต่อสุขภาพ

    น้ำผึ้งอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติของน้ำผึ้งในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้

    อาจช่วยบรรเทาอาการไอ

    การบริโภคน้ำผึ้งอาจช่วยบรรเทาอาการไอได้ เพราะน้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาแก้ไออย่างเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)

    นักวิจัยได้ศึกษาผลการศึกษาจำนวน 14 ชิ้น ซึ่งเผยแพร่ทางวารสารหรือฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ

    พบข้อสรุปว่า การบริโภคน้ำผึ้ง อาจมีประสิทธิภาพบรรเทาอาการไอ รวมถึงอาการป่วยอื่น ๆ จากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ที่อาจได้ผลดีกว่าการดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ปฏิบัติกันทั่วไป

    นอกจากนี้ น้ำผึ้งอาจมีฤทธิ์ชะลอการดื้อยาของเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ด้วย

    อาจช่วยป้องกันกลุ่มอาการเมแทบอลิก

    กลุ่มอาการเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) หมายถึงอาการป่วยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ทั้งนี้ การบริโภคน้ำผึ้ง อาจช่วยป้องกันกลุ่มอาการนี้ได้ เนื่องจากน้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านโรคอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และภาวะความดันโลหิตสูง

    ระบุว่ามีผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการและในมนุษย์จำนวนมาก ที่รายงานว่าน้ำผึ้งมีคุณสมบัติป้องกันกลุ่มอาการเมแทบอลิกในผู้บริโภค โดยคุณสมบัติของน้ำผึ้งที่อาจช่วยบรรเทาอาการของกลุ่มอาการเมแทบอลิก อย่างรอบเอวขนาดใหญ่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง มีดังต่อไปนี้

    • ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นทันทีหลังจากบริโภค เนื่องจากมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
    • ป้องกันโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักตัวมากเกินไป
    • กระตุ้นการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
    • กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น และป้องกันตับอ่อนทำงานหนักเกินไป
    • ป้องกันเยื่อบุผนังหลอดเลือดทำงานผิดปกติ

    อาจช่วยเยียวยาบาดแผลและรอยไหม้

    น้ำผึ้งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย และต้านการอักเสบ ดังนั้น การทาน้ำผึ้งบริเวณที่เป็นแผล จึงอาจช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูบาดแผลได้

    ระบุว่า น้ำผึ้งที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ (Medical-grade Honey) อาจช่วยฟื้นฟูบาดแผลได้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพต้านจุลชีพ และยังไม่พบจุลชีพใดที่ต้านทานฤทธิ์ของน้ำผึ้งได้

    นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังปลอดภัย และมีราคาประหยัด โดยเฉพาะเมื่อใช้รักษาบาดแผลหลาย ๆ รูปแบบ

    อาจดีต่อสุขภาพหัวใจ

    นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำผึ้ง จากผลการศึกษาจำนวน 25 ชิ้น และพบข้อสรุปว่า น้ำผึ้งอาจมีศักยภาพต้านโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

    • ลดความดันโลหิต
    • ฟื้นอัตราการเต้นของหัวใจ
    • ลดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ
    • กระตุ้นการเผาผลาญไขมัน
    • ลดการตายของเซลล์อย่างเป็นระบบ (Apoptosis)

    ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำผึ้ง

    น้ำผึ้งมีประโยชน์มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภค ดังนี้

    • น้ำผึ้งไม่เหมาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 เดือน เพราะเด็กช่วงวัยดังกล่าวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่ำ และในน้ำผึ้งมีสปอร์ของแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึม (Botulism) ได้
    • น้ำผึ้งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้ได้ แม้จะพบได้น้อยมาก
    • น้ำผึ้งมีน้ำตาลฟรุกโตสในปริมาณค่อนข้างสูง หากบริโภคมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อระดับไขมันในเลือด และการหลั่งอินซูลินได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้มีไขมันในเลือดสูง ควรบริโภคน้ำผึ้งอย่างระมัดระวัง
    • หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร สามารถบริโภคน้ำผึ้งได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณมาก และควรบริโภคผักและผลไม้ให้หลากหลายเพื่อบำรุงร่างกายและเพื่อให้ร่างกายและทารกในครรภ์ได้รับปริมาณสารอาหารครบถ้วน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา