backup og meta

ปวดท้องประจําเดือน นอนท่าไหน และวิธีบรรเทาปวดด้วยตัวเอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 21/06/2023

    ปวดท้องประจําเดือน นอนท่าไหน และวิธีบรรเทาปวดด้วยตัวเอง

    ปวดท้องประจำเดือนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่ทำให้มดลูกบีบรัดตัวเพื่อขับเลือดประจำเดือนจนทำให้ปวดท้อง หรือร่างกายมีเลือดไปไหลเวียนบริเวณมดลูกไม่เพียงพอ เป็นต้น ถ้า ปวดท้องประจําเดือน นอนท่าไหน จึงจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ซึ่งแต่ละคนมักมีท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการได้แตกต่างกันไป ควรสังเกตตัวเองเพื่อหาท่านอนที่เหมาะสม ทั้งนี้ หากปรับเปลี่ยนท่านอนและดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างตรงจุด

    ปวดท้องประจําเดือน นอนท่าไหน ดี

    สำหรับผู้มีประจำเดือนที่มีปัญหาปวดท้องในตอนกลางคืน อาจเลือกนอนในท่าที่อาจช่วยบรรเทาอาการดังต่อไปนี้

  • นอนตะแคงโดยเอาหมอนมารองไว้ระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง นอนท่านี้อาจช่วยลดแรงกดบริเวณหน้าท้อง และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปยังมดลูก ทั้งยังเป็นท่าที่ช่วยลดการนอนกรนและช่วยให้หลับสบาย
    •  นอนหงายแล้วรองหมอนหรือม้วนผ้าห่มไว้ใต้เข่า การนอนหงายแล้วรองหมอนไว้ใต้เข่าจะช่วยลดแรงกดบริเวณหลังส่วนล่างและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้
    • นอนขดตัว ผู้ที่ปวดท้องประจำเดือนอาจนอนขดตัวในท่าเดียวกับทารกในครรภ์ คือ การนอนตะแคงข้างแล้วงอเข่าเข้าหาตัว ซึ่งอาจลดอาการตึงบริเวณหลังส่วนล่างและกล้ามเนื้อหน้าท้อง และอาจนำหมอนข้างมาเกยระหว่างขาทั้ง 2 ข้างเพื่อช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น
    • นอนยกส่วนลำตัวตั้งแต่สะโพกลงไปให้สูงขึ้น ให้ผู้ปวดท้องประจำเดือนนอนหงายแล้ววางหมอน ม้วนผ้าห่มไว้ใต้สะโพก หรือนอนบนเตียงที่ปรับระดับได้ เพื่อยกให้สะโพกและขาไปจนถึงส่วนเท้าสูงขึ้นกว่าส่วนบนของร่างกาย นอกจากจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นยังอาจช่วยลดการกรนและลดปัญหาการหายใจได้

    วิธีบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

    วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นต่อไปนี้ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้

  • อาบน้ำอุ่นที่อาจช่วยขยายหลอดเลือดและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณมดลูก
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เน้นการยืดเหยียดร่างกาย 
  • ใช้เทคนิคผ่อนคลาย เช่น นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออก โยคะ
  • พักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำอย่างน้อย 8-10 แก้ว/วัน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีคาเฟอีนหรือมีโซเดียมสูงเพราะที่อาจทำให้อาการปวดท้องประจำเดือนแย่ลง
  • ใช้แผ่นประคบร้อนหรือถุงน้ำร้อนประคบบริเวณท้องน้อยอย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อคลายกล้ามเนื้อ
  • กินยาแก้ปวด เช่น กลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) อย่างไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพร็อกเซน (Naproxen) ที่นอกจากจะบรรเทาอาการปวดแล้วยังอาจช่วยลดปริมาณของโพรสตาแกลนดินที่มดลูกสร้างขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการบีบรัดของกล้ามเนื้อมดลูกได้
  • ปวดท้องประจำเดือนแบบไหน ควรไปหาหมอ

    หากมีอาการต่อไปนี้ขณะเป็นประจำเดือน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

  • เริ่มมีอาการปวดท้องประจำเดือนทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อน และอาการปวดเกิดขึ้นหลังอายุ 25 ปี
  • อาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงขึ้น
  • อาการปวดท้องประจำเดือนนานกว่าที่เคยเป็น
  • มีอาการปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีอาการปวดท้องในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 21/06/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา