banner

ประเมินความเสี่ยงเบาหวาน

Subot Icon

แบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน

Subot Icon

แบบทดสอบ คุมโรคเบาหวาน ออนไลน์ – Hello คุณหมอ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวาน

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

เช็กอาการเบาหวาน

โรคเบาหวาน

เครื่องวัดน้ำตาล คืออะไร ใช้งานอย่างไร

เครื่องวัดน้ำตาล คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน โดยการวิเคราะห์เลือดที่เจาะจากปลายนิ้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 สามารถทำเองได้ที่บ้าน และควรหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินสุขภาพของตนเอง ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หากพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ ควรรีบปรึกษาคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] เครื่องวัดน้ำตาล คืออะไร  เครื่องวัดน้ำตาล คือ อุปกรณ์ทดสอบระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานรักษาและหมั่นดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น โดยในปัจจุบันการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทำได้เองที่บ้าน สามารถซื้อเครื่องวัดน้ำตาลได้ตามร้านขายยา ทั้งนี้ คุณสมบัติของเครื่องวัดน้ำตาลอาจขึ้นอยู่กับยี่ห้อและราคา ค่าระดับน้ำตาลในเลือด  ระดับน้ำตาลในเลือดที่ปกติ คือประมาณ 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากค่าที่ตรวจได้สูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 โดยระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารควรอยู่ที่ประมาณ 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และระดับน้ำตาลหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  นอกจากนี้ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคส (Fasting Plasma Glucose หรือ FPG) เป็นการทดสอบน้ำตาลในเลือดหลังจากงดอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ยกเว้นการดื่มน้ำเปล่าเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการทดสอบ […]

โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง 170 เป็นอันตรายหรือไม่

น้ำตาลในเลือดสูง 170 หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากปล่อยทิ้งไว้น้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ จึงควรดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลงด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง งดสูบบุหรี่และเข้าใกล้ควันบุหรี่มือสอง เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดสูง 170 อันตรายไหม โดยทั่วไป ผู้ที่มีระดับน้ำตาลที่สูงกว่า 160-180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) สำหรับผู้ที่เจาะเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานแล้วพบว่าน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจำเป็นต้องไปพบคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าแผนการรักษาเบาหวานที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพมากพอ หากปล่อยทิ้งไว้จนน้ำตาลขึ้นสูงเรื่อย ๆ ไปถึง 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตรอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อปรับแผนการรักษาหรือการใช้ยาให้เหมาะสม รวมทั้งปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดต่ำลงมาอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย น้ำตาลในเลือดสูง 170 มีอาการอย่างไร ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจยังไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนมากจนเป็นที่สังเกต เพราะตามปกติแล้ว อาการน้ำตาลในเลือดสูงจะไม่มีอาการที่เด่นชัดจนกระทั่งน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงไปที่ 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งระดับน้ำตาลจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานเท่าไหร่ […]

โรคเบาหวาน

ตรวจเลือด ในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยเครื่องวัดน้ำตาลในเลือด ทำอย่างไร

ตรวจเลือด เบาหวาน เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเบาหวานควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจากการตรวจเลือดสามารถช่วยวัดและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในทุกช่วงเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในค่าปกติและสามารถป้องกันการลุกลามของโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmi] ตรวจเลือด เบาหวาน มีประโยชน์อย่างไร การตรวจเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน อาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงยังอาจมีประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสม ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถติดตามผลของยาในการรักษาโรคเบาหวาน ช่วยให้ผู้ป่วยทราบถึงการบรรลุเป้าหมายในการรักษาโรคเบาหวาน ช่วยให้ผู้ป่วยทราบถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม ช่วงเวลาที่ควรตรวจเลือดเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจเลือดเพื่อวัดค่าน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกวัน ซึ่งสามารถตรวจเลือดได้หลายครั้งใน 1 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจเลือด อาจมีดังนี้ ควรตรวจครั้งแรกในตอนเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากอดอาหารข้ามคืน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดควรน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรตรวจทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ เพื่อให้รู้ความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างก่อนรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร รวมถึงอาจช่วยให้รู้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารเพิ่มสูงขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรตรวจทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือมีอาการโคม่าได้ ควรตรวจครั้งสุดท้ายในช่วงก่อนนอน เพื่อให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดปัจจุบันก่อนอดอาหารข้ามคืน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานแต่ละคนอาจมีช่วงเวลาและความถี่ในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอาการของโรค จึงควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับช่วงเวลาในการตรวจอย่างเหมาะสม ตรวจเลือด เบาหวาน ทำอย่างไร เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดมีหลายประเภทซึ่งส่วนใหญ่มีการทำงานในลักษณะเดียวกัน ผู้ป่วยอาจขอคำแนะนำจากคุณหมอในการใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดเพื่อเรียนรู้วิธีใช้งานอย่างถูกต้อง วิธีการใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด มีขั้นตอนดังนี้ […]

