backup og meta

การดื่มสุราในวัยรุ่น เรื่องสำคัญของสุขภาพในระยะยาว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 17/08/2021

การดื่มสุราในวัยรุ่น เรื่องสำคัญของสุขภาพในระยะยาว

การดื่มสุราในวัยรุ่น อาจเป็นสิ่งที่ยากต่อการหลีกเลี่ยง เพราะต้องยอมรับว่าในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนมากมักดื่มสุราเพื่อสังสรรค์ เข้าสังคม หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นการป้องกันและรับมือกับปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับปัญหา วัยรุ่นดื่มสุรา มาฝากทุกคนแล้วในบทความนี้เลยค่ะ

เหตุผลของ การดื่มสุราในวัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ วิถีชีวิต และความเป็นอิสระที่เพิ่มมากขึ้น จึงอาจมีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น ดังนี้

อยากรู้อยากลอง

วัยรุุ่นเป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสมองของวัยรุ่นในช่วงอายุ 20 ปี ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการพัฒนาของสมองนี้อาจช่วยอธิบายพฤติกรรมบางอย่างของวัยรุ่นได้ เช่น มีแนวโน้มที่จะต้องการพบเจอกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่อาจเป็นอันตราย อย่างการเลือกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และวัยรุ่นเป็นวัยที่มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น จึงมักไม่ทราบว่าการกระทำของตนอาจส่งผลเสียตามมาได้

ความคาดหวังและมุมมอง

มุมมองต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มของวัยรุ่น วัยรุ่นที่มีมุมมองว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจ มักมีแนวโน้มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวัยรุ่นที่มีมุมมองแตกต่างกัน

ความทนต่อแอลกอฮอล์

วัยรุ่นส่วนมากสามารถทนต่อผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น อาการง่วงนอน อาการเมาค้าง ได้มากกว่าวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากสมองของวัยผู้ใหญ่ที่เติบโตเต็มที่มีความแตกต่างกับสมองของวัยรุ่น การที่วัยรุ่นสามารถทนต่อผลเสียของสุราได้ดียังอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นมีความรู้สึกเชิงบวกต่อการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์มากกว่าวัยผู้ใหญ่ เพราะพวกเขาอาจรู้สึกสบายใจมากขึ้นเมื่อดื่มสุรานั่นเอง

ลักษณะบุคลิกภาพและโรคทางจิตเวช

เด็กที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอายุ 12 ปี มักจะมีแนวโน้มที่จะเริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ส่วนวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมชอบก่อกวน สมาธิสั้น และก้าวร้าว มักมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ซึมเศร้า ชอบเก็บตัว หรือวิตกกังวล อาจมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะมีปัญหาต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ปัจจัยทางพันธุกรรม

ปัจจัยทางพฤติกรรมอาจส่งผลต่อปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น ซึ่งอาจเชื่อมโยงทางพันธุกรรมได้ด้วย เช่น เด็กอาจติดสุราหรือเริ่มดื่มตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากคนในครอบครัวมีอาการติดสุรา หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง

ด้านสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมรอบตัววัยรุ่นอาจมีผลอย่างมากต่อพฤติกรรม วัยรุ่นดื่มสุรา เช่น อิทธิพลจากพ่อแม่และเพื่อนฝูงที่มีพฤติกรรมชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือวัยรุ่นที่มีแฟนแก่กว่าอาจมีพฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้ยาเสพติดอื่น ๆ ร่วมด้วย

อันตรายต่อสุขภาพจาก การดื่มสุราในวัยรุ่น

ปัญหา วัยรุ่นดื่มสุรา แน่นอนว่าย่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ แม้ว่าในวัยรุ่นความรุนแรงของความเสี่ยงนั้นอาจยังไม่เท่ากับวัยผู้ใหญ่ แต่ถ้าหากมีการดื่มอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตได้ ดังนี้

  • อันตรายต่อสมอง วัยรุ่นที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อทักษะการเรียนรู้ และการจดจำได้
  • อันตรายต่อตับ วัยรุ่นบางคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก อาจมีเอนไซม์ตับที่สูงซึ่งบ่งบอกถึงระดับความเสียหายของตับ รวมถึงโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • อันตรายต่อต่อมไร้ท่อ การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่กำลังพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายของวัยรุ่น อาจส่งผลต่อความสมดุลของฮอร์โมนที่สำคัญซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาอวัยวะ กล้ามเนื้อ กระดูก และอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ด้วย
  • อาการเมาค้าง หรืออาการเจ็บป่วย
  • เสี่ยงต่อปัญหาทางเพศ เช่น อาจมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน อาจเกิดความรุนแรงทางเพศ
  • เพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย
  • เพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ

ป้องกัน การดื่มสุราในวัยรุ่น

การป้องกันปัญหา วัยรุ่นดื่มสุรา สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ครอบครัวและสังคม การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่นจึงอาจเป็นอีกวิธีป้องกันที่ดี ดังนี้

  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน
  • ช่วยให้วัยรุ่นเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว โรงเรียน ผ่านทางกิจกรรมหรืองานอดิเรก
  • เสริมประสบการณ์เชิงบวก
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่ภายนอกครอบครัวที่ไว้ใจได้
  • ทำให้วัยรุ่นรู้สึกได้รับความเคารพและห่วงใย
  • พ่อแม่อาจสอนให้ลูกดื่มเสุราอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น สอนให้ลูกรู้จักอันตรายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สอนให้ลูกดื่มแล้วไม่ขับ สอนให้ลูกรู้จักดื่มอย่างพอดี
  • เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 17/08/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา