backup og meta

อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสม มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 25/09/2022

    อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสม มีอะไรบ้าง

    เด็กวัยเรียน เป็นวัยสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางสติปัญญา จึงควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น นอกจากอาหารมื้อหลักแล้ว อาหารว่าง เด็ก ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ โดยอาหารว่างควรเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ให้กับร่างกาย เพื่อช่วยให้เด็กมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน เช่น เรียน ทำการบ้าน วิ่งเล่น เล่นกีฬา รวมถึงอาจช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ด้วย

    อาหารว่าง เด็ก ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน

    เด็กวัยเรียนอาจมีความอยากอาหารตลอดทั้งวัน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายและสมองกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานมากขึ้น การเสริมอาหารว่างที่หลากหลายและมีสารอาหารที่ครบถ้วนให้กับเด็กในปริมาณที่พอเหมาะ หรือประมาณ 2-3 มื้อ/วัน อาจช่วยเพิ่มพลังงานและช่วยลดความหิวระหว่างวันได้ ส่งผลให้เด็กมีสมาธิมากขึ้นในการเรียนและทำการบ้าน มีแรงในการวิ่งเล่น เล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    คุณพ่อคุณแม่จึงควรจัดเตรียมอาหารว่างเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับเด็กวัยเรียน โดยอาจจัดเตรียมตามเมนูตัวอย่างต่อไปนี้

    • ผักและผลไม้สดหั่นพอดีคำ เช่น ส้ม กล้วย บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ล แตงโม แครอท แตงกวา มะเขือเทศ
    • โยเกิร์ตผสมผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว
    • ขนมปังโฮลเกรนปิ้งโรยหน้าด้วยผลไม้ต่าง ๆ หรือธัญพืชและถั่ว
    • ขนมปังโฮลเกรนปิ้งทาด้วยเนยถั่ว ครีมชีส โยเกิร์ต ทูน่ากระป๋อง
    • มัฟฟินธัญพืชและผลไม้ เช่น มัฟฟินกล้วยหอม มัฟฟินข้าวโอ๊ต มัฟฟินอัลมอนด์ มัฟฟินบลูเบอร์รี่
    • ไข่ต้ม
    • ไข่ต้มกับอะโวคาโด
    • ข้าวโพดคั่วไม่ผสมเกลือหรือผงปรุงรส
    • ซีเรียลกับนมจืด หรืออาจเติมผลไม้ต่าง ๆ เข้าไปด้วย

    อย่างไรก็ตาม ควรหั่นหรือบดอาหารให้เด็กเคี้ยวและกลืนได้ง่าย รวมถึงไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี รับประทานถั่ว เมล็ดพืช หรืออาหารที่มีชิ้นใหญ่เกินไป เพราะอาจทำให้ติดคอและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    เคล็ดลับการเตรียมอาหารว่าง เด็ก

    การเตรียมอาหารว่างอย่างเหมาะสม อาจช่วยให้เด็กได้รับสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพและลดความหิวระหว่างวันได้ด้วย โดยวิธีต่อไปนี้อาจช่วยให้เด็กเปลี่ยนมารับประทานอาหารว่างเพื่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น

    • เลือกอาหารว่างที่มีสีสันสดใส เพราะเด็กบางคนอาจไม่ชอบรับประทานผักหรือผลไม้ การเลือกอาหารว่างที่มีสีสันสดใสอาจช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก และอาจช่วยให้เด็กรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การจัดรูปทรงอาหารให้เป็นรูปตัวการ์ตูนหรือรูปที่เด็กชอบ อาจช่วยเพิ่มความอยากอาหารของเด็กได้ด้วย
    • จัดเตรียมอาหารว่างเพื่อสุขภาพสำหรับเด็ก เช่น ผักและผลไม้หั่น เค้กธัญพืช มัฟฟินธัญพืช ขนมไขมันต่ำ และควรเป็นอาหารว่างพร้อมรับประทานที่เด็กสามารถหยิบมารับประทานเองได้ทันทีเมื่อรู้สึกหิว
    • ให้เด็กมีส่วนร่วม ลองให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดเตรียมอาหารว่างของตนเอง เพื่อช่วยเพิ่มความสนุก และความอยากอาหาร
    • จัดตารางเวลาสำหรับมื้ออาหาร ควรจัดตารางเวลาสำหรับอาหารมื้อหลักและอาหารว่างให้สมดุลกัน เพื่อไม่ให้เด็กรับประทานอาหารมากจนเกินไป ไม่รับประทานอาหารว่างใกล้มื้ออาหารหลักจนเกินไป ควรเว้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง
    • เตรียมอาหารว่างสำหรับเด็กติดตัวไปด้วย เมื่อต้องออกไปนอกบ้าน บางสถานที่อาจหาอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพได้ยาก จึงควรพกอาหารว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปด้วยทุกที่ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม ถั่ว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 25/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา