backup og meta

ตรวจ HIV วิธีสังเกตอาการและการดูแลตัวเอง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2023

    ตรวจ HIV วิธีสังเกตอาการและการดูแลตัวเอง

    HIV คือ เชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้อ่อนแอลง ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อนจะนำไปสู่โรคเอดส์อย่างสมบูรณ์และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากไม่ทำการรักษาตามอาการที่เป็น ดังนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีควรศึกษาการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย อาการเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไวี และเข้ารับการ ตรวจ HIV ทันที เมื่อมีอาการผิดปกติ รวมถึงวิธีการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของคุณหมอเมื่อติดเชื้อเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

    HIV เกิดจากอะไร

    HIV เกิดจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทำให้ได้รับเชื้อจากสารคัดหลั่ง เช่น อสุจิ เมือกในช่องคลอด หรือทวารหนัก นอกจากนี้ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ และสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอ ก็อาจส่งผลให้ผู้อื่นและทารกในครรภ์เสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีได้เช่นกัน

    เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีจะส่งผลให้ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ (CD4) ที่มีบทบาทสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม โดยปกติ ร่างกายจะมีเซลล์ CD4 ในเลือดประมาณ 500-1,400 เซลล์/ลบ.มม. แต่หากมีเซลล์ CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ ก็อาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ไม่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เสี่ยงเป็นเป็นโรคเอดส์ได้ในอนาคต

    วิธีสังเกตอาการ HIV

    อาการ HIV อาจเกิดขึ้นหลังจากร่างกายได้รับเชื้อประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

    ระยะที่ 1: อาการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลัน

    เป็นระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอ โดยส่งผลให้มีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่อาจหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ สัญญาญเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรกอาจมีดังนี้

    • มีไข้
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดกล้ามเนื้อ
    • ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม เจ็บคอ
    • ไอ
    • รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย
    • ผื่นแดงขึ้นบนลำตัวแต่อาจไม่มีอาการคัน
    • มีแผลในปาก หลอดอาหาร ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ
    • น้ำหนักลดกะทันหัน
    • ท้องเสีย
    • เหงื่อออกมากโดยเฉพาะตอนกลางคืน

    ระยะที่ 2: อาการแฝงทางคลินิก

    ระยะนี้อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่จะหายไป แต่ปริมาณไวรัสเอชไอวีอาจเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้เชื้อไวรัสเอชไอวีอาจทำลายเซลล์ซีดีโฟร์ที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว

    ระยะที่ 3: อาการของโรคเอดส์

    หากไม่ได้รับการตรวจ HIV และรักษาอย่างรวดเร็วเมื่อสังเกตถึงอาการผิดปกติ เชื้อไวรัสเอชไอวีอาจพัฒนาเข้าสู่ระยะสุดท้ายที่เรียกว่า ระยะเอดส์ หรือโรคเอดส์ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอและแสดงอาการป่วยอีกครั้ง ดังนี้

    • หายใจถี่และรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
    • มีไข้นานกว่า 10 วัน
    • เหงื่อออกตอนกลางคืน
    • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
    • ท้องเสียรุนแรงและนานกว่า 1 สัปดาห์
    • การมองเห็นเปลี่ยนแปลง
    • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบบวมเป็นเวลานาน
    • ผื่นที่ผิวหนังที่ปรากฏเป็นจุดสีขาว ชมพู น้ำตาล แดง หรือม่วง
    • มีแผลในปาก ทวารหนัก และรอบ ๆ อวัยวะเพศ
    • มีอาการทางระบบประสาท เช่น ซึมเศร้า ความจำเสื่อม ไม่มีสมาธิ มีปัญหาการทรงตัว
    • อาการชัก

    ตรวจ HIV ทำได้อย่างไร

    การตรวจ HIV อาจทำได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้

    • การทดสอบแอนติเจนและแอนติบอดี คุณหมออาจเจาะเลือดผ่านทางหลอดเลือดดำเพื่อนำไปทดสอบหาเชื้อไวรัสเอชไอวี และอาจทราบผลลัพธ์ประมาณ 3-12 สัปดาห์
    • การทดสอบกรดนิวคลีอิก (Nucleic acid tests) เป็นการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อตรวจหาปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวี
    • การทดสอบระยะของเชื้อเอชไอวี เป็นการทดสอบหาระยะการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อหาวิธีรักษาให้เหมาะสมกับระยะและอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยคุณหมออาจตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณไวรัส ตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวว่าต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ และทดสอบการดื้อยาเนื่องจากเชื้อไวรัสเอชไอวีอาจมีการต่อต้านยาต้านไวรัส
    • การทดสอบหาภาวะแทรกซ้อน คุณหมออาจทดสอบหาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเอดส์ร่วมด้วย เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ภาวะตับไตล้มเหลว วัณโรค การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) การติดเชื้อทอกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เพื่อทำการรักษาทันที

    การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV

    การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV อาจทำได้ดังนี้

    • รับประทานยาตามที่คุณหมอแนะนำ เช่น กลุ่มยาเอ็นเอ็นอาร์ทีไอ (NNRTIs) กลุ่มยาเอ็นเอาร์ทีแอลเอส (NRTIs) สารอินทีเกรส (Integrase) สารยับยั้งโปรตีเอสเอชไอวี และสารยับยั้งป้องกันเชื้อไวรัสเข้ามาในเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่อช่วยลดปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวี ลดโอกาสที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภมิคุ้มกันได้ดีขึ้น ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอดส์และลดความเสี่ยงแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
    • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์หรือบริจาคเลือด
    • ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และเนื้อสัตว์ไร้ไขมัน เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารอาหารและวิตามินสำคัญที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับเชื้อไวรัส เพิ่มพลังงานที่ช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้า
    • หยุดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
    • เข้ารับการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและติดตามอาการว่าร่างกายตอบสนองต่อยารักษาได้ดีหรือไม่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงนันทิวดี มาเมือง

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/07/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา