backup og meta

โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล อย่างไรให้ปลอดภัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

    โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล อย่างไรให้ปลอดภัย

    การทำอาหารเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อาจเกิดแผลจากประกายไฟหรือโดนน้ำมันลวกได้ การปฐมพยาบาลให้ทันท่วงทีจึงมีความสำคัญ เพื่อให้แผลได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด โดนน้ํามันลวก ปฐมพยาบาล อย่างไรให้ปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อนถึงโรงพยาบาล

    บาดแผลแบ่งได้กี่ระดับ

    ผิวหนังมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค สารเคมี และรังสี อีกทั้งยังช่วยควบคุมความชื้นและอุณหภูมิของร่างกาย ผิวหนังจึงมีเส้นประสาทรับความรู้สึกอยู่เป็นจำนวนมาก โดยบาดแผลจากไฟไหม้หรือโดนน้ำมันลวก ที่บริเวณผิวหนังจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความลึกของบาดแผล ดังนี้

    • แผลลึกระดับที่ 1 (First-degree burn) ลักษณะการบาดเจ็บจะอยู่เฉพาะที่ชั้นหนังกำพร้า ซึ่งเป็นชั้นผิวหนังส่วนตื้น อาจพบบาดแผลมีลักษณะคล้ายผิวหนังไหม้จากการโดนแสงแดดจัด ทำให้เกิดอาการเจ็บแสบ แดง และแห้ง แต่ไม่มีลักษณะของตุ่มน้ำให้เห็น เมื่อโดนน้ำมันลวกหรือไฟไหม้ในระดับนี้จึงหายได้เองภายใน 7 – 14 วัน 
    • แผลลึกระดับที่ 2 (Second-degree burn) ลักษณะการบาดเจ็บจะลงลึกถึงชั้นหนังแท้ โดยอาการของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับความลึกที่ได้รับบาดเจ็บ จึงพบว่ามีตุ่มน้ำและแผลถลอก กว่าที่แผลจะหายดีอาจใช้เวลามากถึง 2 สัปดาห์ขึ้นไป แผลลึกระดับที่ 2 นี้อาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือพบว่าบริเวณที่โดนน้ำมันลวกมีสีผิวผิดปกติได้
    • แผลลึกระดับที่ 3 (Third-degree burn หรือ Full-Thickness burn) ลักษณะของบาดแผลจะรุนแรง ผิวหนังทุกชั้นถูกทำลายด้วยความร้อน ทำให้บาดแผลที่โดนน้ำมันลวก มีลักษณะแห้งแข็ง ไม่เกิดความยืดหยุ่น แผลชนิดนี้ต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากมีโอกาสเกิดการหดรั้งหรือแผลเป็นนูนได้

    โดนน้ำมันลวก ปฐมพยาบาล อย่างไรให้ปลอดภัย 

    1. ดับความร้อน ไม่ให้ผิวหนังสัมผัสกับแหล่งความร้อนนาน หากน้ำมันลวก โดนบริเวณเสื้อผ้าที่สัมผัสกับผิวหนังอยู่ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกโดยเร็ว แล้วเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ
    2. ล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิห้อง โดยใช้น้ำราดบริเวณผิวหนังที่ถูกความร้อนเพื่อลดความร้อนที่จะไปทำลายผิวหนัง อาจใช้สบู่อ่อน ๆ เพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกไปก่อน จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด 
    3. บรรเทาความเจ็บปวดจากการโดนน้ำมันลวก โดยใช้ความเย็น ใช้ผ้าเย็น ถุงใส่น้ำเย็น เจลแช่เย็น วางนาบบริเวณที่โดนน้ำมันลวก 
    4. ถ้าบาดแผลมีขนาดเล็ก ไม่ลึก ไม่รุนแรงมาก สามารถใช้ยาทาได้ โดยปรึกษาเภสัชกร
    5. เมื่อเกิดตุ่มน้ำพองจากการโดนน้ำมันลวก ถุงน้ำใส ๆ ขนาดเล็กจะแห้งหายไปได้เอง แต่ถ้าเป็นถุงน้ำขนาดใหญ่ ถุงน้ำนั้นมีบริเวณกว้าง แนะนำให้ไปโรงพยาบาล แพทย์อาจพิจารณาใช้เครื่องมือเจาะถุงน้ำ
    6. หากโดนน้ำมันลวก เกิดเป็นแผลบริเวณกว้าง บาดแผลลึกและรุนแรง หรือเป็นอวัยวะที่สำคัญ ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดแผลและนำส่งโรงพยาบาล

    คำแนะนำในการดูแลแผลน้ำมันลวก

    • ไม่ควรใช้ยาสีฟันทาที่แผล ยาสีฟันแค่ทำให้รู้สึกเย็นที่แผล แต่ไม่ช่วยในการรักษาแผลหรือทำให้แผลหายเร็วขึ้น และยังล้างออกได้ยาก เสี่ยงกับการติดเชื้อที่แผลได้ 
    • ไม่ควรถูหรือแกะแผล อาจทำให้ผิวหนังถูกทำลาย เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
    • ไม่ควรใช้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ยานำมาทาแผลเอง อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
    • เมื่อปวดแผลให้รับประทานยาพาราเซตามอล
    • หากโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ใบหน้า ดวงตา หู หรือข้อพับต่าง ๆ ควรไปพบคุณหมอทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 3 สัปดาห์ก่อน

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา