backup og meta

อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้วินิจฉัยโรค กับความรู้พื้นฐานที่คุณควรรู้ไว้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 03/12/2020

    อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้วินิจฉัยโรค กับความรู้พื้นฐานที่คุณควรรู้ไว้

    อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้วินิจฉัยโรค สามารถวัดและสังเกตลักษณะต่าง ๆ ของสุขภาพผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยได้ ซึ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง บางอย่างคุณอาจจะเคยเห็นแต่ไม่ทราบว่ามันคืออะไร และเอาไว้ใช้ทำอะไร ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

    อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้วินิจฉัยโรค โดยทั่วไป มีอะไรบ้าง

    เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์มีไว้เพื่อให้แพทย์ใช้ในการวัดและสังเกตลักษณะต่าง ๆ ของสุขภาพผู้ป่วย เพื่อให้ทำการวินิจฉัยได้ เมื่อวินิจฉัยได้แล้ว แพทย์สามารถกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้วินิจฉัยโรค พบได้ในศูนย์ดูแลผู้ป่วยนอก แผนกกุมารเวชศาสตร์และในห้องฉุกเฉิน ทั้งยังพบได้ในศูนย์ดูแลผู้ป่วยใน ห้องผู้ป่วย และห้องดูแลผู้ป่วยหนัก (Intensive care units; ICU) โดย อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้วินิจฉัยโรค โดยทั่วไป มีดังนี้

    สเต็ตโทสโคป (Stethoscope)

    สเต็ตโทสโคป หรือรู้จักกันในชื่อ เครื่องตรวจฟังของแพทย์ เป็นเครื่องมือวินิจฉัยทางการแพทย์ที่น่าจะเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด มันใช้ในการฟังเสียงหัวใจ ปอด การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดง โดยทั่วไปสเต็ตโทสโคปช่วยในการวินิจฉัย

    • โรคปอดอักเสบ
    • โรคหลอดลมอักเสบ
    • ใจสั่น
    • โรคหัวใจ
    • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ

    นอกจากนั้น สเต็ตโทสโคปยังใช้งานร่วมกับเครื่องวัดความดันโลหิต (Sphygmomanometer) เพื่อวัดความดันโลหิต สเต็ตโทสโคปแบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยปรับปรุงคุณภาพเสียง เมื่อฟังเสียงหัวใจที่มีเสียงต่ำและเสียงปอดที่มีเสียงแหลมสูง และยังสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อบันทึกเสียงได้ด้วย

    เครื่อง วัดความดันของโลหิต (Sphygmomanometer)

    หลักฐานทางการแพทย์พิสูจน์แล้วว่าการวัดความดันโลหิตมีความสำคัญในการกำหนดสุขภาพโดยรวมของบุคคล มันยังสามารถช่วยวินิจฉัย

    ความดันโลหิตสูงเชื่อมโยงกับโรคต่าง ๆ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์อยู่ไม่กี่อย่างที่ใช้ในการวัดความดันโลหิต เครื่องวัดความดันของโลหิตแบบแมนนวลถือเป็นเครื่องวัดที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ส่วนเครื่องวัดความดันของโลหิตที่แสดงค่าความดันเป็นดิจิตอล (Aneroid sphygmomanometers) มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากอาจไม่สามารถใช้งานได้เมื่อถูกกระแทก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในการตั้งค่า แต่ข้อดีของเครื่องวัดความดันของโลหิตที่แสดงค่าความดันเป็นดิจิตอล สามารถระบุค่าความดันได้ง่ายกว่า นอกจากนั้นยังมีเครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอลแบบนิ้ว ซึ่งมีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก และใช้งานง่าย แต่ความแม่นยำก็เทียบไม่ได้กับเครื่องวัดความดันโลหิตแบบแมนนวล

    อุปกรณ์ส่องดวงตาออพธัลโมสโคป (Ophthalmoscope)