โรคเบาหวาน

น้ำตาลตก หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากอะไร สังเกตยังไง

น้ำตาลตก หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งอาจทำให้มีอาการเเสดง เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ตัวสั่น เหงื่อออกมาก รู้สึกหิวหรือโหยผิดปกติ โดยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถเเก้ไข้ได้ด้วยรับประทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดูดซึมเร็ว เช่น น้ำตาล น้ำหวาน ลูกอม ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเเล้วไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจทำให้เกิดอาการรุนเเรง ได้เเก่ ชัก หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลตก คืออะไร อาการน้ำตาลตก คือ ภาวะที่ร่างกายของผู้ที่เป็นเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิโมล/ลิตร แม้ว่าตามปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะมีการเปลี่ยนเเปลงตลอดตามปริมาณกลูโคสในอาหารที่รับประทาน แต่หากมีภาวะน้ำตาลต่ำอย่างฉับพลันก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมาได้ น้ำตาลตกเกิดจากอะไร โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการน้ำตาลตกมักเกิดขึ้นเมื่อการใช้ยาลดระดับน้ำตาลไม่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด อาทิเช่น ผู้ป่วยรับอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานในปริมาณมากเกินไป การรับประทานอาหารน้อยลง หรือ ไม่ตรงเวลา รวมถึงการออกกำลังกายที่หักโหมมากกว่าปกติ ก็ล้วนส่งผลให้น้ำตาลตกได้ ทั้งนี้ อาการน้ำตาลตกอาจเกิดขึ้นในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานได้เช่นกัน เเต่จะพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาควินิน (Qualaquin) เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป มีเนื้องอกที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ภาวะพร่อมงฮอร์โมนบางชนิด รวมไปถึงภาวะเจ็บป่วยบางประการ เช่น […]

โรคเบาหวาน

อาการ เบาหวาน ขึ้น และวิธีการป้องกัน

อาการ เบาหวาน ขึ้น หมายถึงอาการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ทำการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เส้นประสาทเสียหาย มีปัญหาด้านการมองเห็น กระดูกและข้อเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ด้วยการใช้ยารักษาเบาหวานตามคำแนะนำของคุณหมอ เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกายเป็นประจำ และควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของอาการเบาหวานขึ้น สาเหตุของอาการเบาหวานขึ้น เกิดจากร่างกายได้รับน้ำตาลกลูโคสจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว พาสต้า ขนมหวาน น้ำอัดลม แต่อินซูลินภายในร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม ทั้งจากการที่มีปริมาณของอินซูลินไม่พอ หรือจากการที่มีภาวะดื้ออินซูลิน จนส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ สัญญาณเตือนของอาการเบาหวานขึ้น สัญญาณเตือนของอาการเบาหวานขึ้น มีดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว อาการชาที่มือและเท้า เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกร่างกายขาดน้ำ กระหายน้ำมาก คันผิวหนังเนื่องจากผิวแห้ง ปัสสาวะบ่อย หากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด และอาจก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจถี่เร็ว ริมฝีปากแห้ง และอาจมีกลิ่นปาก หรือกลิ่นลมหายใจ ปวดท้อง ควรพบคุณหมอทันทีหากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ยอมลดลงแม้ว่าจะใช้ยารักษาเบาหวานแล้ว มีไข้สูงนานกว่า 1 วัน […]

การดูแลตัวเอง

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!