    ออพธัลโมสโคปเป็นเครื่องถือที่ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นเข้าไปในอวัยวะของดวงตา เครื่องมือวินิจฉัยประเภทนี้มักใช้ในการตรวจร่างกายหรือผู้ป่วยนอก มันสามารถช่วยวินิจฉัย

    • การติดเชื้อแบคทีเรีย
    • จอประสาทตาลอก
    • ต้อหิน

    ออพธัลโมสโคป มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่

    • ออพธัลโมสโคปทางตรง มันทำให้เกิดภาพตรงโดยมีกำลังขยายประมาณ 15 เท่า เครื่องมือเหล่านี้จะใช้ถือไว้ใกล้ดวงตาของผู้ป่วยมากที่สุด
    • ออพธัลโมสโคปทางอ้อม มันทำให้เกิดภาพหัวกลับที่มีกำลังขยาย 2-5 เท่า โดยการใช้ออพธัลโมสโคปทางอ้อมจะถือเอาไว้ห่างจากดวงตา 24-30 นิ้ว นอกจากนั้น ออพธัลโมสโคปทางอ้อมยังมีแสงที่ทรงพลัง ดังนั้น จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าออพธัลโมสโคปทางตรง เมื่อใช้กับผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจก

    กล้องส่องตรวจหู (Otoscopes)

    กล้องส่องตรวจหูเป็นอุปกรณ์พกพาที่ช่วยให้แพทย์สามารถมองเข้าไปในช่องหูและดูเยื่อแก้วหูผ่านเลนส์ขยายได้ นอกจากนั้นยังช่วยในการวินิจฉัย

    • การติดเชื้อในหู
    • หูอื้อ (Tinnitus)
    • สาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะ
    • โรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease)
    • การติดเชื้อหูชั้นนอก (Swimmer’s Ear)

    ส่วนหัวของกล้องส่องตรวจหูมีไฟสำหรับส่องร่วมกับเลนส์ขยาย ทำให้มองเห็นหูชั้นนอกและชั้นกลางได้ ส่วนที่แพทย์จะสอดเข้าไปในช่องหู เรียกว่า เครื่องถ่างชนิดใช้แล้วทิ้ง โดยเครื่องถ่างที่ใช้แล้วทิ้งจะถูกเก็บเอาไว้ในตู้ห้องตรวจ เพื่อสามารถนำมาติดกับกล้องส่องตรวจหูใหม่ เพื่อความสะอาดสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายได้

    เครื่อง ตรวจคลื่นไฟฟ้า (Electrocardiographs)

    เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าจะใช้วัดกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ ในระหว่างการตรวจนี้จะสามารถบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ รวมทั้งความสม่ำเสมอจองการเต้นได้ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้หลักของปัญหาต่าง ๆ ในหัวใจ นอกจากนั้น แพทย์ยังสามารถอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อกำหนดขนาด และตำแหน่งของห้องหัวใจแต่ละห้อง สุดท้าย การใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหลัก ๆ คือ การวินิจฉัยความเสียหายต่อหัวใจ ผลกระทบ และประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาหรือการฝังอุปกรณ์เข้าไปในร่างกาย

    เครื่องวัดอุณหภูมิ หรือเทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer)

    เครื่องวัดอุณหภูมิใช้ในทุกพื้นที่และทุกระดับของการดูแลรักษา ตั้งแต่การตรวจร่างกายตามปกติ ไปจนการดูแลผู้ป่วยในแผนกฉุกเฉิน ปัจจุบันเทอร์โมมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยย่นระยะเวลาในการวัดอุณหภูมิผู้ป่วย โดยสามารถตั้งค่าของเทอร์โมมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ให้เหมาะสำหรับการวัดอุณหภูมิเฉพาะส่วนของร่างกายที่วัดได้ เช่น ปาก ใต้รักแร้ ทวารหนัก หรือใบหู

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 03/12/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา